Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 เมษายน 2551
ไตรมาสแรกยอดขายมาม่ายังนิ่ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์

   
search resources

ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์, บมจ.
พิพัฒ พะเนียงเวทย์
Instant Food and Noodle




มาม่า รับอานิสงส์ค่าครองชีพพุ่ง ราคาอาหารแพงหูฉี่ คนชั้นกลางแห่กินบะหมี่คัพ อาหารทางเลือกราคาประหยัด 13 บาท ถูกกว่าข้าวกระเพรา - ก๋วยเตี๋ยว 17 บาท ยิ้มรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถ้วยโตพรวด 30% ระบุกำลังการซื้อผู้บริโภคไตรมาสสองเริ่มฟื้น หลังรัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ้นปีนี้โกยรายได้ 10% ตามเป้า

นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า เปิดเผยว่า หลังจากที่ประเทศไทยมีรัฐบาลชุดใหม่มาบริหารประเทศภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และผ่านพ้นการบริหารงานไปในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า กำลังการซื้อโดยรวมของผู้บริโภคไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก โดยยังคงมีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยเหมือนเดิม

นายพิพัฒกล่าวว่า สังเกตุได้จากยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ กลับไม่มีอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคได้ซื้อเพื่อกักตุนสินค้าไปในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว หลังจากที่มาม่าได้ทำการปรับราคาขึ้นจากเดิม 5 บาท เป็น 6 บาท ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ปีที่ผ่านมา จึงมีอัตราการเติบโต 26%

สำหรับแนวโน้มกำลังซื้อในช่วงไตรมาสที่สอง คาดว่าน่าจะกลับมาดีขึ้น แม้ว่าขณะนี้ค่าครองชีพของผู้บริโภคคนไทย ไม่ว่าจะเป็น ราคาสินค้า ข้าว น้ำมันพืช น้ำมัน ค่าเดินทางพาหนะ ฯลฯ จะปรับเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มฟื้นขึ้นตามลำดับ โดยข้อมูลจากหอการค้าไทย ระบุว่าความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นติดต่อ 5 เดือน ทั้งนี้เป็นเพราะนโยบายรัฐบาลชุดใหม่มีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ อย่างไรก็ตามหากไม่มีปัจจัยลบการเมืองประเทศไทยขาดเสถียรภาพ หรือนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ผล คาดว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคจะกลับมาดีขึ้น

ปีนี้โอกาสที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าจะมีอัตราการเติบโตมีสูง เนื่องจากได้รับอานิสงส์ผลพวงจากค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้น อาทิ ค่าอาหารก๋วยเตี๋ยว ข้าวกระเพรา จาก 25 บาท เป็น 30 บาทต่อมื้อ ทำให้มีผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะชนชั้นกลางซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ หันมากินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบรรจุภัณฑ์ถ้วยหรือคัพขนาด 60 กรัม ราคา 13 บาท เป็นจำนวนมาก เพราะมีราคาถูกกว่าค่าอาหารปกติ 17 บาท ส่งผลให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดถ้วยมีอัตราการเติบโต 30% จึงคาดว่าผลประกอบการปีนี้ของบริษัทฯที่ตั้งเป้ามีอัตราการเติบโตยอดขาย 10% น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัทฯมีอัตราการเติบโต 10% เกินเป้าหมายของบริษัทฯที่ตั้งไว้

อย่างไรก็ตามในส่วนของต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น นายพิพัฒกล่าวว่า หากปีนี้น้ำมันดิบปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็น 120 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันปาล์มปรับราคาเพิ่มขึ้นจาก 40 บาท เป็น 45-50 บาท ในปีหน้านี้บริษัทฯอาจจะมีแผนปรับราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าอีกครั้ง ถือว่าเป็นการปรับราคาติดต่อกัน 2 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2551 และปี 2552 แต่หากราคาน้ำมันปาล์มไม่มีการปรับขึ้น บริษัทฯก็ยังคงราคาเดิมไว้ คือ 6 บาท

สำหรับปัจจุบันบะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า มีส่วนแบ่งตลาด 52.4% และตั้งเป้าสิ้นปีจะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 55% ตอกย้ำผู้นำตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่วนไวไว เป็นอันดับสองของตลาด มีส่วนแบ่ง 25.8% และยำยำ 19.7% อื่นๆ อีก 2% จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 10,500 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us