มาตรการทบทวนเพื่อยกเว้น AD เหล็กยังไร้ข้อสรุปเมื่อผู้ผลิตเหล็กรีดเย็นและสหวิริยาผู้ผลิตเหล็กรีดร้อนรายใหญ่ในประเทศยังตกลงพิกัดเหล็กกันไม่ได้
ส.อ.ท.จี้เร่งสรุปก่อนปัญหาบานปลายเตรียมส่งหนังสือถึงพาณิชย์กระทุ้งอีกรอบสัปดาห์นี้หลังจากที่ก่อนหน้าระบุจะได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ภายใน10
วัน
นายเกียรติพงษ์ น้อยใจบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า
สัปดาห์นี้ส.อ.ท.จะทำหนังสือถึงนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้เร่ง
รัดการพิจารณาทบทวนประกาศมาตรการเก็บภาษีนำเข้าตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) เหล็กแผ่นรีดร้อนจาก
14 ประเทศอีกครั้งหนึ่งหลังจาก ที่ล่าสุดทางผู้ผลิตเหล็กยังไม่สามารถ ตกลงในเรื่องของพิกัดที่ผลิตในประเทศได้หรือไม่อย่างไรระหว่าง
ผู้ผลิตเหล็กรีดเย็นกับบริษัทสหวิริยา สตีลอินดัสตรีผู้ผลิตเหล็กรีดร้อนในประเทศ
"เบื้องต้นก็ผู้ผลิตในประเทศเองก็ยังตกลงกันไม่ได้ การหารือกัน ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ใช้เหล็ก
ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอื่นๆที่ต้องใช้เหล็กรีดเย็นเป็นวัตถุดิบหลายอย่าง ทางกลุ่มผู้ผลิตเหล็กเองก็ไม่ยอมให้เข้าไปหารือด้วย
ทำให้เรื่องนี้ ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนทั้งที่กระทรวง พาณิชย์ออกมาระบุว่า 10 วันจะมีความชัดเจนมากขึ้นแต่นี่ก็เลยเวลาแล้ว"
นายเกียรติพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวซึ่ง มีหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มไฟฟ้าฯ
รถยนต์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อมี AD เหล็กที่ประกาศแล้วจะทำให้แนวโน้มราคาเหล็กจะปรับสูงขึ้นตามภาษีที่โดนเพราะต้องยอมรับว่าสหวิริยายังไม่สามารถผลิตเหล็กในบางเกรดได้และ
มาตรการนี้จะมีผลถึง 5 ปีเต็ม ซึ่งเกรงว่าหากปล่อยให้ปัญหาดังกล่าวเรื้อรังอาจทำให้เหล็กในประเทศ
ขาด แคลน โดยเฉพาะเหล็กรีดเย็นที่ สต็อกเหล็กรีดร้อนบางพิกัดที่สห- วิริยาผลิตไม่ได้แค่
2 เดือนเพื่อ รอให้มีความชัดเจนในเรื่องนี้หาก ยังไม่มีการทบทวนเหล็กในบางพิกัด
ก็จะต้องยอมรับในเรื่องราคาที่สูงขึ้นได้
รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.ยืนยันว่าที่ผ่านมาได้ทำ หนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ที่ขอ
ให้แยกพิกัดเหล็กที่ไทยผลิตไม่ได้ออกไปเพื่อป้องกันปัญหาผู้ใช้เหล็ก แต่ปรากฏว่าพาณิชย์นำมารวม
10 รายการ ได้แก่ พิกัด 7208.37.022, 7208.37.023, 7208.38.022, 7208.38.023, 7208.38.032,
7208.38.033, 7208.39.022, 7208.39.023, 7208.39.032 และ 7208.39.033
นายบดินทร์ อัศวาณิชย์ เลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะกรรมการบริหารส.อ.ท.ไ
ด้ นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การหารือและทุกฝ่ายก็ลงมติว่า ควรจะเร่งแก้ไขปัญหานี้ให้มีความชัดเจนเนื่อง
จากภาคอุตสาหกรรมปลายน้ำที่จะต้องใช้เหล็กรีดเย็นอาจจะได้รับผลกระทบมากสุดเพราะต้องใช้เหล็กมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเช่น
ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล ฯลฯ ขณะที่ผู้ผลิตเหล็กรีดเย็นต้องนำเข้าเหล็กรีดร้อนบางพิกัดจากต่างประเทศเพราะไทยผลิตได้ไม่ครบทุกเกรดเมื่อมี
AD ก็จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นและท้ายสุดผู้ประกอบการ ปลายน้ำก็จะมีต้นทุนแพงขึ้น
"เรายังขอย้ำจุดยืนว่าพาณิชย์ควรจะต้องทบทวนในการยกเว้น AD เหล็กรีดร้อนบางพิกัดที่ไทยผลิตไม่ได้ออกมา
เพราะหากครอบ คลุมทั้งหมดก็จะประสบปัญหาในภาพรวม ทุกฝ่ายควรจะหารือกันด้วยเหตุและผลและนำข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน"
นายบดินทร์กล่าว
แหล่งข่าวจากส.อ.ท.กล่าวว่า ผู้ผลิตเหล็กรีดเย็นได้หารือกับสหวิริยาแล้วเบื้องต้นแต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปเพราะว่ายังต้องหาข้อพิสูจน์ว่าเหล็กบางพิกัดผลิตไม่ได้มาตรฐานจริงๆ
ประกอบกับยังไม่มีหน่วยงาน กลางเข้ามาตัดสินใจเรื่องนี้คาดว่าหากให้เจรจากันไปเรื่อยๆ
ก็คงจะยืดเยื้อและท้ายสุดผู้ที่จะต้องเข้ามารับภาระก็คือผู้บริโภคเพราะประเมิน
ว่าสต็อกเหล็กบางพิกัดที่ผู้ผลิตเหล็กรีดเย็นต้องนำเข้าและระบุว่าสหวิริยาผลิตไม่ได้เมื่อเจอภาษี
AD ก็จะมีต้นทุนแพงขึ้นและท้ายสุดก็จะผลักภาระมายังผู้ผลิตสินค้าที่ใช้เหล็กรีดเย็นเป็นวัตถุดิบและผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ก็จะผลักภาระมายังผู้บริโภค
นายยงเกียรติ กิตะพาณิชย์ รองประธานกลุ่มอุตฯชิ้นส่วนและอะไล่ยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า
AD เหล็กรีดร้อนจะกระทบต่อต้นทุนอย่างมากเพราะจะทำให้ภาษีเพิ่มขึ้น อีก 36.25%
ซึ่งเหล็กหลายพิกัดไทย ผลิตไม่ได้ต้องนำเข้าทำให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนเพราะจะขอขึ้นราคากับผู้ผลิตยานยนต์ก็ลำบากอีกทั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากต่างประเทศก็ถูกกว่าในประเทศถือเป็นการซ้ำเติม
อุตสาหกรรมไทยซึ่งส่วนใหญ่เรามีผู้ผลิตขนาดกลางและย่อมมาก