Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์22 เมษายน 2551
"เสี่ยเจริญ"ลบภาพนักธุรกิจน้ำเมา ลุย"เกษตร-พลังงาน"เข้าตลาดหุ้น!             
 


   
search resources

เจริญ สิริวัฒนภักดี
Agriculture
ทีซีซีอะโกร




ผู้บริหารกองทุนพลังงาน ชี้ 2 ยักษ์ใหญ่ "ซีพี-เจริญ"โดดเข้าสู่ธุรกิจพืชพลังงานส่งผลให้ไทยเป็นเบอร์ 3 ด้านพลังงานทดแทนของเอเชีย ด้าน"สุรเธียร"อดีตผู้บริหารเอสซีวิเคราะห์ศึกชนช้างแค่บริหารที่ดินให้เกิดประโยชน์-พร้อมต่อยอดธุรกิจ ขณะที่ "ซีพี" เชื่อการรุกของกลุ่มเจริญ ไม่กระทบเพราะธุรกิจในเครือเข้มแข็งทุกตัว ด้านวงการธุรกิจเชื่อการรุกของเสี่ยเจริญหวังลบภาพเจ้าพ่อน้ำเมาและดันธุรกิจใหม่เข้าตลาดฯในอนาคต

ธุรกิจพลังงานทดแทนแรงไม่หยุดฉุดไม่อยู่ เพราะจากสภาวะราคาน้ำมันโลกที่นับวันที่พุ่งทะยานขึ้นต่อไปอีกทำให้หลายบริษัทหันมาสนใจธุรกิจพลังงานทดแทนทั้งรายเล็ก-รายใหญ่หนึ่งในยักษ์ใหญ่ที่ว่าคือเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ที่ได้ประกาศเดินหน้าโครงการผลิตไบโอดีเซลไปก่อนหน้านี้

ขณะที่เอกชนรายใหม่ที่มีทุนหนาพอๆกันกำลังจะมาท้าทายนั่นคือกลุ่มของ "เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี" แห่งไทยเบฟหรือ "เบียร์ช้าง"นั่นเอง โดย "เสี่ยเจริญ"หวังจะให้บริษัททีซีซีอะโกรเป็นหัวหอกทะลวงฟันรุกธุรกิจเกษตรอย่างเต็มตัว

โดยแนวคิดของ "กลุ่มเสี่ยเจริญ" นั้นจะมุ่งไปที่พืชพลังงานอาทิ อ้อย ปาล์มน้ำมัน ที่จะผลผลิตป้อนโรงงานสุรา ขณะที่เดียวก็กำลังคิดจะตั้งโรงงานน้ำตาลอีกด้วย ส่วนกากใยที่เหลือสามารถนำมาสู่ไลน์การผลิตเอทานอล หรือ ไบโอดีเซลได้อีกทาง

ไม่เพียงเท่านี้ยิ่งกระแสราคาข้าวที่ส่งออกสูงถึง 30,000บาท/ตันทำให้ "กลุ่มเสี่ยเจริญ" ประกาศออกมาแล้วว่าพร้อมจะเข้าสู่ธุรกิจข้าวในบ้านเราร การเข้ามาของกลุ่ม "เสี่ยเจริญ" ครั้งนี้ได้รับการจับตาอย่างพิเศษเพราะธุรกิจการเกษตรในบ้านเรามีเบอร์หนึ่งอย่าง"ซีพี" ครอบครองอยู่ก่อนแล้วหรือนี่อาจเป็นสงครามระหว่างยักษ์ชนยักษ์ก็ได้

ไทยขึ้นที่ 3 พลังงานแห่งอาเซียน

ดร.พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เอ็มเอฟ ซี จำกัด (มหาชน) มองว่าว่า การเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนของบริษัทยักษ์ใหญ่จะเป็นนิมิตรหมายที่ดีต่อวงการธุรกิจพลังงานทดแทน รวมถึงเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานที่ดีของประเทศ

"การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหญ่จะเป็นนิมิตรหมายที่ดีต่อวงการธุรกิจพลังงานของไทยในอนาคตอาจจะโตเป็นที่ 3 ของเซาท์อีสเอเชียรองจากอินโดนีเซียและมาเลเซียก็เป็นได้"

ปัจจุบันอินโดนีเซียและมาเลเซียมีพื้นที่ปลูกปาล์มจำนวนมาก ซึ่งหากกลุ่มซีพี และกลุ่มเจริญ เข้ามาจะทำให้เกิดการแข่งขันปลูกปาล์มน้ำมัน เพราะทั้ง2 ยักษ์ใหญ่มีที่ดินในมือจำนวนมาก อีกทั้ง 2 กลุ่มนี้ยังมีธุรกิจในรูปของคอนแทรกฟาร์มมิ่งในกลุ่มประเทศอินโดจีนมากมาย จึงเป็นโอกาสที่ดีต่อธุรกิจพลังงานทดแทนของไทยในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาธุรกิจต่อจากนี้จำเป็นที่จะมีการพัฒนาสายพันธ์พืช การเพาะปลูกการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการแปรรูปวัตถุดิบ มีความจำเป็นอย่างยิ่งหากต้องการพัฒนาธุรกิจพลังงาน

หนุนการปลูกพืชพลังงานสู่ "นโยบายชาติ"

เขาย้ำว่า การรุกสู่ธุรกิจของยักษ์ใหญ่ยิ่งจะทำให้ ภาคธุรกิจพลังงานมีความมั่นคง โดยเฉพาะกองทุนพลังงานที่มี "เจริญ" เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดมีความตื่นตัวและมั่นคง กระนั้นหากต้องการสร้างความตื่นตัวอย่างแท้จริง รัฐบาลควรเป็นเจ้าภาพในการผลักดันนโยบายการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานเป็น "นโยบายระดับชาติ" เพิ่มเติมจากที่ผลักดันเพียงพืชอาหารเท่านั้น

ในการจัดทำเป็นนโยบายระดับชาตินั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาปลูกพืชพลังงานเพื่อสร้างรายได้ โดยภาครัฐต้องรับประกันราคารับซื้อซึ่งน่าจะเกิดแรงจูงใจในการปลูกเพราะปัจจุบันราคาขายปาล์มสดในบ้านเรากิโลกรัมละ6 บาท เมื่อเปรียบเทียบราคากับปีที่แล้วอยู่ที่กิโลกรัมละ 3 บาทกว่าๆเท่านั้นซึ่งถือว่าสูงขึ้นกว่าเท่าตัว

นอกจากนี้หากส่งเสริมให้ประชาชนขยายพื้นที่ปลูกได้จำนวนมากจะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศเพื่อนได้อีกทางด้วย

"ตรงนี้ภาครัฐควรจะมีแผนส่งเสริมอย่างจริงจังในแผน 3-5 ปีว่าปีแรกควรจะขยายพื้นปลูกได้เท่าไหร่ ปีถัดไปเท่าไหร่ ทั้งหมดได้เท่าไหร่ แล้วมาคำนวณต้นทุนการผลิตไบโอดีเซลทั้งระบบจะทำให้เกิดความมั่นคงในด้านพลังงานสำรองอีกด้วย"

ชี้"2ยักษ์ใหญ่"บริหารที่ดินสู่เกษตรฯ

อย่างไรก็ตามโอกาสด้านธุรกิจพลังงานที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นอนาคตเช่นกัน จนกระทั่ง 2 ทุนยักษ์ใหญ่ก็กระโดดลงมาเล่นในเกมนี้ด้วย เนื่องจากมีจุดแข็งที่สำคัญก็คือ การมีที่ดินอยู่ในมือค่อนข้างมากโดยเฉพาะ"เสี่ยเจริญ"ที่จากการประเมินพบว่ามีอยู่ประมาณ1แสนไร่ซึ่ง"สุรเธียร จักธรานนท์" ประธานกรรมการบริษัท อี-เอสเทอร์ จำกัด อดีตผู้บริหารคนสำคัญแห่งค่ายเอสซีเอสเสท ผู้เชี่ยวชาญในวงการอสังหาริมทรัพย์มองว่า การรุกเข้าสู่ธุรกิจดังกล่าวของ 2 ยักษ์ใหญ่ทั้งซีพีและทีซีซีนั้นเนื่องจากต้องการใช้ที่ดินที่มีอยู่ในมือให้เกิดประโยชน์ ซึ่งประเหมาะกับช่วงที่กระแสพลังงานทดแทนมีความน่าสนใจค่อนข้างมาก

"การโดยเข้าธุรกิจพลังงาน คงมีที่มาจากต้องการใช้ที่ดินที่มีอยู่ในมือให้เกิดประโยชน์มากกว่า เพราะช่วงนี้กระแสพลังงานทดแทนมาแรงมาก รวมถึงเป็นการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจอีกทางหนึ่งด้วย"

นี่อาจเป็นเพียงการต่อยอดทางธุรกิจของทั้งคู่ ซึ่งซี.พี.และ ทีซีซี เนื่องจากทั้งคู่ต้องการต่อยอดทางธุรกิจเช่นกัน เนื่องด้วยซี.พี.เองก็มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจด้านพืชอาหารอยู่ก่อนแล้ว ขณะที่ ทีซีซี ก็สามารถไปต่อยอดในขั้นตอนของในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีอยู่ได้ แต่จุดอ่อนที่ทั้งคู่ มีเหมือนๆกันก็คือ เทคโนโลยีด้านการแปรรูปวัตถุดิบและบุคลากรที่อยู่ในช่วงแสวงหาเนื่องจากเป็นมือใหม่ในวงการนี้ทั้งคู่

ต่อยอดธุรกิจสร้าง "เงิน"มหาศาล

ดังนั้นในแง่มุมของการต่อยอดธุรกิจ สิ่งที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จากการประกอบการธุรกิจพลังงานก็คือ การขาย "คาร์บอนเครดิต"จากข้อตกลงการพัฒนาที่สะอาด (clean development mechanism หรือ CDM) ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถเข้ามาดำเนินโครงการลด/เลิกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้ และให้นำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้เป็น "คาร์บอนเครดิต" โดยไปหักออกจากจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่มีพันธกรณีจะต้องลดลงในประเทศของตัวเอง ซึ่งจุดนี้ ถือว่าเป็นการต่อยอดที่คุ้มค่าอย่างมาก

"การจัดตั้งโรงงานแปรรูปพืชพลังงานทดแทน แล้วต่อยอดด้วยการขายเครดิตคาร์บอนให้กับผู้ประกอบการรายอื่นก็เป็นการต่อยอดที่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่าเช่นกัน"

โดยสิ่งที่ค่อนข้างเป็นปัญหาอย่างยิ่งต่อการปลูกพืชพลังงานก็คือ ปัญหาจากภาวะโลกร้อน ที่อาจจะส่งผลให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตไม่ได้ตามเป้าหมายทำให้มีความผันแปรและเป็นเรื่องยากแม้ว่าจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่แต่ก็ไม่สามารถที่จะควบคุมปัจจัยดินฟ้าอากาศได้ ดังนั้น การมองว่ายักษ์ใหญ่เข้ามาในธุรกิจนี้จะส่งผลให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจดังกล่าวนั้น สุรเธียรมองว่าไม่สามารถที่จะทำได้เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกนั้นมีมาก และอยากที่ใครจะเป็นผู้ควบคุมได้เพียงเจ้าเดียว

ดังนั้น ปัญหาที่น่ากลัวก็คือ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ที่จะส่งผลให้ผลผลิตที่ตั้งเป้าไว้ไม่เป็นไปตามคาด ซึ่งไม่ว่าจะรายใหญ่รายเล็กก็ต้องประสบกับเรื่องนี้เช่นกัน และนี่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ค่อนข้างน่ากลัวสำหรับผู้ลงประกอบการทุกราย

ชี้ อนาคตที่ดิน-พืชราคาพุ่ง

นอกจากนี้สุรเธียร ยังมองถึงอนาคตในธุรกิจพลังงานต่ออีกว่า ธุรกิจพลังงานทดแทนที่กระแสค่อนข้างมาแรง จะชะลอตัวเมื่อมีการปลูกพืชดังกล่าวมากขึ้นจนมีราคาใกล้เคียงกับพืชอาหารเนื่องจาก รวมถึงราคาที่ดินในการเพาะปลูกจะถีบตัวสูงขึ้น จึงอาจจะต้องหาพืชพลังงานทดแทนชนิดใหม่เข้ามาแทนที่พืชเดิมที่มีอยู่นอกเหนือจาก ปาล์ม อ้อย มันสำปะหลัง ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งพืชตัวใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัยคือ "สาหร่าย" ที่มีค่าการให้น้ำมันเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ดีนอกจากกลุ่มเจริญ จะเข้าสู่ธุรกิจพืชพลังงานแล้ว ยังเข้าสู่วงการข้าวอย่างจริงโดยได้เตรียมที่ดินกว่า 10,000ไร่ไว้รองรับการปลูกข้าวและได้ทดลองปลูก 2,000ไร่ที่จังหวัดหนองคายประเด็นดังกล่าวนี้ได้รับการพูดถึงกันมากเพราะ "เสี่ยเจริญ"เติบโตมาจากธุรกิจน้ำเมาการขยับแต่ละก้าวจึงไม่ธรรมดาและเป็นที่จับตามองของนักธุรกิจต่างๆ จนมีการตั้งข้อสังเกตว่านี่อาจจะเป็นการล้างภาพธุรกิจ อบายมุขพร้อมแต่งตัวเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยอีกครั้งก็เป็นไปได้

วงการข้าวอ้าแขนรับ "เจ้าสัวเจริญ"

ด้าน"สุเมธ เหล่าโมราพร" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัดมองถึงการเข้ามารุกธุรกิจข้าวในช่วงนี้ของกลุ่มทีซีซีอะโกรว่า คงเป็นกระแสที่ทุกคนรู้ดีกว่าช่วงนี้ราคาข้าวสูงขึ้นมากทำให้กลุ่มเสี่ยเจริญที่มีการเตรียมการจะปลูกข้าวอยู่ก่อนแล้วประกาศเดินหน้าโครงการที่เตรียมไว้ ซึ่งแม้กลุ่มนี้จะหันมาปลูกข้าวเพื่อส่งออกจริงๆก็คงไม่กระทบอะไรเพราอย่าลืมว่าในประเทศมีบริษัทส่งออกข้างมากกว่า 100 บริษัทมีโรงสีมากกว่า 100โรงถ้ากลุ่มนี้เข้ามาก็คงไม่สามารถทำอะไรได้ แม้จะมีการซื้อเพื่อส่งออกก็ตาม

"ไม่มีปัญหาเลยที่หากกลุ่มเสี่ยเจริญจะรุกธุรกิจอื่นๆด้วยนอกจากข้าว เพราะซีพีมีความพร้อมในธุรกิจที่ทำ หากเสี่ยเจริญจะขยายสู่ธุรกิจด้วยยิ่งดีเพราะจะได้สร้างงานให้เกิดขึ้นตามมาอีกด้วย"

เชื่อส่งออกข้าวไม่กระทบ

ขณะที่ "ชูเกียรติ โอภาสวงค์" นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศเห็นสอดคล้องกันว่าการเข้ามาของกลุ่มทีซีซีอุตสาหกรรมจะไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจข้าวในประเทศเพราะว่าประเทศไทยปลูกข้าวมากกว่า 60 ล้านไร่ทั่วประเทศหากกลุ่มเสี่ยเจริญจะปลูก 20,000 -30,000ไร่ก็คงไม่มีผลกระทบต่อวงการข้าวแต่อย่างใด เพราะเชื่อว่ากลุ่มนี้จะเน้นไปที่พืชพลังงานและสวนยางพาราที่ลงทุนไปจำนวนมากก่อนหน้านี้

สำหรับการเข้ามารุกในธุรกิจเกษตรของกลุ่มเสี่ยเจริญน่าจะมุ่งไปที่การลดต้นทุนการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆมากกว่า เช่นผลิตเพื่อป้อนโรงงานสุรา ผลิตเพื่อป้อนโรงงานน้ำตาล ไม่ใช่จะหันมาทำธุรกิจทุกตัวอย่างที่ซีพีทำจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าห่วงแต่อย่างใด

"การส่งออกข้าวปีหนึ่งๆเป็นแสนๆตันหากกลุ่มของเสี่ยเจริญเข้ามาก็แค่ส่วนหนึ่งไม่ได้มากมาย จึงไม่ใช่เรื่องน่าห่วงแต่อย่างใด"

ทั้งนี้ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์เพิ่มเติมผู้บริหารกลุ่มทีซีซีอะโกรไม่ว่าจะเป็น"ปณต สิริวัฒนาภักดี"ลูกชายหัวแก้วแหวนหรือ "อนันต์ ดาโลดม" MDทีซีซีอะโกรในการเข้ามารุกธุรกิจข้าว และธุรกิจพลังงานในประเทศไทยรวมถึงการลบภาพธุรกิจอบายมุขเพื่อหวนกลับเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไทยด้วยภาพหลักของธุรกิจเกษตร-พลังงานซึ่งล้วนแต่เป็นภาพที่ดีอีกครั้งหลังต้องนำไทยเบฟเข้าตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เพราะถูกต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ไม่ให้เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นไทย แต่ได้รับการปฏิเสธให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us