Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์21 เมษายน 2551
ผ่ายุทธการมือถือ "ซัมซุง"คิดการใหญ่โค่นแชมป์โนเกีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิคส์ จำกัด

   
search resources

ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิคส์, บจก.
Mobile Phone




*"ซัมซุง" ขอเวลา 3 ปี โค่นบัลลังก์แชมป์ตลอดกาล "โนเกีย"
*ชูกลยุทธ์ช่องทางขายไม่เหมือนใคร ซื้อใจผู้ขายแถมคุม "ราคา" ในคราวเดียว
*สร้างผลิตภัณฑ์เจาะไลฟ์สไตล์แนว "เซกเมนต์" ตอบโจทย์ผู้ใช้เต็มๆ

จับตาตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยต่อจากนี้ไป 1-2 ปีข้างหน้า จะมีสภาพการแข่งขันที่รุนแรงเมื่อ "ซัมซุง" ประกาศออกมาอย่างชัดเจนว่า ภายใน 3 ปีจะขอเป็นเบอร์ 1 แทนที่ "โนเกีย" ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดมานานหลายปี

"ในปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือซัมซุงได้สร้างผลงานที่โดดเด่นจนเป็นที่จับตามองในตลาดทั่วโลก ผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่คือการที่เราก้าวขึ้นเป็นแบรนด์โทรศัพท์มือถืออันดับ 2 ของโลกได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปี ด้วยยอดขายเติบโตแบบก้าวกระโดดที่สูงกว่าตลาดโลกถึง 3 เท่า หรือยอดขายรวมทั่วโลกกว่า 161 ล้านเครื่อง" มานพ มณีชวขจร หัวหน้ากลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เล่าถึงความสำเร็จของโทรศัพท์เคลื่อนที่ "ซัมซุง" ในตลาดโลกให้ฟัง

จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ซัมซุงมองการณ์ไกลที่จะขอขึ้นแท่นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดโลกให้ได้ภายใน 3 ปี รวมถึงตลาดประเทศไทยด้วยที่จะเจริญรอยตาม

"ด้วยความต่างในส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดโลกที่ห่างกันไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ผมเชื่อว่า เราสามารถทำได้ไม่ยาก แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นถึงแม้ว่า เวลานี้เบอร์ 1 จะมีส่วนแบ่งตลาดถึง 60% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ห่างมาก แต่เชื่อว่า เราสามารถที่จะก้าวไปสู่จุดนั้นได้"

ทำไมซัมซุงถึงมีความมั่นใจเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ซัมซุงเคยขึ้นเป็นเบอร์ 2 มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว แต่ก็มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ในระดับ 20% เท่านั้น แต่ก็กลับมาแผ่วลงเนื่องจากมีการปรับโครงสร้างผู้บริหารภายในของซัมซุงส่งผลให้มีการลาออกของทีมผู้บริหาร ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดลดลงไปทันตาเห็น

ถึงแม้จะมีความพยายาม "คัมแบ็ก" กลับมายังตำแหน่งเดิมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่ตลาด รวมไปถึงช่องทางจัดจำหน่ายที่ต้องมรสุมถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลของผู้บริหารเกาหลีระดับสูงที่มีบริษัท ทีดับบลิวแซด จำกัด (มหาชน) เป็นโจทย์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากปัญหาเรื่องการสนับสนุนทางการตลาดของซัมซุงต่อบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นช่องทางทำตลาดมือถือของซัมซุง

สาเหตุที่ทำให้ซัมซุงกลับลำเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย น่าจะมาจากการที่ซัมซุงปรับแผนเรื่องช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าที่เปลี่ยนมาเป็นการขายตรงเอง แทนที่จะดำเนินการผ่านตัวแทนจำหน่ายเหมือนกับคู่แข่งขันในตลาด หลังจากเล็งเห็นถึงโมเดล "ขายตรง" ในกลุ่มธุรกิจโทรทัศน์ที่สามารถสร้างตลาดจนมีส่วนแบ่งทางการตลาดแซงหน้าเจ้าตลาดอย่าง "โซนี่" ขึ้นมาได้

"นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากที่ทางซัมซุงปรับโมเดลช่องทางจัดจำหน่ายมาเป็นโมเดล "ขายตรง" ไม่ว่าจะเป็นการขายตรงไปยังกลุ่มลูกค้าโมเดิร์นเทรดทุกค่ายในตลาด มีซับมาสเตอร์ที่ช่วยกระจายสินค้าไปยังลูกตู้ในเครือข่าย ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 60 ราย ซึ่งเป็นโมเดลที่คล้ายๆ กับโมเดลที่ทำในตลาดโทรทัศน์ ทำให้ยอดขายมือถือซัมซุงเติบโตอย่างน่าประทับใจ"

มานพ กล่าวอีกว่า ด้วยยอดขายกว่า 1,100,000 เครื่องในปีที่แล้ว และในปีนี้เราก็ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างความเติบโตให้กับผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือด้วยการเดินหน้าในเชิงรุกเพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคในทุกกลุ่ม และวางเป้าหมายที่จะเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นเป็น 2,000,000 เครื่องหรือเติบโต 100% คิดเป็น 20% ของตลาดรวมที่คาดว่าจะมีถึง 10,000,000 เครื่อง โดยได้วางแนวทางการตลาดเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มเป็นสำคัญ

สำหรับในด้านนโยบายทางการตลาดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในปีนี้นั้น มานพ กล่าวว่า ภารกิจสำคัญทางด้านการขายนั้น จะให้ความสำคัญกับคู่ค้าทุกรายด้วยการให้ความสนับสนุนในด้านต่างๆ อาทิ การสร้างความใกล้ชิดในการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อยในทุกระดับทั่วภูมิภาค การกำหนดราคามาตรฐานของผลิตภัณฑ์อันจะส่งผลดีให้กับผู้บริโภคโดยตรง การให้ความสนับสนุนกับคู่ค้าในด้านการบริหารสต็อกสินค้าเพื่อกระตุ้นความคล่องตัวในการขาย การจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ เพื่อสนับสนุนการขาย การกระตุ้นการทำตลาดในผลิตภัณฑ์รุ่นเด่นๆ ในทุกเซกเมนต์ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

"การร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างซัมซุงกับคู่ค้าและการสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์โทรศัพท์มือถือซัมซุงต่อผู้บริโภค จะสามารถสร้างผลงานและประสบความสำเร็จร่วมกันด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 20% ภายในสิ้นปีนี้ โดยที่ในปีที่แล้วเรามีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 15%"

มานพ กล่าวอีกว่า เราจะสร้างให้แบรนด์โทรศัพท์มือถือซัมซุงสามารถเข้าถึงหัวใจของผู้บริโภคชาวไทยในทุกไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ โดยการเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์โทรศัพท์มือถือซัมซุงและคนไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การเข้าถึงผู้บริโภคด้วยจุดแข็งทางด้านเทคโนโลยีและดีไซน์ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะพัฒนาต่อเนื่องเพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคได้ทั้งทางด้านการใช้งานและการตอบสนองด้านอารมณ์

เรื่องดังกล่าว ซัมซุงบอกว่า สามารถยืนยันด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ได้รับรางวัลมาแล้วทั่วโลก รวมถึงการสร้างสรรค์กิจกรรมในเชิงไลฟ์สไตล์ที่ล้วนมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน อาทิ การสนับสนุนในกิจกรรมกีฬาระดับประเทศและระดับโลก การร่วมมือกับแบรนด์แฟชั่นระดับโลกและวงการแฟชั่นในประเทศ รวมถึงการมอบประสบการณ์ดนตรีผ่านผลิตภัณฑ์มิวสิกโฟนและมิวสิกคอนเทนต์ต่างๆ เป็นต้น กระตุ้นให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่เรานำเสนออันจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคเห็นความแตกต่างที่ดีกว่าที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือซัมซุง

"เราจะรุกตลาดหนักขึ้น เน้นทุกกิจกรรม และการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย โดยเฉพาะรีเทลที่จะมีการปรับปรุงหน้าร้านให้แก่คู่ค้า"

"รูปแบบการขายตรง น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ซัมซุงมีโอกาสบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ ขณะที่คู่แข่งรายอื่นยังคงใช้การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายอยู่"

นอกเหนือจากการปรับช่องทางจัดจำหน่ายแล้ว "ผลิตภัณฑ์" นับเป็นจุดขายที่สำคัญอีกประการที่ซัมซุงได้นำเรื่อง "เซกเมนต์" มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีฟีเจอร์ตอบสนองความต้องการของไลฟ์สไตล์ในแต่ละเซกเมนต์

ด้านมนาเทศ อันนทวัฒน์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจสื่อสารการตลาดและองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมทำตลาดในปีนี้มีทั้งหมดกว่า 40 รุ่น ซึ่งในปีนี้ซัมซุงได้มีการจัดแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มแรก สไตล์ ที่จะเน้นความโดดเด่นด้านดีไซน์ที่สวยงามล้ำสมัย กลุ่มที่ 2 มัลติมีเดีย โทรศัพท์มือถือที่พร้อมไปด้วยฟังก์ชั่นด้านมัลติมีเดียในด้านการถ่ายภาพและฟังเพลงเพื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มที่ 3 อินโฟเทนเมนต์ สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเชื่อมต่อข้อมูลในยุคดิจิตอลพร้อมความสนุกสนานในทุกความบันเทิง กลุ่มที่ 4 กลุ่มธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะเป็นสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งานทางธุรกิจเต็มรูปแบบ กลุ่มที่ 5 คอนเนกต์ สำหรับการใช้งานติดต่อสื่อสารทั่วไปเป็นหลัก และกลุ่มสุดท้าย เอสเซนเชียล โทรศัพท์จอสีพร้อมคุณสมบัติพื้นฐานสำหรับกลุ่มผู้เริ่มต้นใช้โทรศัพท์มือถือ

"การจำแนกกลุ่มผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่นี้เป็นผลมาจากการสำรวจและวิจัยทางด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งในแง่ไลฟ์สไตล์ รสนิยมด้านดีไซน์ รวมไปถึงทัศนคติจากผู้บริโภคใน 25 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมบนมือถือที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้"

มนาเทศ กล่าวด้วยว่า ปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ซัมซุงนำเรื่องเซกเมนต์มาใช้และเป็นปีแรกที่ซัมซุงมีไลน์ผลิตภัณฑ์ที่ครบถ้วนในทุกเซกเมนต์

"3 ปีเชื่อว่าเราเป็นผู้นำตลาดได้ เพราะขณะนี้เราก็เป็นเบอร์ 2 แล้ว ถือเป็นความท้าทาย และมีความเป็นไปได้ เหมือนกับการทำตลาดทีวีที่ไม่มีใครเชื่อว่าเราจะชนะโซนี่ได้"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us