Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2532
EDIFACT ล่ามสมองกล             
 


   
search resources

ประทิน บูรณบรรพต
Aviation
Software




ความแตกต่างในด้านภาษาที่มนุษย์ใช้พูดจากันเคยได้รับการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาว่า เป็นปัญหาสำหรับการสื่อสารของพลโลก จนถึงกับมีการคิดสร้างภาษากลางที่มนุาย์ทุกเผ่าพันธุ์ใช้เป็นสื่อพูดกันรู้เรื่อง เรียกกันว่า ภาษา "เอสพรอรันโด้" ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษผสมกับภาษาสเปน แต่ก็ไม่สำเร็จ

คอมพิวเตอร์ก็มีปัญหาเหมือนกันว่าเครื่องที่ทำงานด้วยระบบคำสั่งแตกต่างกันก็คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง เวลาจะเชื่อมคอมพิวเตอร์สองเครื่องเข้าด้วยกัน จึงต้องเสียเวลาในการปรับระบบวิธีการทำงานให้เข้ากันเสียก่อน

จนถึงทศวรรษ 1960 ทางสหประชาชาติเริ่มคิดว่า ในเรื่องภาษาคนนั้น คงเป็นเรื่องลำบากที่จะทำให้ทุก ๆ คนพูดภาษาเดียวกัน อีกทั้งภาษาอังกฤษก็เริ่มมีบทบาทเป็นภาษากลางมากขึ้นทุกวัน ๆ ความคิดที่จะต้องมีภาษากลางสำหรับมนุษย์อาจจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป สู้เอาเวลามาคิดทำในเรื่องที่จำเป็นและเป็นประโยชน์มากกว่านี้จะดีกว่า

เรื่องนั้นก็คือ ปัญหาในการสื่อสารข้อมูล เพราะโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่การเชื่อมต่อส่งผ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังมีบทบาทสำคัญสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำอย่างไรถึงจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่มีระบบการทำงานแตกต่างกัน มีโครงการของระบบข้อมูลที่ไม่เหมือนกันสามารถคุยกันได้โดยสะดวก

จุดเริ่มต้นก็คือ การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาในสหรัฐอเมริกาชุดหนึ่งชื่อว่า JEDI (JOINT ELECTRONIC DATA INTERCHANGE) อีกชุดหนึ่งอยู่ในยุโรปเรียกว่า GTDI (GUIDELINE FOR TRADE DATA INTERCHANGE) ทั้งสองชุดนี้จะทำหน้าที่ในการสร้าง และพัฒนากฎเกณฑ์มาตรฐานสำหรับใช้เป็นโครงสร้างของสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์

ต้นปี 1970 ความพยายามของคณะกรรมการทั้งสองชุดก็เป็นรูปเป็นร่างออกมา โดยสามารถสร้างมาตรฐานสากลอันหนึ่งเรียกว่า EDIFACT (ELECTRONIC DATA INTERCHANGE FOR ADMINISTRATION, COMMERCE AND TRASPORT) กำหนดกฎเกณฑ์โครงสร้างของระบบข้อมูลให้เป็น "สื่อสากล" ระหว่างคอมพิวเตอร์ทั่วโลกให้เชื่อมโยงกันได้มาตรฐานนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มมหึมาที่ชื่อว่า "DATA DICTIONARY" เป็นหลักพื้นฐานที่ครอบคลุมถึงระบบข้อมูลที่ใช้ในธุรกิจการค้าการจัดการและการขนส่ง

EDIFACT เป็นเพียงกฎเกณฑ์พื้นฐานเท่านั้น ถ้าจะนำไปใช้ในทางปฏิบัติแล้ว จะต้องมีการพัฒนา EDIFACT นี้ต่อไปตามลักษณะของงานที่นำไปใช้

โครงการ EDIFACT ที่การบินไทยร่วมกับสายการบินแควนตัสประกาศใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนากฎเกณฑ์พื้นฐานอันนี้ขึ้นมาใช้ในธุรกิจการบิน เพื่อเชื่อมโยงระบบข้อมูลของทั้งสองสายการบินเข้าด้วยกัน

"เราทำสำเร็จเป็นรายแรกของโลก เป็นสิ่งที่วงการสายการบินตื่นเต้นมาก" ประทิน บูรณบรรพต ผู้อำนวยการฝ่ายบริการการบินของการบินไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงกล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ด้วยความภาคภูมิใจ

ความจำเป็นที่สายการบินจะต้องมีการเชื่อมระบบข้อมูลการสำรองที่นั่งเข้าด้วยกัน ก็เพราะว่าการจองตั๋วเครื่องบินในปัจจุบันไม่ได้ทำกันได้ง่ายเหมือนเมื่อก่อนที่ตลาดเป็นของผู้โดยสารจะจองเมื่อไรก็ได้ แต่ในทุกวันนี้ผู้โดยสารต้องแย่งกันจอง แย่งกันเลือกเที่ยวบินที่ดีที่สุด สายการบินต้องทำหน้าที่บริการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด

ข้อมูลที่เสนอไม่จำกัดอยู่เฉพาะสายการบินของตัวเองเท่านั้น แต่ยังต้องรวมเอาของสายการบินอื่น ๆ เข้ามาด้วยให้เหมือนกับว่าข้อมูลนั้นมาจากจอคอมพิวเตอร์ของสายการบินเจ้าของข้อมูลด้วย วิธีที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น คือ การเชื่อมระบบสำรองที่นั่งของสายการบินนั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์ของตัวเอง

"เหมือนอย่างที่การบินไทยเชื่อมกับสิงคโปร์ แอร์ไลน์ และคาเธ่ย์ แปซิฟิค ในตอนนี้" นพพร บุญพารอด หัวหน้าแผนกระบบข้อมูลบริการผู้โดยสารยกตัวอย่าง

สิ่งที่ตามมาก็คือ ระบบคำสั่งและโครงสร้างข้อมูลของแต่ละสายการบินนั้นแตกต่างกันเอากันแค่ระบบวันที่ของเที่ยวบิน ก็มีทั้งที่ขึ้นต้นด้วยวันที่และขึ้นต้นด้วยเดือนหรือขึ้นต้นด้วยปี บางสายการบินใช้ระบบตัวเลขห้าตัว บางสายก็ใช้ระบบตัวเลขเจ็ดตัวที่รวมเอาข้อมูลเกี่ยวกับปีเอาไว้ด้วย จึงต้องปรับระบบให้สอดคล้องเพื่อที่คอมพิวเตอร์ทั้งสองฝ่ายจะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นเรื่องค่อนข้างจะยุ่งยากที่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าหกเดือนหรือหนึ่งปี

"ถ้าเชื่อมกันแค่สองหรือสามสายก็ไม่ยาก แต่นี่เป็นสิบ ๆ สายที่มีระบบไม่เหมือนกัน ก็เลยยิ่งยุ่งเข้าไปอีก" นพพรอธิบาย

นี่คือที่มาของการพัฒนาคิดค้นโปรแกรมที่เป็น "ภาษากลาง" ให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละสายการบินมาเชื่อมต่อกันได้

เดือนตุลาคม 1987 มีการประชุมกันที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ระหว่างผู้แทนจาก OAA (ORIENT AIRLINE ASSOCIATION) ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของสายการบินในภาคพื้นตะวันออกกับ AEA (ASSOCIATION OF EUROPEAN AIRLINES) ตัวแทนของสายการบินยุโรปและทีดับบลิวเอ ตัวแทนจากอเมริกาเพื่อาลู่ทางพัฒนา EDIFACT ขึ้นมาใช้กับธุรกิจการบินที่ประชุมมีข้อสรุปให้มีระบบมาตรฐานกลางขึ้นมาเป็นสื่อกลางของระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และเสนอขอความเห็นชอบต่อสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA : INTERNATIONAL AIR TRANSPORT ASSOCIATION) รับรองเพื่อให้เป็นข้อตกลงเอกฉันท์ของสายการบินทั่วโลก

การบินไทยกับแควนตัสถูกคัดเลือกให้เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมนี้ร่วมกัน โดยมีการเซ็นสัญญาเมื่อเดือนมีนาคม 1988 ทั้งสองสายการบินได้ตั้งทีมโปรแกรมเมอร์ขึ้นมา เพื่อสร้าง EDIFACT ออกมา ซึ่งใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งปีก็สำเร็จออกมา ค่าใช้จ่ายนั้นไม่ได้มีการลงทุนเป็นตัวเงิน เพราะว่าต่างฝ่ายต่างใช้คนที่มีอยู่แล้ว แต่ตีออกมาในรูปของค่าแรงได้เป็นเงินประมาณ 20 ล้านบาท

"คิดออกมาเป็นค่าพัฒนาได้ 5 MAN - YEARS หมายความว่า ใช้คนห้าคนทำงานหนึ่งปี 1 MAN - YEAR เท่ากับ 200 MAN - DAYS ตามมาตรฐานแล้วคิดกันวันละ 800 US ต่อคนทั้งหมดจึงเท่ากับ 800,000 เหรียญ" นพพร อธิบายวิธีการคิดต้นทุนการพัฒนาให้ฟัง

EDIFACT นี้จะเป็นโปรแกรมที่เปลี่ยนข้อมูลของสายการบินหนึ่งให้เป็นระบบมาตรฐานกลาง ซึ่งเมื่อส่งไปเข้าคอมพิวเตอร์ของอีกสายการบินหนึ่ง คอมพิวเตอร์ของสายการบินนั้นจะต้องมี EDIFACT อยู่ด้วย เพื่อแปลข้อมูลให้เป็นภาษาเดียวกับที่เครื่องของตนใช้อยู่โดยไม่ต้องไปแก้ไขโครงสร้างระบบคำสั่งหรือข้อมูล ทำให้ประหยัดเวลา กำลังคน และงบประมาณได้มากมาย

เพราะฉะนั้น สายการบินใดที่ต้องการจะเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์ของตนเข้าด้วยกันก็ต้องมี EDIFACT เป็นโปรแกรมเพิ่มเข้าไปนอกเหนือจากโปรแกรมคำสั่งที่มีอยู่แล้วเพื่อให้คอมพิวเตอร์คุยกันเองได้รู้เรื่อง ซึ่งการบินไทยได้มอบหมายให้ QANTAS INFORMATION TECHNOLOGY LIMITED (QANTEK) บริษัทในเครือของสายการบินแควนตัสเป็นตัวแทนด้านการตลาดขายโปรแกรมให้กับสายการบินที่สนใจ

"ขายได้อยู่แล้ว เพราะไม่ต้องไปเสียเวลา เสียเงินพัฒนาขึ้นมาเอง" ประทิน มั่นใจว่า EDIFACT นี้ขายออกแน่ ๆ และมีแผนที่จะขยายไปใช้กับระบบคาร์โกและระบบควบคุมผู้โดยสารขาออกต่อไปด้วย

ต่อไปนี้ สายการบินใดที่ต้องการจะเชื่อมข้อมูลการสำรองที่นั่งเข้ากับสายการบินอื่น ๆ ก็เพียงแต่ซื้อ EDIFACT มาใช้เป็นโปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ออกมาเป็นภาษากลาง ซึ่งใช้เวลาเพียงสองสามวันเท่านั้นในการเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us