Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2532
ไววุฒิ ธเนศวรกุลกับ PTSC และสิทธิบัตรยา"ตัวอย่างการพึ่งตนเองของหมอยาไทย"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไบโอแลป, บจก.

   
search resources

ไววุฒิ ธเนศวรกุล
Pharmaceuticals & Cosmetics
ไบโอแลป (Biolab Co., Ltd.)




บรรดานายแพทย์ที่หันมาเอาดีทางธุรกิจนอกวงการแพทย์จนมีชื่อเสียงทางธุรกิจมากยิ่งกว่าทางการแพทย์นั้นก็มีอยู่มากมายหลายคน แต่คนที่เป็นทั้งแพทย์และนักธุรกิจพร้อม ๆ กันไปคงจะมีไม่มากนัก

และหนึ่งในบรรดาจำนวนไม่มากนัก คือ หมอไววุฒิ ธเนศวรกุล

ในช่วงเช้าของทุก ๆ วัน ไววุฒิจะปฏิบัติหน้าที่แพทย์ที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ในตำแหน่งหัวหน้าสูตินารี ครั้นตกบ่ายก็อาจจะมานั่งยังสำนักงานของบริษัทไบโอแลป จำกัด ที่ซอยพร้อมพงศ์ ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ หรือมิฉะนั้นก็เดินทางไปดูโรงงานที่ถนนร่มเกล้า มีนบุรี

ไววุฒิ บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ชีวิตของเขาเดินทางอยู่บนท้องถนนมากกว่าจะประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ทั้งนี้เพราะเขามีกิจธุรกิจที่จะต้องเดินทางไปโน่นนี่อยู่ตลอดเวลา

ยิ่งตอนนี้ ไบโอแลปกำลังจะก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่บางปู ไววุฒิก็ต้องเพิ่มจุดหมายปลายทางในการเดินทางมากแห่งขึ้นไปอีก

ไววุฒิคลุกคลีกับเรื่องหยูกยามาตั้งแต่วัยเด็ก เพราะที่บ้านเขาประกอบกิจการร้านขายยา ซึ่งนี่เป็นมูลเหตุหนึ่งที่ชักนำเขาเข้าสู่วงการ เขาบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า เขาจับธุรกิจของครอบครัวตั้งแต่สมัยยังเรียนหนังสือ และเพราะคลุกคลีอยู่มากเกินไป เขาจึงต้องถูกรีไทร์เมื่อเป็นนักศึกษาแพทย์ที่ศิริราช

แต่ถึงกระนั้น เขาก็สู้อุตส่าห์ข้ามน้ำข้าทะเลไปคว้าปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต จากเกาะฟิลิปปินส์กลับมาจนได้

แล้วก็กลับมาดำเนินกิจการของครอบครัวต่อ โดยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การจัดการสมัยใหม่จากร้านขายยาของคนรุ่นพ่อ กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายยาชั้นนำแห่งหนึ่งภายในประเทศ เมื่อเข้าสู่คนรุ่นลูก

ขณะที่ธุรกิจของครอบครัวกำลังก้าวหน้าไปด้วยดีโดยฝีมือบริหารของไววุฒิและน้องชายนั้น ไววุฒิก็ตัดสินใจโดดเข้ามาร่วมงานกับสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TYMA) เพราะได้มองเห็นว่า ทิศทางการดำเนินงานของสมาคมฯ เท่าที่ผ่านมานั้น ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด เป้าหมายของไววุฒิคือต้องการให้สมาคมฯ ทำงานด้านบริการให้มากขึ้น

TPMA เป็นสมาคมของบริษัทและโรงงานยาที่เป็นของคนไทย มียอดสมาชิกเกือบ 200 ราย ไววุฒิเข้าร่วมงานกับทีพีเอ็มเอ เมื่อ 3 ปีที่แล้วด้วยตำแหน่งเลขาสมาคมฯ จนปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งนายกสมาคมฯ

นอกจากนี้ เขายังเป็นประธานสาขาอุตสาหกรรมผลิตยาในสภาอุตสาหกรรมไทยชุดปัจจุบันด้วย

จากการคลุกคลีกับวงการยาตั้งแต่ระดับผู้ค้ารายย่อยจนกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นผู้มีบทบาทในการสมาคมยาดังกล่าว ไววุฒิได้ออกโรงคัดค้านการให้การคุ้มครองสิทธิบัตรยาในนามของ TYPMA มาตลอด

ตอนนี้เขาไม่ได้จ้องแต่จะค้านท่าเดียว แต่ได้พยายามที่จะร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการปรับปรุงโรงงานยาให้ได้มาตรฐานตามแบบสากลด้วย

โครงการหนึ่งที่ไววุฒิเป็นตัวตั้งตัวตีอย่างแข็งขันและน่าสนใจยิ่งก็คือ ศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม (PHARMACEUTICAL TECHNOLOGY SERVICE CENTER = PTSC) โดยผู้ริเริ่มโครงการ คือ UNIDO (UNITED NATIONS INDUSTRIAL DEVELOPMENT ORGANIZATION) ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมของสหประชาชาติ

โดยทั่วไป UNIDO ให้ความสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในด้านของเงินทุนและผู้เชี่ยวชาญแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาทั้งหลาย โดยให้ความช่วยเหลือผ่านทางภาครัฐบาล

ในครั้งนี้ UNIDO ต้องการทดลองผ่านความช่วยเหลือมาทางภาคเอกชน โดยผ่านเรื่องมาทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเมื่อปลายปี 2529 ซึ่งมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยอมรับขอความช่วยเหลือนี้ 2 กลุ่ม โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมยารวมอยู่ด้วย

แน่นอน ไววุฒิรีบคว้ารับโครงการความช่วยเหลือของ UNIDO เอาไว้ทันที เพราะมันสอดคลองกับเป้าหมายของเขาในการที่จะสร้างศูนย์บริการเช่นนี้อยู่แล้ว

เพราะสิ่งที่วงการอุตสาหกรรมยาต้องการอย่างมากก็คือ การยกระดับกระบวนการผลิตยาเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานมากขึ้น นั่นหมายถึงว่า จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโรงงานยาเป็นจำนวนมาก ต้องมีการสร้างโรงงานยาใหม่ตามมาตรฐานแบบใหม่ คือ ให้ถูกต้องตามหลัก GMP (GOOD MANUFACTURING PRACTICE) รวมทั้งต้องมีการอบรมเจ้าหน้าที่พนักงานในโรงแรมทุกแผนกและทุกระดับชั้น

"จุดหมาย คือ ต้องการ REORIENTED ให้เข้าใจระบบใหม่ คือ เรายังอยู่ในเรื่องมาตรฐานของช่วงเวลาเดิม ทีนี้เมื่อ CONCEPT มันเปลี่ยน เราต้อง REORIENTED ให้เขารับรู้ CONCEPT ใหม่ เพื่อที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปอย่างราบรื่น แทนที่จะเป็นการบังคับกัน"

นอกจากนี้ ไววุฒิยังมองว่า การตั้งศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรมเป็นกลไกอันหนึ่งที่ใช้ต่อสู้ในเรื่อง พ.ร.บ.สิทธิบัตรยาได้ด้วย

"เราจะตะโกนสู้แล้วไม่หันมามองตัวเองไม่ได้ เราอยู่ในขีดความสามารถที่จะสู้กับเขาในระยะยาวได้ ผมถึงพยายามดิ้นรนเพื่อให้เกิดศูนย์ขึ้นมา มันเป็นแผนการต่อสู้ระยะยาวด้วยการพึ่งตนเองทางด้านเทคโนโลยี"

ศูนย์บริการเทคโนโลยีฯ จะเป็นศูนย์ถาวรที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการต่าง ๆ เช่น การสัมมนา ฝึกอบรม ให้บริการด้านการตรวจวิเคราะห์และวิจัยพัฒนา โดยยุนิโดจะให้ความช่วยเหลือคิดเป็นมูลค่ารวม 14 ล้านบาท เป็นค่าเครื่องมืออุปกรณ์ 30 % และค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ 70%

เนื่องจากความช่วยเหลือของ UNIDO โดยส่วนมากจะเน้นไปในเรื่องการส่งผู้เชี่ยวชาญออกมาประจำตามโครงการต่าง ๆ ดังนั้นในช่วง 18 เดือนแรกจะมีผู้เชี่ยวชาญมารวมทั้งสิ้น 6 คนโดย UNIDO จัดการเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมด ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ประกอบไปด้วยวิศวกรเคมี เพื่อมาช่วยด้านดีไซน์โรงงาน การสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่สามารถทำเองได้ นอกจากนี้ ก็มีผู้เชี่ยวชาญที่จะมาดูทางด้านการจัดคลื่นรูม เป็นต้น

แต่ความช่วยเหลือที่คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาทนี้ จะไม่มีการส่งมาเป็นเม็ดเงินแม้แต่บาทเดียว ศูนย์บริการเทคโนโลยีฯ จะได้รับในรูปของเครื่องมือและบุคลากร

เมื่อเป็นเช่นนี้การดำเนินงานในขั้นเริ่มแรก สมาคม TPMA จึงต้องมีการควักกระเป๋าสำรองจ่ายล่วงหน้าจำนวน 400,000 บาท เพ่อใช้ในการตกแต่งสถานที่ การว่าจ้างพนักงานธุรการ และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ โดยศูนย์บริการเทคโนโลยีฯ จะจ่ายคืนในภายหลัง

กว่าที่โครงการเรื่องศูนย์บริการเทคโนโลยีฯ จะออกมาเป็นรูปเป็นร่าง จนเหลือเพียงขั้นตอนสุดท้าย คือ ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเซ็นสัญญานั้น ไววุฒิก็เหน็ดเหนื่อยมากพอดู

ทั้งนี้ เพราะอุตสาหกรรมยาเป็นเรื่องที่ UNIQUE อย่างมาก ๆ ปัญหาแรกสุดที่เขาพบ คือ ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับโครงการของคนในสภาอุตสาหกรรมฯ ความกลัวที่ว่า หากศูนย์บริการเทคโนโลยีฯ เกิดมีปัญหากับผู้รับบริการจนเกิดฟ้องร้องขึ้นแล้ว ทางสภาอุตสาหกรรมฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

แต่ไววุฒิก็สามารถทำความเข้าใจกับคนในสภาอุตสาหกรรมฯ จนสำเร็จ

ปัญหายังไม่หมดแค่นั้น เขาต้องเจรจาเพื่อหาสถานที่ตั้งศูนย์ฯ และเขาก็เลือกเจรจากับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอันดับแรก

แต่ดูเหมือนว่า ความสัมพันธ์ของเขากับมหิดลภายหลังถูกรีไทร์จากศิริราช จะขาดสะบั้นลงแค่นั้น เภสัชฯ มหิดลฯ ตอบปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่า สัญญาโครงการก่อตั้งศูนย์ฯ เป็นสัญญาที่ไม่สามารถจะยอมรับได้ เนื่องจากมหิดลฯ ต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก

ดังนั้น แม้โครงการจะดีและมหิดลฯ ก็เห็นชอบด้วย แต่ก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้

ไววุฒิจึงเริ่มวิ่งเข้าทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งรองศาสตราจารย์ บุญอรรถ สายศร คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ก็ได้ยอมรับในหลักการเพื่อเข้าร่วมโครงการไปแล้วรออยู่แต่ให้ฝ่ายนิติการของมหาวิทยาลัยตรวจสอบสัญญา ซึ่งก็ใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร

ทางจุฬาฯ นั้นไม่เพียงแต่เห็นดีเห็นงามกับเรื่องศูนย์บริการฯ แต่ยังมีโครงการจะขยายใหญ่โต ถึงระดับสถาบันเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม

โครงการสถาบันฯ ผ่านความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว และเรื่องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของทบวงมหาวิทยาลัย

บุญอรรถ เปิดเผยว่า ศูนย์บริการเทคโนโลยีฯ จะเป็นหน่วยหนึ่งในสถาบันฯ

ส่วนไววุฒิไม่ยอมรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด เพราะเมื่อเดินงานมาได้ถึงเพียงนี้แล้วก็เหมือนกับสำเร็จไปได้ครึ่งค่อนทาง

ขณะนี้เขาเริ่มคิดโครงการใหม่ คือ REFERENCE LABORATORY เป็นโครงการต่อเนื่องจากศูนย์บริการฯ

R.LAB. เป็น LAB ที่ต้องได้รับการอนุมัติรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากหากจะพัฒนาด้านการส่งออกยาไปจำหน่ายในต่างประเทศ

ไววุฒิกำลังดำเนินการเจรจาอย่างขะมักเขม้นกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อร่วมกันผลักดันโครงการนี้ ซึ่งเป็นการเจรจาที่ยากยิ่งกว่าโครงการที่ผ่านมาหลายเท่าตัวนัก

แต่หากโครงการนี้สำเร็จก็จะเป็นคุณูปการแก่วงการอุตสาหกรรมยาไม่น้อย เพราะเป็นการเปิดช่องทางให้ทำการพัฒนากระบวนการผลิตและการจำหน่ายยาทั้งในและนอกประเทศได้อย่างมาก ๆ

ซึ่งก็หมายความว่า ในระยะยาวแล้ว โครงการที่ไววุฒิทำอยู่ในเวลานี้ เป็นหนทางหนึ่งในการยะระดับคุณภาพการผลิตยาของอุตสาหกรรมยาท้องถิ่น และการพึ่งตนเองในการต่อสู้กับสิทธิบัตรยาของสหรัฐฯ ด้วย

ก็คงต้องรอดูฝีมือของไววุฒิกันต่อไป !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us