Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2532
กว่าจะพ้นหุบเหวแห่งวิกฤต"บริติช แอร์เวย์ส"             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบิน บริติช แอร์เวย์ส

   
search resources

สายการบินบริติช แอร์เวย์ส
Aviation




"กว่าจะพ้นหุบเหวแห่งวิกฤต" เป็นคอลัมน์ใหม่ที่นำเสนอเรื่องราวสไตล์การบริหารการจัดการของบริษัทยุโรป ซึ่งประสบปัญหาจากการดำเนินธุรกิจด้วยสาเหตุหลากหลายตามประเภทอุตสาหกรรม แต่บริษัทเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาและพ้นจากวิกฤติการณ์ที่เผชิญอยู่ให้ลุล่วงด้วยดี และพลิกโฉมหน้าขึ้นมาเป็นกิจการชั้นแนวหน้าแห่งอุตสาหกรรมแขนงนั้น ๆ

เราแปลและเรียบเรียงยุทธวิธีของแต่ละบริษัทจากหนังสือ TURNAROUND : HOW TWENTY WELL-KNOWN COMPANIES CAME BACK FROM THE BRINK ที่ REBECCA NELSON และ DAVID CLUTTERBUCK เป็นบรรณาธิการโดยจะทยอยตีพิมพ์เป็นเรื่อง ๆ ไป ซึ่งจะประเดิมด้วยสายการบิน บริติช แอร์เวย์ส"…

บรรณาธิการ

จากผลประกอบการและความสำเร็จของบริติช แอร์เวย์สในรอบไม่กี่ปีมานี้ ทำให้นักเขียนไม่น้อยพร้อมใจกันพูดถึงความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมหน้าของเราว่า เป็นความ "มหัศจรรย์" ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะเป็นคำที่ให้ความหมายสุดวิเศษ แต่ถึงยังไงผมก็อยากจะคิดว่าความสำเร็จของเราสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วยหลักของเหตุและผลอยู่ดี

ในเมื่อธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ มักมีขั้นตอนจากการค่อย ๆ สร้างขึ้นมาอย่างระมัดระวัง ด้วยการผนึกความคิดและการทำงานอย่างหนักเข้าด้วยกัน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัญหาที่บริติช แอร์เวย์สต้องแบกรับในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ส่วนใหญ่เป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายการเมืองที่ผนวกสายการบินรัฐวิสาหกิจเข้าด้วยกันเมื่อต้นทศวรรษ 1970 คือ "บริติช ยูโรเปี้ยน แอร์เวย์ส" กับ "บริติช โอเวอร์ซีส์ แอร์เวย์ส" แม้จุดประสงค์ของการผนวกกิจการครั้งนั้นจะเลอเลิศเพียงใดก็ตาม แต่หาได้ส่งถึงผลในทางปฏิบัติไม่

องค์กรที่เกิดจากกิจการผนวกกันจะมีพนักงานมากเกินไป รวมทั้งปัญหาเสียขวัญกำลังใจเมื่อพนักงานต่างวัฒนธรรม องค์กรถูกบังคับให้มาร่วมงานกัน และมาตรฐานงานบริการลูกค้าก็ถดถอยลงเมื่อความสามารถที่ฝ่ายบริหารมีอยู่ถูกใช้ไปในการต่อสู้ฟาดฟันกับวิกฤติการณ์ภายใน โดยเฉพาะจากหลักฐานของฝ่ายบริหารเองก็ยืนยันว่า สัมพันธภาพในหมู่พนักงานนั้นเสื่อมทรามถึงขนาดเกิดข้อพิพาทระหว่างกัน 40 กรณีในคราวเดียวก็เคยมีปัญหาเหล่านั้น อาจแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ก็จริง แต่ประจวบกับต้นทศวรรษ 1970 นั้นเกิดภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมทั้งระบบประดับเข้ามาด้วย เราจึงเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างหนักจนเกือบจะไปไม่รอด

ปัญหาคลาสสิคอย่างหนึ่งของบริติช แอร์เวย์ส คือ อยู่ในสภาพจัดหาเงินทุนได้ไม่พอเพียงกับการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ แถมกำไรก็ยังไม่พอที่จะนำมาเป็นแหล่งเงินทุนของตัวเองเสียอีก ทำให้จำต้องกู้เงินมหาศาลเป็นค่าจัดซื้อเครื่องบินและอุปกรณ์ใหม่ที่จำเป็นต่อการคงสภาพแข่งขันได้ต่อไป กำไรก้อนโตที่ตามแทนที่จะนำไปลงทุนขยายธุรกิจก็ต้องไปจมอยู่กับดอกเบี้ยจากหนี้ที่ก่อไว้มหาศาล

ลอร์ดคิงจึงก้าวเข้ามามีบทบาทช่วงนี้เอง เขารับตำแหน่งประธานบริษัทในต้นปี 1981 พร้อมพันธะระยะยาวที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เตรียมงานแปรรูปรัฐวิสาหกิจบริติช แอร์เวย์ส แต่งานเร่งด่วนเฉพาะหน้าของลอร์ดคิงและทีมบริหารใหม่ที่เขาพาเข้ามาด้วยคือฉุดไม่ให้กิจการนี้ล้มละลาย

ในครั้งนั้นเขาใช้ยุทธวิธีแข็งกร้าว แต่เห็นผลทันตานับตั้งแต่ปลดพนักงานราว 23,000 คนหรือประมาณ 40% ของทั้งหมดยกเลิกเส้นทางบินที่ไม่ทำกำไรและโละทิ้งเครื่องบินที่หมดสภาพการใช้งาน รวมทั้งแทงบัญชีหนี้สูญอีกหลายร้อยล้านปอนด์จากการลดมูลค่าสินทรพัย์ในบัญชีลงตามความเป็นจริง และการจัดหาเงินชดเชยให้พนักงานที่ถูกยกเลิกสัญญาจ้างงาน

หลังจากนั้นไม่นานก็เห็นผลทันตาเหมือนหมอให้ยาแรงแล้วได้ผลชะงัดทำให้โรคทุเลาลงทันใจ เพราะทันทีที่หมดตัวถ่วง คือ พนักงานส่วนเกินและเส้นทางบินไม่ทำกำไร บริติช แอร์เวย์สก็สามารถกลับมาทำกำไรได้มากกว่าที่คนส่วนใหญ่จะเชื่อว่าเป็นไปได้ และแม้ว่าจะยังมีหนี้ก้อนมหึมาที่กู้มาลงทุน บริติช แอร์เวย์สก็เริ่มมีกำไรก้อนงามงอกเงยขึ้นมาและเริ่มสร้างความก้าวหน้าในอนาคตให้ตัวเอง

เพราะนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังเหลือหนทางอีกยาวไกลกว่าจะก้าวสู่ความสำเร็จ แม้จะพ้นจากภาวะวิกฤตทางการเงินระยะสั้นไปแล้ว บริติช แอร์เวย์สยังมีภาระหนักหน่วงรออยู่คือ ต้องหาหนทางสู่ความสำเร็จระยะยาวท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นทุกขณะให้ได้ ซึ่งการกำหนดเส้นทางที่ว่า และต้องทำตามให้ได้นั้นกลายเป็นงานหลักอย่างหนึ่งของผม ซึ่งเข้าไปร่วมงานกับบริติช แอร์เวย์สตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 1983

หลังจากเข้าไปศึกษางานในบริติช แอร์เวย์สได้ไม่นาน ผมก็ค้นพบแก่นแท้ของปัญหาว่า สายการบินแห่งนี้ลืมสนิทเลยว่า กิจการของตนเป็นอุตสาหกรรมบริการ !

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า บริติช แอร์เวย์ส ดำเนินงานผิดหลักการขั้นพื้นฐาน เพราะยังไงเสียก็ยังเป็นเจ้าของเส้นทางบินดีเลิศ เครื่องบินในครอบครองก็ยังได้รับการซ่อมบำรุงอย่างดี และปฏิบัติงานด้วยประสิทธิภาพเยี่ยม รวมทั้งมีพนักงานผู้เชี่ยวชาญและเสียสละอีกมากมาย จนมีคำกล่าวกันว่า ถ้ายกพนักงานเหล่านี้ไปวางลงตรงที่ปลอดภัยสักแห่งหนึ่ง พวกเขาก็จะสามารถสร้างความสำเร็จให้ได้เหมือนเดิม…จากทั้งหมดนี้ก็น่าทำให้บริติช แอร์เวย์ส เป็นสายการบินที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ

แต่องค์ประกอบทั้งหมดนี้ ยังไม่เพียงพอกับการสร้างความสำเร็จได้ ในเมื่อสภาพความจริงในตอนนั้น คือ ลูกค้าของบริติช แอร์เวย์ส ใช้บริการของเราเพราะความจำเป็น ไม่ใช่เพราะประทับใจ พวกเขาจึงไม่พลาดโอกาสที่จะเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังถึงข้อบกพร่องสารพัดอย่างที่ได้เจอในระหว่างบินจึงเกิดเสียงร่ำลือต่อ ๆ กันไปอย่างช่วยไม่ได้ ในส่วนของผู้โดยสารมีเสียงบ่นเรื่องการขาดความเอาใจใส่จนเครื่องบินสกปรกน่ารังเกียจ ขณะที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเบื่อหน่ายกับรถเข็นเสิร์ฟอาหารชำรุดและเตาอบหมดสภาพใช้อุ่นอาหารไม่ได้

ที่ย่ำแย่ที่สุดเห็นจะเป็นเสียงบ่นเกี่ยวกับสต๊าฟของเรา ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผมเชื่อมั่นว่า สต๊าฟส่วนใหญ่ต่าง ๆ ทำหน้าที่ให้บริการลูกค้ากันเต็มความสามารถเท่าที่จะทำได้อยู่แล้ว แต่เพราะผู้โดยสารของเรายังเป็นปุถุชน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักลืมเรื่องดีงามแล้วไปใส่ใจจำแต่ประสบการณ์เลวร้ายมากกว่า

จึงไม่น่าแปลกที่พนักงานมากมายโดยเฉพาะพวกต้องให้บริการลูกค้าจะเอือมระอา และหงุดหงิดใจ หลังจากถูกเบื้องบนจำจี้จำไช เรื่องทำงานให้ดีมาหลายปี และกลายเป็นความเย็นชาไม่สนใจจะทำตาม แต่ก็มีอีกหลายกรณีเหมือนกันที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องขึ้นปฏิบัติหน้าที่ตามปกติแล้วพบว่า เตาอบชำรุดที่พวกเธอแจ้งซ่อมไปเมื่อ 3 อาทิตย์ก่อนยังไม่ได้รับการเหลียวแลและอยู่ในสภาพใช้การไม่ได้เหมือนเดิม !

ในธุรกิจบริการใด ๆ ก็ตาม ต้องไม่ลืมงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ซึ่งผมอยากจะเรียกว่า งานหมั่น "เช็ดถู" สินค้าใหม่เอี่ยมอ่องทุกวันและทั้งวัน มันเป็นงานที่ต้องการความเอาใจใส่ในรายละเอียดอย่างมาก ซึ่งหมายถึงเวลาที่ฝ่ายบริหารต้องทุ่มเทให้ด้วย และเป็นงานที่จำเป็นต้องสร้างความรู้สึกหนักแน่นว่าสำคัญที่สุด ต้องทุ่มงบค่าใช้จ่ายให้ก่อนเป็นอันดับแรก

ตามปกติแล้ว เป็นเรื่องธรรมดามาก แต่ก็อันตรายมหันต์เหมือนกันที่ฝ่ายบริหารโดยเฉพาะของบริษัทที่กำลังประสบปัญหาเงินสดหมุนเวียนอย่างหนักจะบอกกับตัวเองว่า คงประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีก ถ้าลดมาตรฐานบริการลงสักหน่อย ไม่ว่าจะเรื่องความสะอาดในห้องผู้โดยสาร หรือคุณภาพงานบริการบนเครื่อง หรือแม้แต่การเปลี่ยนเครื่องแบบพนักงาน

เพราะรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ พวกนี้ผู้โดยสารไม่ทันสังเกตเห็นแน่ และคงจะจริงสำหรับการบินครั้งแรก แต่พอครั้งที่สองหรือสามหรือสี่ก็หนีไม่พ้นว่า พวกเขาต้องเห็นข้อบกพร่องพวกนี้จนได้ กว่าฝ่ายบริหารจะรู้ตัวว่าได้ทำลายชื่อเสียงที่สั่งสมมาหลายทศวรรษภายในไม่กี่อาทิตย์หรือไม่กี่เดือนเท่านั้นก็สายเกินไปเสียแล้ว

เมื่อเราเริ่มลงไปขุดคุ้ยหาข้อบกพร่องมากขึ้นก็ยิ่งเจอปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดการโดยตรงเราจึงแก้ปัญหากันที่ต้นตอด้วยการให้ผู้จัดการระดับอาวุโสออกไปลงมือแก้ไขด้วยตัวเอง

กับการแก้ปัญหาในสายการบิน เราจะหลีกเลี่ยงการทำตามขั้นตอนแบบที่ทำกันทั่วไป คือ ส่งผ่านคำสั่งจาก เอ.สู่บี.สู่ซี. วิธีการใหม่ที่เรานำมาใช้ คือ อัดฉีดพันธะหน้าที่ไปที่ความรับผิดชอบเฉพาะบุคคล ซึ่งยังมีอีกมากแผนกที่ขาดสิ่งเหล่านี้มานานแล้ว

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เราจะมอบหมายให้ผู้จัดการคนหนึ่งรับผิดชอบดูแลความสะอาดบนเครื่องบินโดยเฉพาะ พร้อมกับให้อำนาจเขาลดขั้นตอนของสายงานตามที่เห็นสมควร เพื่อให้งานลุล่วงโดยราบรื่น และทันทีที่ฝ่ายบริหารระดับอาวุโสรู้ว่า เราคาดหวังอะไรจากพวกเขา และเข้าใจว่า เราต้องการความเป็นเลิศในผลงาน ความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดก็เริ่มเกิดขึ้น

พนักงานชั้นผู้น้อยของสนามบิน ซึ่งร้อยวันพันปีแทบไม่เคยเห็นหน้าผู้บริหารระดับเหนือกว่าซูเปอร์ไวเซอร์ ก็เริ่มชินตากับภาพผู้จัดการอาวุโสกุลีกุจอไต่บันไดเครื่องบินขึ้นไปตรวจงานตั้งแต่ 6 ดมงเช้าให้แน่ใจว่า ห้องผู้โดยสารสะอาดเอี่ยมทุกจุดตลอดไปจนถึงห้องครัว ให้แน่ใจว่าทุกอย่างอยู่ในสภาพพร้อมก่อนจะเริ่มงานบริการของวันใหม่ต่อไป

พอเงินสดหมุนเวียนในบริษัทคล่องตัวขึ้น เราเริ่มทุ่มงบก้อนใหญ่ให้กับการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานทุกอย่างที่ถูกละเลยมาหลายปี ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้ผู้โดยสาร พรม อุปกรณ์บริการ รถบริการ ฯลฯ

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดนี้ หาได้รอดพ้นสายตาผู้โดยสารไม่ พวกเขาประจักษ์กับตาตัวเองเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีว่า เราตอบแทนพวกเขาด้วยอภินันทนาการแห่งการดูแลเอาใจใส่ว่า พวกเขาพอใจกับการเดินทางหรือไม่รวมทั้งแสดงออกว่า เรายินดีต้อนรับการกลับมาใช้บริการของเราอีก

บริการเส้นทางบินในประเทศ "ซูเปอร์ ซัทเทิ่ล" ที่ผมจะพูดถึงนี้ จะเป็นตัวอย่างฉบับย่อให้เห็นถึงความพยายามทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทุ่มเทลงไปเพื่อเอาชนะใจลูกค้าให้ได้

ถ้าพูดถึงในแง่เทคนิคแล้ว ถือว่าบริการเส้นทางบินระยะสั้นในประเทศที่เรามีอยู่แล้ว คือ "ซัทเทิ่ล" ซึ่งบินสู่ที่หมายสำคัญอย่างกลาสโกว์ เอดินเบรอะ เบลฟาสท์ และแมนเชสเตอร์นั้นประสบความสำเร็จสูงมาก เพราะให้บริการสะดวกสบายแก่นักธุรกิจได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ แต่ยังขาดอยู่อย่างเดียว คือ การเอาใจใส่ผู้โดยสารแบบรายตัว

ปกติแล้ว สายการบินจะไม่มีบริการบนเครื่องสำหรับบินในประเทศ เพราะต้องการความเรียบง่ายและลดต้นทุนให้ต่ำ ซึ่งทางบัญชีแล้ว เป็นวิธีเยี่ยมก็จริง แต่คงไม่ประทับใจแน่สำหรับผู้โดยสารนักธุรกิจที่ต้องเริ่มวันใหม่ของการบินสู่สก็อตแลนด์ตั้งแต่ 7 โมงเช้า โดยไม่มีอะไรตกถึงท้อง ไม่มีแม้แต่กาแฟสักถ้วยด้วยซ้ำ

แต่วิธีนี้ใช้ได้ตราบเท่าที่เรายังไม่มีคู่แข่งเท่านั้น เมื่อไรที่มีคู่แข่งเสนอบริการบินพร้อมอาหารเช้าร้อน ๆ ละก็ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ผู้โดยสารผู้หิวโหยของเราจะไม่ตามใจกระเพาะของตัวเอง…เราจึงเสียส่วนแบ่งตลาดไปเกือบ 30% ในเวลาอันสั้นเท่านั้น และต้องเสียมากกว่าแน่ ถ้ายังไม่หายุทธวิธีโต้กลับ… "ซัทเทิ่ล" ทั้งระบบกำลังสั่นคลอนอย่างหนัก

หลังจากวิจัยผู้บริโภคแล้ว เราจึงได้ข้อสรุปว่า ตัวปัญหาอยู่ที่อาหารเช้านั่นเอง เพราะผู้โดยสารส่วนใหญ่ยังยืนยันว่า หากให้เลือกบินในประเทศเที่ยวบินไหนก็ตามยกเว้นเที่ยวบินเช้าตรู ซึ่ง "ซัทเทิ่ล" ไม่มีอาหารเช้าไว้บริการบนเครื่อง พวกเขาก็จะเลือกบริการของ "ซัทเทิ่ล" มากกว่าของคู่แข่ง

เมื่อทุกอย่างกระจ่างหมดแล้ว เราก็ยกเลิกวิธีแบบเก่าแล้วเริ่มให้บริการอาหารเช้าร้อน ๆ แก่ผู้โดยสารเที่ยวบินเช้าตรู่ทั้งหมดจนอิ่ม ยกเว้นเฉพาะเที่ยวบินระยะสั้นสู่แมนเชสเตอร์ ซึ่งจะบริการอาหารเช้าที่ภาคพื้นดินแทน นอกจากนี้ ผู้โดยสารยังมีโอกาสเลือกหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าอ่านอีกต่างหาก ซึ่งลูกค้าก็ตอบสนองบริการใหม่นี้เร็วทันตาเห็นเหมือนกัน ทำให้เราช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมาได้อีกมาก และแนวทางบริการเที่ยวบินระยะสั้นในประเทศ "ซูเปอร์ซัทเทิ่ล" ก็พุ่งทะยานแบบไม่เหลียวหลัง

จากคำพูดของจอมทัพฝรั่งเศสว่า เมื่ออยู่ในสมรภูมิรบ ขวัญกำลังใจย่อมอยู่เหนือองค์ประกอบทางวัตถุถึง 3 ต่อ 1 ทำให้คิดว่า ถ้านโปเลียนได้มาคุมอุตสาหกรรมบริการละก็ เขาต้องเป็นนักบริหารมือเซียนแน่ เมื่อเราได้ประจักษ์ชัดว่า ผลพวงทางวัตถุทุกอย่างที่ดีขึ้นตามฐานะการเงินซึ่งกระเตื้องขึ้นเรื่อย ๆ แทบจะเปล่าประโยชน์ไปทันที หากพนักงานส่วนใหญ่ของเรายังไม่เปลี่ยนทัศนคติโดยสิ้นเชิง

และเครื่องบินที่ได้รับการตกแต่งใหม่เสียสวยหรูก็แทบหมดความหมาย ถ้าพนักงานต้อนรับยังบริการผู้โดยสารด้วยความหยาบกระด้าง และไม่มีขวัญกำลังใจ แล้วทำไมเราจึงต้องหวังว่า ลูกค้าจะเชื่อว่า บริติช แอร์เวย์ส ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นแล้ว ถ้าคนของบริติช แอร์เวย์ส เองยังไม่เชื่อตัวเอง ?

นอกจากนี้ เรายังมีปัญหาช่องว่างที่ต้องเชื่อมต่อให้สนิท ไม่เฉพาะระหว่างพนักงานกับฝ่ายบริหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพนักงานต่างแผนก ซึ่งมักมีภูมิหลังและประสบการณ์แตกต่างกันสิ้นเชิง

เราจึงเชิญพนักงานทุกระดับชั้นผู้มีหน้าที่ต้องพบปะให้บริการลูกค้าราว 1 ใน 3 ของทั้งบริษัทเข้าร่วมสัมมนา "PUTTING PEOPLE FIRST" ซึ่งตลอด 2 วันที่ร่วมสัมมนาเราพยายามชี้ให้เห็นว่า เมื่อพวกเขามีทัศนคติต่อลูกค้าและต่อเพื่อนร่วมงานอย่างไร มันก็จะสะท้อนกลับให้ลูกค้ามองพวกเขาอย่างนั้นด้วย มันเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่เข้าใจได้ไม่ยาก และมีเหตุมีผล ผลสุดท้ายทุกอย่างก็เป็นไปตามความคาดหมาย เมื่อความเคลือบแคลงใจในหมู่พนักงานนับพันคนที่เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนั้นมลายหายไปกลายเป็นความกระตือรือร้นแทน

การสัมมนา PUTTING PEOPLE FIRST ครั้งแรกสิ้นสุดลงพร้อมผลพลอยได้ที่หาได้ไม่ง่ายนัก เมื่อพนักงานที่ไม่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเพราะงานในหน้าที่ไม่ได้สัมผัสลูกค้าโดยตรงเริ่มบ่นเรื่องถูกทอดทิ้ง !

ปัญหานี้แก้ได้ง่ายมากด้วยการจัดสัมมนาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานของพวกเขาให้ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนนี้ แต่การสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานสำคัญกว่ามาก… จากจุดนี้เองที่ทำให้เราริเริ่มโครงการฝึกอบรมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

บางคนอาจเห็นว่า แนวความคิดเรื่องพนักงานในองค์กรใหญ่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมนั้น เป็นเรื่องทึกทักกันขึ้นมาเอง แต่เพราะองค์กรใหญ่อย่างเรายังมีความซับซ้อนสูง และจ้างผู้เชี่ยวชาญหลากหลายมากมายอีกต่างหากด้วยแล้ว เรื่องทำงานเป็นทีมเลยยิ่งกลายเป็นเรื่องพูดง่ายทำยากหนักเข้าไปอีก

เราพบว่า ยังมีพนักงานอีกมาก โดยเฉพาะสต๊าฟวัยหนุ่มสาวที่ไม่เคยรู้เรื่องว่า แผนกอื่นเขาทำอะไรกันบ้าง หรืองานของพวกเขาสำคัญแค่ไหน และบ่อยครั้งที่พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่า งานของตัวเองจะมีผลในท้ายที่สุดยังไง

เราจึงจัดโปรแกรมง่าย ๆ เรียกว่า A DAY IN THE LIFE ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานกลุ่มต่างๆ มารวมตัวกันแล้วใช้เวลาหนึ่งวันเต็ม ๆ กับการชมงานนิทรรศการที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและความบันเทิงโดยพนักงานแผนกอื่นเป็นผู้จัดขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญประจำแผนกคอยอธิบายวิธีทำงานของพวกเขารวมทั้งการสาธิตจริง และชี้แจงให้ฟังว่า ทำไมพวกเขาจึงมีความสำคัญต่อสายการบินนี้

ปรากฏว่า เราประสบความสำเร็จน่าพอใจยิ่งถึงขนาดเมื่อบริติช แอร์เวย์ส ขายหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ในเดือนกุมภาพันธ์ 1987 เราก็ใช้วิธีจัดนิทรรศการแบบนี้สาธิต และเล่าเรื่องราวของบริติช แอร์เวย์ส ให้ผู้เชี่ยวชาญการเงินแถบ "ซิตี้" หรือศูนย์กลางการเงินของอังกฤษ ได้รับรู้แล้ว พวกเขาก็ยอมรับว่า เป็นวิธีเปิดตัวบริษัทที่น่าสนใจที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา

การปลุกเร้าพนักงานจะต้องทำควบคู่ไปกับการวางแผนพัฒนาความก้าวหน้าขั้นต่อไป ซึ่งเราจะเปลี่ยนโฉมหน้าสายการบินนี้ให้ผิดแผกจากอดีตที่เป็นมาโดยสิ้นเชิง เริ่มขั้นแรกที่การปรับปรุงรูปโฉมภายนอกของเครื่องบินใหม่ โดยให้ "แลนเดอร์ แอสโซซิเอทส์" ผู้เชี่ยวชาญกิจการด้านนี้โดยเฉพาะออกแบบให้ และทำให้เราได้สีสัญลักษณ์ของบริษัทใหม่ด้วย คือ แดง น้ำเงิน และสีเงิน

จากนั้น เราก็นำผลงานออกแบบใหม่นี้ไปแสดงให้พนักงานดูก่อน เมื่อได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นก็ทำให้เราเชื่อมั่นว่า สาธารณชนทั่วไปต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้แน่

เรายังเปลี่ยนแปลงด้านที่เกี่ยวกับงานออกแบบอีกหลายอย่างในเวลาเดียวกัน รวมทั้งเครื่องแบบพนักงานต้อนรับบนเครื่องและพนักงานทั่วไป ตกแต่งร้านค้าปลอดภาษี และห้องพักรับรองในสนามบินทั่วโลกใหม่หมด

การเปลี่ยนแปลงสำหรับองค์กรใหญ่ขนาดนี้จำเป็นต้องใช้เวลาและยุ่งยากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อเราต้องทาสีเครื่องบินให้ใหม่ 150 เครื่อง เปลี่ยนเครื่องแบบให้พนักงานกว่า 28,000 คน ซึ่งเฉพาะส่วนนี้ต้องใช้งบถึงเกือบ 1 ใน 3 ของเงินเดือนทั้งหมดทีเดียว นอกจากนี้ ยังตกแต่งห้องพักรับรอง "เอ็กเซ็คคิวทีฟเลานจ์" เสียใหม่ รวมทั้งร้านค้าปลอดภาษีอีกเกือบ 20 แห่งด้วย

กว่างานทาสีเครื่องบินและเปลี่ยนเครื่องแบบพนักงานจะเสร็จสิ้นลงทั้งหมดก็ล่วงถึงฤดูร้อนของปี 1987 ขณะที่งานตกแต่งห้องพักรับรอง "เอ็กเซ็คคิวทีฟ คลับ" อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ยิ่งในส่วนของร้านค้าปลอดภาษีแล้ว แม้ว่างานปรับปรุงภายนอกจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ยังเหลืองานตกแต่งภายในที่ต้องการเวลามากกว่า

ในสภาพบริษัทที่มีฐานะล่อแหลมอย่างนี้ เป็นเรื่องยากเอาการถ้าจะให้ระบุลงไปว่าจุดไหนเป็นจุดสิ้นสุดของกระบวนการกู้ฐานะแล้วแทนที่ด้วยการจัดการตามปกติประจำวัน อย่างกรณีของเราจะไม่มีวันหยุดกระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเด็ดขาด โดยเฉพาะในภาวะต้องเผชิญกับการแข่งขันเข้มข้นอย่างนี้เราจะนิ่งนอนใจไม่ได้เลย

สายการบินไหนชะล่าใจว่า "เราเป็นเจ้าของระบบสำรองที่นั่งเยี่ยมที่สุดในโลก ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงอะไรอีกแล้ว" ก็ขอให้รู้ว่ากำลังกระโจนสู่ห้วงแห่งความขัดแย้งอย่างหนัก เพราะคู่แข่งไม่ละเว้นที่จะวางแผนฉกฉวยผลประโยชน์จากความชะล่าใจนี้ หนทางเดียวที่จะก้าวนำหน้าตลอดไป คือ หมั่นปรับปรุงบริการและยกระดับมาตรฐานของเราให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

นี่เป็นเหตุผลที่เราทุ่ม 60 ล้านปอนด์เป็นค่าติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งภายในเครื่องโบอิ้ง 747 ทั้งหมดโดยเฉพาะ เพื่อให้ทุกเครื่องมีมาตรฐานเทียบเท่าสายการบินคู่แข่ง ซึ่งได้ชื่อว่าดีที่สุด และอีก 25 ล้านปอนด์สำหรับแนะนำชั้นนักธุรกิจใหม่ คือ "คลับยุโรป" และ "คลับเวิร์ลด์" ที่มุ่งเอาใจนักธุรกิจผู้เป็นลูกค้าสำคัญในเส้นทางบินยุโรปและทั่วโลกของเรา

หนึ่งในเป้าหมายหลักของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดหลายปีที่ผ่านมา คือ เราต้องการให้ บริติฃ แอร์เวย์ส มีฐานะที่ผมอยากจะเรียกว่า "ฝ่ามรสุมการเงิน" ที่เกิดขึ้นได้ ย้อนหลังไปเมื่อทศวรรษ 1970 สายการบินของเราอยู่ในสภาพการเงินคล่องตัวอยู่รอดไปได้ตลอดรอดฝั่งตราบเท่าที่คลื่นลมยังสงบเท่านั้นเมื่อไรที่มรสุมเศรษฐกิจก่อตัวขึ้น กำไรจะหดหายลงอย่างรวดเร็วและกิจการทรุดดิ่งจมปลักอยู่กับต้นทุนค่าใช้จ่ายของตัวเอง ซึ่งต้นทุนที่ว่านี้ไม่เพียงแต่จะสูงลิ่วจนเกินเหตุ แต่เรายังไม่มีเครื่องมือใด ๆ มาช่วยฉุดกิจการให้รับมือกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงเสียอีก ทำให้เราต้องแก้ไขให้มั่นใจว่าสถานการณ์อย่างนั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นอีก

แล้วเราก็ได้ทดสอบตัวเองเมื่อต้นฤดูร้อนของปี 1986 นั่นเอง เมื่อปีที่ตั้งท่าจะไปได้สวยกลับพลิกโฉมสู่ความหายนะ อย่างรวดเร็วจากผลกระทบของปัญหาลัทธิก่อการร้ายระหว่างประเทศ และอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ "เชอร์โนบิล" ในโซเวียตระเบิด ทำให้ธุรกิจบินเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของเราซบเซาลงทันที

แต่เพราะประสบความสำเร็จอย่างสูงในนโยบายการตลาดที่มีทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และก้าวร้าวทำให้เราสามารถควบคุมสถานการณ์ และฝ่าคลื่นลมมรสุมได้ดีกว่าคู่แข่งส่วนใหญ่มาก จนแม้เมื่อสิ้นสุดปี 1986 แล้วเราก็ยังมีกำไรเป็นที่น่าพอใจ แต่ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ในธุรกิจที่เราดำเนินอยู่นี้ต้องเสี่ยงต่อความผันผวนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่พลิกผันเพียงชั่วข้ามคืนได้ง่ายแค่ไหน

หัวใจหลักของการอยู่รอดในสถานการณ์อย่างนี้ คือ ความยืดหยุ่น ซึ่งเราจะเล่าเรื่องการใช้ความยืดหยุ่นเข้าแก้ปัญหาจนประสบความสำเร็จสัก 2 ตัวอย่าง…

เราเป็นผู้ริเริ่มหลักการเช่าซื้อเครื่องบิน คือ เครื่องบินที่อยู่ในระหว่างการใช้งานหรือสั่งซื้อของเรามีกลุ่มบริษัทการเงินเป็นเจ้าของแล้ว เราเป็นผู้เช่าซื้อด้วยเงื่อนไขสัญญาที่อนุญาตให้เรามีอิสระในการขอต่ออายุสัญญาหรือขอยกเลิกได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อน หมายความว่า เราจะได้เครื่องบินเครื่องใหม่มาด้วยวิธีที่สามารถทำให้เราปรับฝูงบินที่มีอยู่ให้เหมาะกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปแบบล่วงหน้าเล็กน้อย ดีกว่าที่จะต้องผูกมัดตัวเองอยู่กับการตัดสินใจใช้เงินในการลงทุนระยะยาว

ความยืดหยุ่นเกี่ยวกับจำนวนพนักงานก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และเราได้ชื่อว่า เป็นผู้ริเริ่มในด้านนี้อีกเช่นกัน คือ ปัจจุบัน เรามีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทำงานในสังกัดแบบเต็มเวลาเป็นแกนหลักตลอดทั้งปี และเรามีพนักงานต้อนรับบนเครื่องอีกส่วนหนึ่งเป็น "หน่วยเสริม" พวกนี้ได้รับการฝึกอบรมด้วยมาตรฐานเท่าเทียมกับพวกทำงานเต็มเวลา แต่เราจะเรียกตัวพวกเขามาร่วมงานตามความจำเป็นของเส้นทางบินต่าง ๆ ในแต่ละฤดูกาลของปีแทนการจ้างงานแบบเต็มเวลา

ผลดีของการใช้หลักความยืดหยุ่นใน 2 กรณีข้างต้นนั้นมีเท่าเทียมกันในแง่ทำให้เราสามารถเพิ่มจำนวนของเครื่องบินตามปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น และลดจำนวนได้ค่อนข้างรวดเร็วและถูกถ้าความต้องการเริ่มเปลี่ยนไปอีก

และนับจากนี้ ต่อไปนี้คือลักษณะของแนวคิดที่ต้องชี้นำการตัดสินใจทุกอย่างของเรา รวมทั้งความพยายามที่เราทุ่มเทให้ก็ถูกนำไปสร้างรากฐานการจัดการที่สามารถล่วงรู้ถึงปัญหาในห้วงวิกฤติเหล่านั้นได้

ผมขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่มีความ "มหัศจรรย์" ใด ๆ ทั้งสิ้นสำหรับความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมหน้าของเราในรอบหลายปีมานี้ เราเพียงแต่นำหลักการจัดการขั้นพื้นฐาน คุณภาพแห่งความคิดที่แจ่มชัด สามัญสำนึก และความเป็นผู้นำมาสู่การปฏิบัติจริง ๆ แล้วใช้มโนภาพของสิ่งที่เราต้องการให้ประสบความสำเร็จซึ่งปรากฏชัดในจิตใจของเราเป็นเครื่องนำทาง

ถ้าบริษัทไหนสามารถนำความเชี่ยวชาญในการกู้สถานการณ์มาผสมผสานกับการทำงานอย่างหนักแล้ว…นั่นแหละคือการให้คำจำกัดความของ "ความสำเร็จ" ได้ดีที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us