Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2532
"การเลียนแบบเป็นเรื่องของการแสวงหาประโยชน์ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า จะล้าหลังหรือไม่…"             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคลผศ.ธัชชัย ศุภผลศิริ

   
search resources

ธัชชัย ศุภผลศิริ
Law




ในปัจจุบันมีกระแสข่าวเรื่องการฟ้องร้องและละเมิดสิทธิ์เครื่องหมายการค้าอยู่เป็นระยะ จนมีเสียงพูดกันว่า พระราชบัญัติเครื่องหมายการค้ามีความล้าหลังและมีช่องโหว่ให้บริษัทคู่แข่งเลียนแบบเครื่องหมายการค้า จนเกิดปัญหาการฟ้องร้องตามมานั้น

ในความเห็นของผมที่สอนวิชาเครื่องหมายการค้าและศึกษามา ผมไม่รู้สึกว่ามันล้าหลัง ในแง่ที่ว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ทุกวันนี้มันใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ผมพิสูจน์มาแล้วอย่างนั้น เราไม่ได้พูดว่ามันล้าหลังในแง่ที่มันไม่เหมือนเมืองนอก คือ มันต้องเขียนตามบริบทของสังคมไทย มันเป็นอย่างนี้มันก็เหมาะอยู่อย่างนี้ มันมีความแตกต่างอยู่บ้างซึ่งผมจะยกให้ดู แต่เท่าที่มันมีอยู่ทุกวันนี้ มันไม่ล้าหลังเพราะเรารับรองผลประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายได้เลย คือ ในแง่ความเป็นธรรม เราทำได้ ในแง่คุ้มครองสิทธิ์เจ้าของเครื่องหมายการค้า เราก็ได้พิสูจน์มาแล้วว่าทำได้จริง เจ้าของเครื่องหมายการค้าเขาพอใจ ในแง่คุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภคว่า ทำให้ประชาชนทั่วไปสับสนหลงผิดไหม ผมว่าเราก็รับรองได้

แม้ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้จะมีมาตั้งแต่ 2474 และมีการแก้ไขบ้างเล็กน้อยประมาณ 2 ครั้งเท่านั้นเอง คือ พ.ร.บ.ฉบับนี้มันมาจากกฎหมายอังกฤษ ลอกกันมาเลยส่วนใหญ่ แล้วมันก็ไม่ล้าสมัย เหตุที่มันไม่ล้าสมัยเพราะมันไม่ได้ห้ามโน่นห้ามนี่ เช่น มีคนบอกว่าล้าสมัยเพราะมันไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการ LICENSE เครื่องหมายการค้า หรือเรียกว่า อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แต่เราจะเห็นได้ว่า ถึงแม้กฎหมายจะไม่พูดถึงเราก็ทำกันอยู่แล้ว ซึ่งมันทำได้กฎหมายไม่ได้ห้าม เพราะฉะนั้นในจุดนั้น มันไม่มีความล้าหลัง และมันก็ไม่มีปัญหาอะไร เขาก็ว่ากันไปตามสัญญาทั่วไป ที่กฎหมายเราก็มีหลักเกณฑ์อยู่แล้ว

นอกจากนั้น พัฒนาการของมันที่เห็นในระยะหลัง บางทีบางมาตราเขาไม่เคยหยิบยกขึ้นมาใช้ แต่ว่ามันใช้ได้ และใช้ได้ผลดีด้วย เดิมทีถ้ามองผิวเผิน บางคนอาจจะมีความรู้สึกว่า ตรงนั้นกฎหมายก็ไม่บัญญัติไว้ ตรงนี้กฎหมายก็ไม่บัญญัติไว้แต่โดยอาศัยเทคนิคทางกฎหมาย การตีความทางกฎหมายมันใช้ได้

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ เรื่องหนึ่งเครื่องหมายการค้าไซโก้ นาฬิกาที่เราใส่นี่ ก็มีบริษัทญี่ปุ่นมาจด "ไซโก้" ไว้ พอตอนหลังก็มีคนเอาเครื่องหมายการค้าไซโก้ไปจดทะเบียนเหมือนกัน แต่กับสินค้าอีกประเภทหนึ่ง คือ จำพวกหนึ่งเลยนายทะเบียนก็ไม่ยอมให้จด เดิมทีนายทะเบียนอาจจะยอมให้จดเพราะมันคนละจำพวกกัน เพราะตามกฎหมายเขาบอกว่าใครจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกไหนก็คุ้มครองเฉพาะจำพวกนั้น ในเมื่อไซโก้จดไว้สำหรับประเภทเครื่องบอกเวลาก็คุมไม่ถึงจำพวกอื่น คู่แข่งก็อาจจะไปจดกับอีกจำพวกหนึ่งใช้คำว่าไซโก้เหมือนกันหรือเซโก้ทำนองนี้ มันอาจจะต่างกันตรงกรอบวงกลมเหลี่ยมบ้าง นายทะเบียนเขาก็ให้จด กฎหมายไม่ห้าม แต่พอต่อ ๆ มา พอชั้นอุทธรณ์ถึงคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เขาก็ไปหยิบกฎหมายมาตราอันหนึ่งมาใช้ซึ่งมันแก้ปัญหาได้ดีมากเลย กล่าวคือว่า กฎหมายบอกว่า ถ้าหากว่ามีผู้มาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คือเอาของคนอื่นเขามาใช้โดยไม่มีใบมอบอำนาจ ห้ามไม่ให้จดกฎหมายเขียนไว้อย่างนี้ ซึ่งก็เดิมที่มุ่งหมายเฉพาะกรณีที่ตัวแทนมาจด อย่างเช่น ที่สำนักงานกฎหมายมาจดก็มีใบมอบอำนาจมา คณะกรรมการก็เลยเอากฎหมายนี้มาใช้ว่าเครื่องหมายไซโก้นี่มันเห็นอยู่ชัด ๆ มันเขียนเหมือนกับมันเป็นของบริษัทนั้นซึ่งเขาจดไว้แล้ว เพราะฉะนั้น รายหลังจะมาจดในจำพวกอื่นก็ต้องมีใบมอบอำนาจจากเจ้าของเดิมซึ่งเขาเคยจดไว้แล้ว และคนทั่วไปก็รู้จักดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผู้ที่มาขอจดใหม่ที่ไม่มีใบมอบอำนาจที่ว่านี้ก็จดไม่ได้

ผลก็คือว่า ประการที่หนึ่ง คุ้มครองเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมไหม ตอบว่าคุ้มครอง เพราะบางทีสินค้ามันจดคนละจำพวกก็จริง แต่มันใกล้เคียงกันพอที่ผู้คนอาจจะเข้าใจว่าเป็นผู้ผลิตรายเดียวกันจนเกิดสับสนหลงผิดได้ มันก็ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย คือ ทางเจ้าของเอง ผู้บริโภค เพราะฉะนั้น ตรงนี้ผมจึงมักจะปกป้อง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าได้เสมอว่า ถ้าอ่านเผิน ๆ คุณอาจจะเห็นว่ามันไม่ได้คุมจุดนั้นจุดนี้ แต่ถ้าหากใช้กฎหมายให้เป็นแล้ว มันก็มีกฎหมายบางมาตราที่ให้ความเป็นธรรมได้ เพราะกฎหมายมันจะเขียนเข้มงวดทุกตัวอักษรไม่ได้ มันต้องมีการปรับตามยุคตามสมัย ไอ้ตรงนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งที่ผู้ใช้กฎหมายรู้จักหยิบกฎหมายมาใช้และมันได้ผลที่ดีด้วย หนึ่งมันเป็นธรรม สองมันก็กระตุ้นทางด้านการค้าให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

ส่วนที่ว่าขาดบทลงโทษนั้น มันเป็นอย่างนี้ คือ อาจจะเป็นความเข้าใจผิดสักนิดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าไม่ได้ลงโทษก็จริง เพราะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้ามีกฎหมายที่มีสภาพเป็นกฎหมายอาญาเพียงมาตราเดียว คือ เอาผิดกับคนที่ไปแอบอ้างว่า เครื่องหมายการค้านั้นจดทะเบียนทั้ง ๆ ที่ยังไม่จดทะเบียนและก็มีบทลงโทษ แต่นั่นไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย สิ่งที่มันเกิดขึ้นบ่อย คือ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การปลอมเครื่องหมายการค้า ซึ่งมันมีแต่มันไปอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 272, 273, 274, 275 แต่เราอย่าเพิ่งพูดถึงความหนักเบา เพราะกฎหมายเก่าโทษมันก็เบาค่าปรับมันก็ถูกมันเป็นเรื่องธรรมดา แต่มันมี ไม่ใช่มันไม่มี

ส่วนประเด็นที่ว่ามีการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า มันเป็นเรื่องการแสวงหาประโยชน์เป็นตัวนำ คือ ไม่มีใครเลียนแบบเครื่องหมายการค้าแล้วคอยไปตรวจดูว่า ไอ้นี่จดทะเบียนไว้แล้วหรือยัง โดยมากถ้าเราจะตัดสินใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เราเลียนเพราะเครื่องหมายการค้านั้นมันมีชื่อเสียง มี GOOD WILLS อยู่ในนั้นใช่ไหม เป็นเจตนาที่จะเลียนแบบแสวงหาประโยชน์กันอย่างดื้อ ๆ เลย มันไม่เกี่ยวกับความล้าหลังของกฎหมาย คนที่เลียนแบบเครื่องหมายการจะเป็นผู้ผลิตอีกระดับหนึ่ง ซึ่งพวกนี้ไม่ได้สนใจในปัญหากฎหมายพวกที่สนใจกฎหมาย คือ พวกที่บางทีมาแบบตะวันตกซึ่งวัฒนธรรมเป็นอีกแบบ

การเลียนแบบเป็นเรื่องของการแสวงหาประโยชน์ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับความล้าหลัง ไม่ว่าความล้าหลังจะมีหรือไม่มี ยกตัวอย่างง่าย "ลาคอส" ก็ปลอมกันโครม ๆ ทุกคนก็รู้ ไม่ได้เกี่ยวเลยกฎหมายล้าหลังหรือไม่

ส่วนที่ว่า บริษัทต่างชาติจะเข้ามาฟ้องร้องและปกป้องสิทธิเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของเขามากขึ้น อันนี้ผมเห็นว่า แนวโน้มว่ามันจริง แต่ที่มันจริง ไม่ใช่เพราะกฎหมายล้าหลัง มันเกิดเพราะว่าการค้าในเมืองไทยที่เกิดกับบริษัทต่างชาติมันเยอะขึ้น ไอ้การค้าแบบเสรีทุกวันนี้ การติดต่อค้าขายระหว่างกันมากก็มาก และถ้าสินค้าต่างประเทศเขาถูกปลอมแปลงในประเทศไทยมันมี เขาก็ต้องเสียหาย เขาก็ต้องหาทางป้องกันโดยทางกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดมันแน่นอนที่มันต้องมากขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เพราะเหตุว่าความล้าหลังของกฎหมาย

เราจะเห็นว่า มันมีของปลอม อ้างสิทธิ์กันมากขึ้น เพราะสินค้ามันขายได้ตลาดมันกว้างขึ้น มันก็ต้องมีการแสวงหาประโยชน์กันแบบนี้ และเจ้าของสินค้าเขาเสียหาย เช่น ยอดขายเขาตก CLASS ของสินค้าเขาด้อยไป และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น สินค้าที่ปลอมมันส่งออกด้วย ซึ่งการจำหน่ายในเมืองไทยมันไม่มีผลกระทบเท่าไร แต่เวลาส่งออกมันกระทบซึ่งเขาต้องเสียหายจึงต้องมีการดำเนินการเป็นเรื่องธรรมดา

สรุปคือ แม้จะมีการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งความจริงมันดีอยู่แล้วนี่ มันก็ห้ามการฟ้องร้องกันไม่ได้ ซ้ำร้ายถ้าแก้แล้ว ยิ่งทำให้มีการปลอมมากขึ้น เพราะแฟกเตอร์อื่นมันเพิ่ม การค้ามันมากขึ้น คนไทยเศรษฐกิจดีขึ้น รสนิยมดีขึ้น มีอำนาจซื้อสูง การซื้อสินค้าปลอมแปลงก็อาจจะมีมากขึ้น สรุปคือ มันไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จริง ๆ แล้ว พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าก็ไม่ได้ล้าหลัง การปลอมแปลงก็เป็นการปลอมแปลงที่เป็นธรรมชาติ ของผู้ทำการค้า กฎหมายในอเมริกาซึ่งว่ากันว่า ทันสมัยมากที่สุดก็มีปัญหาเยอะแยะ มีอะไรให้ลุยกันได้เรื่อยเหมือนกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us