พูดถึงบริษัทที่มีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปีของอังกฤษ บริษัทแบร์ริ่ง บราเดอร์
(BARING BROTHERS) ของตระกูล "BARRING" เชื่อแน่ว่า สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้สนใจในธุรกิจการเงินและค้าหลักทรัพย์
คงไม่รู้จักว่า บริษัทนี้ยิ่งใหญ่เพียงไร ?
จะขอเล่าให้ฟังดังนี้ว่า …
บริษัท แบร์ริ่ง ของพี่น้องตระกูล "BARINGS" แห่งอังกฤษเก่าแก่พอ
ๆ กับบริษัทพี่ตน้องของตระกูล "ROTHSCHILDS" ที่รู้จักกันดี บริษัท
แบร์ริ่ง เริ่มต้นสู่โลกธุรกิจ เมื่อปี 762 โดย FRANCIS BARING อดีตพ่อค้าผ้าในกรุงลอนดอน
โลกธุรกิจที่ตระกูลแบร์ริ่งทำไม่ใช่ค้าผ้า แต่เป็นการเงิน เขาเริ่มต้นจากทุนเพียง
4,200 ปอนด์ ปั้นธุรกิจการเงินในลักษณะเป็นคนกลางค้ำประกัน และจัดหาเงินทุนจากผู้ให้กู้มาให้ผู้กู้หรือที่เรียกง่าย
ๆ ว่า เป็น MERCHANT BANKER จนเติบใหญ่กระทั่งปัจจุบัน (ปี 1987) มีเงินกองทุนสูงถึง
125 ล้านปอนด์
PHILIP ZIE GLER นักเขียนประวัติศาสตร์ธุรกิจชื่อดัง ได้เขียนถึงประวัติศาสตร์ของ
BARING BROTHERS ไว้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทแบร์ริ่งกับรัฐบาลรัสเซียสมัยพระเจ้าซาร์
และราชวงศ์เมจิ บนพื้นฐานผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นไปอย่างแน่นแฟ้นมาก ครั้งหนึ่งเมื่อปี
1914 รัฐบาลพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียต้องการกู้เงินระยะสั้น 2 ล้านปอนด์จาก
BANK OF ENGLAND โดยให้บริษัท BARINGS เป็นผู้ค้ำประกันและจัดหาให้โดยยอมเสียค่าคอมมิชชั่นให้แบร์ริ่ง
1% และรัฐบาลพระเจ้าซาร์ต้องนำทองคำไปฝากไว้ที่ BANK OF ENGLAND และต้องเสียค่าคอมมิชชั่นให้แบร์ริ่งอีก
0.5%
ว่ากันว่า เงินจำนวนนี้นำไปเป็นค่าใช้จ่ายบำรุงกองทัพในการต่อสู้กับญี่ปุ่น
ในศึกสงครามชิงหมู่เกาะ แมนจูเรีย และเกาหลี
ส่วนด้านญี่ปุ่นก็เช่นกัน ปี 1902 บริษัทแบร์ริ่งร่วมกับฮ่องกงเซี่ยงไฮ้แบงก์ร่วมกัน
FLOAT BOND สกุลเยน ในตลาดลอนดอนมูลค่า 750 ล้านเยน ให้รัฐบาลญี่ปุ่นนำไปสร้างเส้นทางรถไฟ
นอกจากนี้ ในปี 1915 บริษัทแบร์ริ่ง ก็ FLOAT BOND ให้รัฐบาลญี่ปุ่นอีก
200 ล้านเยน ในตลาดลอนดอน เพื่อนำไปซื้ออาวุธต่อสู้กับรัสเซีย สมัยพระเจ้าซาร์
การทำธุรกิจให้รัฐบาลรัสเซียและญี่ปุ่น ทำเอาแบร์ริ่งกระอักกระอ่วนใจเหมือนกัน
เพราะทั้งคู่ต่างเป็นลูกค้าชั้นดีของบริษัท แต่ต้องมาทำสงครามกันด้วยผลประโยชน์ทางการเมือง
แต่ธุรกิจก็เป็นธุรกิจ บริษัทแบร์ริ่งฉลาดพอที่จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในความขัดแย้งของประเทศทั้ง
2
จากความสัมพันธ์อันดีที่มีมายาวนานกับรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่
19 บริษัทแบร์ริ่งจึงเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในหมู่ภาคเอกชนขนาดใหญ่และองค์กรธุรกิจขงอรัฐ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อปี 1984 ที่บริษัทแบร์ริ่ง ได้เข้าไปซื้อกิจการบริษัทซีเคียวริตี้
HENDERSON CROSTHWAITE จาก CHRISTOPHER J. HEATH ด้วยเงิน 5 ล้านปอนด์ ในตลาดค้าหลักทรัพย์กรุงโตเกียว
จึงเป็นกระดานหกให้บริษัทแบร์ริ่ง ซีเคียวริตี้ของกลุ่มแบร์ริ่งบราเดอร์
เข้าสู่ตลาดค้าหลักทรัพย์ในญี่ปุ่นได้สะดวก
"เพราะบริษัท HENDERSON CROSTHWAITE และตัว CHRISTOPHER HEATH ชำนาญธุรกิจหลักทรัพย์ย่าน
FAR-EAST มาก และเป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่บรรดานักค้าหลักทรัพย์ในยุโรปและเอเชีย"
ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ หัวหน้าสำนักงานวิจัยแบร์ริ่งกรุงเทพเล่าให้ "ผู้จัดการ"
ฟัง
ดร.ก้องเกียรติ อดีตเคยเป็นเจ้าหน้าที่แบงก์กสิกรไทย ยศชั้น AVP มีประสบการณ์ในงานด้าน
MERCHANT BANKING และ CUSTODIAN SERVICE เขามีพื้นฐานการศึกษามาจาก WHARTON
SCHOOL OF BUSINESS ด้านการเงินและการวิจัย
"ผมเป็นคนชอบเล่นหุ้น และสนใจในธุรกิจค้าหลักทรัพย์" ก้องเกียรติ
บอกกับ "ผู้จัดการ" ถึงความสนใจส่วนตัวของเขาต่อธุรกิจ
เหตุนี้เป็นจุดหนึ่งที่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ผู้บริหารงานขายคนหนึ่งของแบร์ริ่งซีเคียวริตี้ที่ฮ่องกง
ได้มีโอกาสรับรู้ถึงความรู้ความสามารถของเขาในธุรกิจการค้าหลักทรัพย์ และชวนมาทำงานที่แบร์ริ่งกรุงเทพ
ก็เริ่มต้นจากการนั่งสนทนากันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ขณะที่เขายังเป็นเจ้าหน้าที่แบงก์กสิกรไทยอยู่
เขาโยกย้ายมาอยู่ที่แบร์ริ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม เป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับ
CHIEF REPRESENTATIVE คนแรกของแบร์ริ่ง รีเสิร์ช กรุงเทพ ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อกรกฎาคม
โดย CHRISTOPHER HEATH ผู้บริหารระดับสูงสุดของแบร์ริ่ง ซีเคียวริตี้ ลอนดอน
แบร์ริ่ง ซีเคียวริตี้ มีฐานธุรกิจด้าน TRADING BROKERAGE HOUSE ที่โตเกียวและฮ่องกง
เป็นฐานใหญ่สุดของกลุ่มย่านเอเชีย-แปซิฟิค และทำรายได้ด้านธุรกิจค้าหลักทรัพย์ให้กับกลุ่มแบร์ริ่งคิดเป็นร้อยละ
85 ของทั้งหมด
"แบร์ริ่ง รีเสิร์ช กรุงเทพ จะทำหน้าที่จัดทำข้อมูลภาวะการค้าหุ้น
และบรรยากาศการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ประจำวันและสินค้า รายงานตรงต่อฮ่องกง
โตเกียว และลอนดอน แต่กรุงเทพจะไม่มีอำนาจการค้าใด ๆ ทั้งสิ้น DEALER ที่ฮ่องกงจะทำหน้าที่ตามคำสั่งของลูกค้าที่เป็นสถาบันการลงทุน
เช่น BANK, INSURANCE, PENSION FUND, MUTUAL FUND, PROVIDENT FUND จากทุกมุมโลก"
โบรกเกอร์ของแบร์ริ่งสำหรับตลาดหุ้นไทย คือ ไทยค้าภัทรธนกิจ ธนชาติ ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ชั้นนำ
ซึ่งว่าไปแล้ว โบรกเกอร์เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจค้าหลักทรัพย์กับแบร์ริ่งฮ่องกงมาตั้งแต่
4 ปีที่แล้ว
จนปัจจุบัน แบร์ริ่งฮ่องกงลงทุนซื้อขายผ่านตลาดหุ้นไทยปริมาณมากอยู่ในอันดับ
1 ใน 3 ของบริษัทซีเคียวริตี้ต่างประเทศแล้ว
"ตลาดหุ้นไทย เป็นตลาดที่ทำรายได้ให้แบร์ริ่งฮ่องกงในด้านค่าคอมมิชชั่นไม่น้อยกว่า
1% ของรายได้รวม" ตรงนี้ผู้บริหารระดับสูงด้าน CUSTODIAN SERVICE ของ
ธ.ไทยพาณิชย์ยืนยันได้ว่าเป็นจริง เพราะศูนย์รับฝากใบหุ้นของแบร์ริ่งให้บริการของไทยพาณิชย์มาตั้งแต่แรกเริ่ม
"รายได้รวมจากค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียม และกำไรจากการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของแบร์ริ่ง
ปี 1987 มีประมาณเกือบ 69 ล้านปอนด์" รายงานประจำปี 1987 ของแบร์ริ่ง
บราเดอร์ ที่ออกในลอนดอนระบุไว้เช่นนั้น
ซึ่งนั่นก็หมายความว่า โดยอนุมานแล้ว ปี 1987 - 88 แบร์ริ่งฮอ่งกงทำรายได้จากตลาดหุ้นไทยได้ประมาณ
600,000 ปอนด์หรือเกือบ 24 ล้านบาท !
ปกติแล้ว นโยบายของแบร์ริ่งด้านหลักทรัพย์จะไม่ TAKE POSITION เสียเอง เหตุผลมันเสี่ยงเกินไป
เป็นแค่ทำหน้าที่ด้านนายหน้า คิดอัตราคอมมิชชั่นเพียง 0.5% (ตลาดหุ้นไทย)
ก็พอเพียงแล้ว และเป็นนโยบายหลักของแบร์ริ่งที่ใช้ทั่วโลกในการเป็น PURELY
BROKERAGE HOUSE แท้จริง
"จะมีบ้างก็เพียงตลาดหุ้นโตเกียว ซึ่งมี MARKET CAPITALIZATION ใหญ่กว่าตลาดหุ้นไทย
350 เท่า แบรร์ริ่งเป็น MARKET MAKER สินค้า WARRANTS และ CONVERTIBLE DEBENTURE"
ก้องเกียรติพูดถึงแบร์ริ่งซีเคียวริตี้ญี่ปุ่นให้ฟัง
การที่ก้องเกียรติได้มานั่งเป็นหัวหน้าสำนักงานวิจัยแบร์ริ่งนับว่าเป็นคนไทยคนแรกมีนักค้าหุ้นระดับมืออาชีพของโลกอย่าง
CHRISTOPHER HEATH ยอมรับในฝีมือ นับว่าเขาเป็นนักวิเคราะห์หุ้นระดับอินเตอร์เนชั่นแนลไปแล้ว
"ผมมานั่งทำงานที่นี่มีสต๊าฟวิจัยเพียง 3 คน เช้าผมต้องรายงานให้ DEALER
ที่ฮ่องกง ทราบว่ามีเหตุการณ์อะไรขึ้นในเมืองไทย ตกบ่ายผมต้องคุยกับ SALE
DEALER ที่ลอนดอน ตกค่ำผมต้องคุยกับ SALE DEALER ที่นิวยอร์กเป็นอย่างนี้ทุกวัน
เพราะเป็นหน้าที่ผม" ก้องเกียรติ พูดถึงหน้าที่การเป็นนักวิจัยหุ้นระดับมืออาชีพในบริษัทค้าหลักทรัพย์ระดับโลกให้ฟัง
งานวิจัยเป็นบริการหลักที่สำคัญที่สุดในธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ของบริษัทระดับโลกเขาทำกัน
ซึ่งเมื่อมองดูโบรกเกอร์บริษัทไทยแล้ว ยังไม่ไปถึงไหนเลย คงต้องใช้ความพยายามและความกล้าหาญในการลงทุนกับบริการด้านนี้อีกมากสำหรับบริษัทนายหน้าค้าหุ้นไทย
ถ้าปรารถนาจะยกระดับคุณภาพการทำธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์สู่มาตรฐานสากล