ในความเป็นจริง เคเบิลทีวีที่เป็นที่พูดกันถึงขณะนี้นั้นเป็นการพูดเกินความรวมสื่อสองอย่างคือ
"ไมโครเวฟทีวี" ซึ่งส่งสัญญาณเป็นคลื่นความถี่วิทยุมีสถานีส่งและเสาอากาศรับคลื่นโดยเฉพาะ
ส่วนเคเบิลทีวี เป็นการส่งคลื่นไปตามสายเคเบิล แต่ที่คนไทยคุ้นกับชื่อเคเบิลทีวีมากกว่า
เพราะผู้เสนอโครงการครั้แงรกเสนอว่าจะส่งคลื่นไมโครเวฟไปเฉพาะโรงแรม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยแล้วส่งคลื่นผ่านสายไปตามห้องพักแต่ละห้องอีกที
ซึ่งเป็นการทดแทนวิดีโอโดยปริยาย ตรงนี้เองที่เป็นลักษณะของเคเบิลทีวี หรือภาษาทางการ
คือ บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก
ในสมัย ร.ต.ท.ชาญ มนูญธรรม เป็นรัฐมนตีสำนักนายกฯ มีการทำเรื่องขอดำเนินการเคเบิลทีวีมาแล้ว
โดยบริษัทเคลียร์วิว ซึ่งเป็นบริษัทฝรั่งมาจากอเมริกา เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง
เคเบิลทีวี ว่ากันว่า มีคนไทย 2-3 คนข้องเกี่ยวกับบริษัทนี้อยู่ด้วย คือ
ประทุม สูตะบุตร ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ขณะนั้นกับพันตำรวจโทดอกเตอร์ทักษิณ
ชินวัตร ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการสื่อสารโทรคมนาคม
เรื่องนี้มีการยึกยักกันหลายรอบ เพราะขณะนั้นไม่มี พรบ.รองรับและควบคุมการตั้งเคเบิลทีวีก็เหมือนกับตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาใหม่หนึ่งช่อง
เพียงแต่จำกัดคนดูว่า จะต้องเป็นสมาชิกเท่านั้น คราวนั้นบริษัทเคลียร์วิวเสนอว่า
จะรับสมาชิกเฉพาะโรงแรมเท่านั้น ในระยะเริ่มต้นเพื่อสะดวกแก่การควบคุมแต่เรื่องมาช้าที่ชาญ
มนูธรรม ด้วยเหตุที่พอรู้ ๆ กันอยู่
ระหว่างนั้นบริษัทฝรั่งเจ้าของโครงการก็เดินทางกลับไป แต่ทักษิณ ชินวัตร
มองเห็นลู่ทางของกิจการประเภทนี้ก็เลยซื้อเครื่องไม้เครื่องมือมาเก็บไว้กับจ้างฝรั่งผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทเดิมมาช่วยงานต่อ
แล้วตั้งเป็นบริษัทชื่อ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลบรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
จำกัด
ทักษิณพยายามเดินเรื่องนี้ต่อ และขอคลื่นวิทยุเพื่อส่งสัญญาณนี้มา 2 คลื่นจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ
หรือ กบถ. เพราะตนเองลงทุนซื้ออุปกรณ์ไปแล้ว 20 กว่าล้าน แต่ในที่สุดก็ไม่มีคณะรัฐมนตรีชุดใดตัดสินใจ
สุดท้ายเรื่องมาลงเอยที่ ครม. ลงมติให้ อ.ส.ม.ท. เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ตราบเท่าที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติรับรองชัดเจน
ซึ่งตอนนั้น ชาญ มนูธรรม ก็ยังดูแล อ.ส.ม.ท. อยู่ จุดนี้เองที่เฉลิม อยู่บำรุง
มักอ้างอยู่เสมอว่า ครม.อนุมัติให้ อ.ส.ม.ท. ดำเนินการแล้ว
หลังจากที่ อ.ส.ม.ท. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลเรื่องนั้นแล้ว ปรากฏว่า
อ.ส.ม.ท. ได้อนุมัติเรื่องนี้ไปแล้ว 3 แห่ง แต่เป็นจังหวัดที่ไม่สามารถรับคลื่นโทรทัศน์ที่ส่งจากกรุงเทพฯ
ได้ คือ อยู่กลางหุบเขา คือ จังหวัดตาก เลย และจันทบุรี และก็เป็นการรับรายการมาจากกรุงเทพฯ
ไม่มีการผลิตรายการเอง คือ เหมือนรับคลื่นจากสถานีโทรทัศน์จากกรุงเทพฯ ทุกอย่างเพียงแต่จะต้องสมัครเป็นสมาชิกในอัตราต่ำ
คือ 50 บาทเท่านั้น
ระหว่างนี้เองที่ทักษิณเดินเรื่องเข้า อ.ส.ม.ท. อีกครั้ง โดยผ่านมาทาง จิรายุ
อิศรางกูร ซึ่งเป็น รมต.ที่มาคุม อ.ส.ม.ท. ต่อมา อ.ส.ม.ท. คิดสาระตะอยู่แล้ว
มีกำไรแน่ ๆ ก็เลยวางแผนจะซื้ออุปกรณ์จากทักษิณมาดำเนินการเอง พอกำลังจะดำเนินการก็มีเสียงคัดค้านจาก
"สีเขียว" อ้างเรื่องความมั่นคงขึ้นมา เพราะฝ่ายทหารเกรงว่า หากมีรายการ
"เอ็กเซอร์ไซร์" ขึ้นมา เคเบิลทีวีก็จะเหมือนโทรทัศน์อีกแห่งที่เอกชนควบคุมเองเต็มที่
อาจกลายเป็นฐานกระจายเสียงของฝ่ายตรงข้ามได้ง่ายมาก เคเบิลทีวีจึงพับไปอีก
จนกระทั่งมีการออกพระราชบัญญิตวิทยุโทรทัศน์ฉบับใหม่ออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้
ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ควบคุมการแพร่รายการทางสาย เช่น วิดีโอ และเคเบิลทีวี
เรื่องนี้จึงย้อนกลับมาอีก แต่ปัญหาคราวนี้นอกจากว่าถึงแม้จะมีกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ควบคุม
แต่คำถาม คือ มีความจำเป็นที่จะมีเคเบิลทีวีหรือยัง แต่คำถามที่ดูจะสาหัสกว่า
คือ ใครจะเป็นเจ้าของสิทธิ์และให้อำนาจในการจัดตั้งเคเบิลทีวีระหว่าง อ.ส.ม.ท.
กับกรมประชาสัมพันธ์
เชื่อกันว่า ที่เฉลิมสนใจเคเบิลทีวีมา เป็นเพราะการมอบสัมปทานสิทธิ์แก่ใครนั้น
นำมาซึ่งรายได้มหาศาล ซึ่งจุดนี้แหล่งข่าวกล่าวว่า ข้าราชการในกรมประชาสัมพันธ์ก็เห็นในจุดนี้เหมือนกัน
โดยเฉพาะข้าราชการที่เคยไปควบคุมดูแลสถานีโทรทัศน์ภูมิภาคจะเห็นช่องทางการตลาดดีที่สุด
เฉลิม มักอ้างเสมอว่า ถ้า อ.ส.ม.ท. ได้รับมอบหมายให้ดูแลเคเบิลทีวี อ.ส.ม.ท.
จะมอบสัมปทานให้แก่บริษัทของทักษิณ คือ บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคานติ้ง
ทันที เพราะบริษัทแห่งนี้ได้ลงทุนไปมากแล้วในเรื่องอุปกรณ์ และได้ขอคลื่นความถี่จาก
กบถ. ไว้แล้ว 2 คลื่น ซึ่งจุดนี้ที่มีคำครหาว่า อ.ส.ม.ท.วิ่งเรื่องนี้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้แก่คน
ๆ เดียว แทนที่จะเปิดประมูลผู้รับสัมปทานใหม่ เพราะถึงอย่างไร ถ้า อ.ส.มงท.
จะทำเองก็ต้องอนุมัติคลื่นจาก กบถ. อย่างแน่นอน
"แม้แต่คลื่นวิทยุ 2 คลื่นที่ทักษิณถืออยู่ ก็ยังเป็นปัญหาว่า ทักษิณมีสิทธิ์อยู่หรือไม่
เพราะทักษิณเขาเคยขอคลื่นกับ กบถ. จริง แต่โครงการครั้งนั้นถูกระงับไปแล้ว
และเป็นขอในนามกรมไปรษณีย์โทรเลข บริษัททักษิณเป็นผู้เช่าซื้ออุปกรณ์เท่านั้น
ทักษิณไม่มีอำนาจจะใช้ต่อหรือโอนให้ อ.ส.ม.ท.ตามที่ออกมาข่าว และที่เขาออกข่าวว่า
เขามีอยู่แล้ว 3 คลื่น อ.ส.ม.ท. จะขออีก 2 คลื่น รวม 5 คลื่นซึ่งเท่ากับเขาเหมาคลื่นไปทั้งหมดเลย
เรียกว่าผูกขาดหมด แต่นั่นเป็นการออกข่าวเท่านั้น เขาอาจจะเพียงเพิ่งเริ่มต้นขอเท่านั้นเพราะคลื่นทั้งหมด
กบถ. ยังไม่ได้อนุมัติให้ใครเลย การออกข่าวแบบนี้มีเรื่อย เช่น กองทัพอากาศเคยบอกจะตั้งสถานีโดยใช้คลื่นวิทยุของ
กบถ. นี้เหมือนกัน เขาเรียกว่า ออกข่าวตีกันคนอื่นนั่นแหละ" แหล่งข่าว
กล่าว
เมื่อ อ.ส.ม.ท. ได้รับอนุมัติจาก ครม.ให้ดำเนินการเรื่อง เคเบิลทีวี ได้เมื่อปลายเดือนมีนาคม
อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง ก็ได้ไปตามคาดหมาย โดยมีสัญญาว่า บริษัทเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด
โดยขอสิทธิ์ทั้งสิ้น 20 ปีจ่ายค่าตอบแทน 6.5% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
แต่ประกันรายได้ขั้นต่ำแก่ อ.ส.ม.ท. ไว้ 120 ล้านบาท
"คุณคิดรายได้ที่เขาจะได้นะ ค่าสมาชิกรายเดือนเดือนละ 600 บาท ค่าประกัน
และค่าติดตั้งอุปกรณ์ 5,000 บาท เอาแค่ค่าสมาชิกต่อเดือนปีหนึ่ง ๆ สมาชิกต้องเสียปีละ
7,200 บาท ถ้ามีสมาชิกแค่ 1 แสนคน ซึ่งเป็นส่วนน้อยนิดมากของคนกรุงเทพฯ 5
ล้านคน ปีหนึ่ง ๆ บริษัทจะมีรายได้ 720 ล้านบาท แล้วอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าเคเบิลทีวีเป็นที่นิยมรายได้จะเป็นเท่าไร"
แหล่งข่าวกล่าว
คนใน อ.ส.ม.ท. เคยประเมินว่า โครงการนี้สามารถคืนทุนได้ภายใน 3 ปี
แน่นอนที่สุด ธุรกิจอย่างนี้เฉลิมกับทักษิณเขา "จอง"