Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2532
โสภณ สุภาพงษ์ กับ"ปรัชญาการบริหารเชิงพุทธ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บางจากปิโตรเลียม

   
search resources

บางจากปิโตรเลียม, บมจ.
โสภณ สุภาพงษ์
Oil and gas




หลังจากรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบางจากปิโตรเลียมเมื่อปี 2528 เป็นต้นมา ข่าวคราวของ โสภณ สุภาพงษ์ ก็ดูเกือบจะเงียบหายไปเป็นเวลานาน

จนกระทั่งมีการคัดค้านการสร้างทางด่วนคร่อมคลองประปา ความคิดที่จะใช้สารเพิ่มออกเทนเพื่อลดสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน โดยใช้มันสำปะหลัง ซึ่งการค้นคว้าวิจัยของเขาถูกหยิบยกมาเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

แท้ที่จริงแล้ว โครงการนี้แม้จะอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนการปฏิบัติจริง วัตถุประสงค์หลักของโครงการกลับอยู่ที่เพื่อให้คนอีสานมีรายได้เสริม แต่ไม่คิดว่าจะให้เฮโลมาทำโครงการนี้เป็นอาชีพหลัก

ดูจากภายนอก โสภณวันนี้ไม่ต่างกับโสภณ สุภาพงษ์ นักวิเคราะห์ตัวเล็ก ๆ ในฝ่ายการตลาดที่เคยทำงานอยู่กับเอสโซ่ ไม่ต่างกับโสภณ สุภาพงษ์ที่เคยเป็นรองผู้ว่าการฝ่ายจัดหาน้ำมันของ ปตท. และไม่ต่างกับโสภณ เมื่อเริ่มมาอยู่กับบางจากฯ เมื่อสี่ปีที่แล้ว ที่ครั้งหนึ่งเคยพยายามผลักดันให้บางจากฯ ซื้อน้ำมันดิบเข้ามากลั่นเอง โดยไม่ผ่าน ปตท. โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้ประสิทธิภาพในการจัดการสูงสุด

แต่ "ความคิด" ของเขาวันนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง โสภณ ดูเป็น "ผู้ใหญ่" มากขึ้น ไม่ใช่เพียงคำว่า "ละเอียด รอบคอบ สุขุม" เท่านั้นจะอธิบายศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเขาได้

ปีที่ห้าของโสภณกับบางจากฯ แนวความคิด วิธีการบริหารที่โสภณใช้ แทบจะกล่าวได้ว่า เป็น "มิติใหม่" ที่เชื่อว่า ผู้บริหารระดับสูงหลายคนไม่เคยคิดที่จะใช้วิธีนี้กับการบริหารสมัยใหม่

ช่วงที่โสภณเข้ามาในบางจากฯ เหมือนกับเป็นการบริหารท่ามกลางวิกฤต (MANAGEMENT UNDER CRISIS) นอกจากนี้ ผลพวงจากวิธีที่โสภณใช้กลับเป็นทางหนึ่งในการปลูกฝังและเสริมสร้าง "จริยธรรม" ให้เกิดขึ้นกับทุกคนในองค์กรโดยไม่รู้ตัว

ช่วงแรกของการทำงานในบางจากฯ หลายคนประหลาดใจว่า ไม่ว่าจะพบโสภณเมื่อใด เขาจะกล่าวถึงคำ "มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม" "เทน้ำชาถ้วยเก่าให้หมด" หลังจากสี่ปี โสภณได้นำบางจากฯ มาถึงจุดเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เพราะเขาได้ดำเนินการตามแนวทางที่เขาวางไว้ได้สำเร็จ

"ในปีแรกโปรแกรมที่ผมใช้ คือ เรื่อง "บ้าน" ผมบอกที่นี่เลยว่า ผมบริหารอย่างบ้าน" โสภณบอกกับ "ผู้จัดการ"

โสภณอธิบายว่า มนุษย์ทุกคนมีความผูกพันกับ "บ้าน" ไม่ว่าจะท้อแท้ จะเหนื่อย ทุกคนจะกลับบ้าน "บ้าน" ของเขาหมายถึงน้ำใจของคนที่บ้าน และทุก ๆ เช้าทุกคนจะตื่นขึ้นมาด้วยจิตใจใหม่ มีกำลังกาย กำลังใจที่จะทำงานอีกครั้ง

เขาบอกว่าบริษัทไม่อยากรู้ว่าใครทำผิด ต้องการรู้เพียงว่า ทำไมถึงเกิดขึ้น จะไม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร และขอให้ทุกคนรู้ว่า เมื่อผิดแล้ว…จะเริ่มต้นใหม่

นั่นเป็นบางจากฯ ในปีแรกที่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงอุปกรณ์ แม้ว่าเดิมจะขาดทุนมาปีละนับพันล้าน ไม่มีการเอา "ฝรั่ง" เข้ามาบริหารงาน โสภณได้สร้างความศรัทธาซึ่งกันและกันของเขากับพนักงานบางจากคิด…เข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน

ปีที่สอง สถานการณ์น้ำมันของโลกเปลี่ยนแปลงไปมากราคาน้ำมันตกลงจากบาร์เรลละยี่สิบกว่าเหรียญ เท่ากับมูลค่าน้ำมันในคลังของบางจากฯลดลงจาก 2,800 ล้านบาทเหลือเพียงแค่ 2,000 ล้านบาทในวันเดียว

" "เวลา" เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราต้องแข่งกับเวลา เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ใส่เข้าไป โทรศัพท์ เทเล็กซ์ วิทยุ เราบอกกับตัวเองว่า ไม่ใช่เร็วเสมอ แต่ต้องมีเวลาให้กับวันต่อไปเสมอ"

นอกจากนั้น หลังจากเวลาทำงาน โสภณยังต้องจัดเวลาให้กับตัวเองในการสร้างความผูกพันของเขากับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่งงาน ฯลฯ ซึ่งเขากล่าวว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานกับเขาใกล้ชิดกันมากขึ้น

"ปีที่สาม เราบอกว่าสิ่งที่เราทำนี่เรียกว่า "วัฒนธรรม" มาที่นี่ขึ้นบันไดคุณจะเห็น…เป็นคนดี มีความรู้ เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ไม่มีสังคมไหนจะอยู่ได้ ถ้าไม่มีวัฒนธรรม มันไม่ชัดเจน" โสภณ กล่าว

ปีที่ผ่านมา โสภณเริ่มสอนพนักงานของเขาให้เข้าใจ "ธรรมชาติ" ของชีวิตการทำงาน และอยู่อย่างเหมาะสมกับความเป็นจริง สิ่งที่โสภณสอนให้กับพนักงานเหล่านี้ ดู ๆ ออกจะเป็นเรื่อง "ไร้สาระ" สำหรับการบริการสมัยใหม่ แต่ทั้งหมดนี้ใช้ได้ดีกับพนักงานที่บางจากฯ

"เริ่มจากความเข้าใจองค์กรว่า องค์กรเริ่มต้นด้วยอะไร องค์กรถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำอะไรสักอย่าง โดยคนมากกว่าสองคน องค์กรธุรกิจตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานกับคนข้างนอก เพราะฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนแปลงตามข้างนอก เพราะข้างนอกมี "เป้าหมาย" ไม่เหมือนเรา…

…แต่ความสามารถของเรา คือ การที่จะปรับเราให้ตรงกับธรรมชาติข้างนอก การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุด คือ คนทุกคนในองค์กรต้องมองเป้าหมาย มองปรัชญาขององค์กร มองแนวความคิดขององค์กร" เป็นคำอธิบายของโสภณ

ส่วนที่น่าทึ่งของการบริหารของโสภณ คือ เขาใช้ "ธรรมชาติของชีวิต" ที่มีส่วนคล้ายคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเข้ามาอธิบายวงจรของธุรกิจ่ได้อย่างลึกซึ้ง น่าสนใจ

"ธรรมชาติของชีวิตคนมี 6 ระดับ ระดับที่หนึ่ง คือ กิเลส คือ ความอยาก เรามักจะมีความอยากไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้เราเสียความเป็นอิสระทางจิตใจ…

ระดับสอง คือ "กติกา" ส่วนต่ำสุดของกติกา คือ อุปกรณ์ ความรู้ เทคโนโลยี ความรู้ วิชาที่เป็นวัตถุทิ้งมันไว้ตรงนั้น อีกยี่สิบปีมาดู มันก็ไม่เปลี่ยน ระดับต่อไปของกติกา คือ ระดับเศรษฐศาสตร์"

ในระดับเศรษฐศาสตร์ อุปกรณ์ เทคโนโลยี วิชา จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์จะถูกใช้เมื่อสอดคล้องกับนโยบาย ซึ่งต้องดูจากเป้าหมาย ภาระหน้าที่ของบริษัท

กติกาเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้เกิดความสงบ สอดคล้องกันทางสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้ว กติกาจะรอดพ้นเฉพาะคนเก่ง ซึ่งคนเก่งก็จะเอากิเลสมาใช้ในระดับกติกาเพื่อประโยชน์ของตน หน้าที่ของทุกคน คือ ไม่ใช่เอาชนะตามกติกา แต่ต้องดูแลทุกคนเท่าเทียมกันต้องยอมรับ และมีจิตสำนึกที่ดีต่อการทำงาน ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้ในสายตาผู้บริหารที่อื่น ไม่น่าสนใจนัก แต่กับคนของบางจากฯ ที่ตอนนั้นไม่ทราบว่า อนาคตของตนเองจะเป็นอย่างไร การที่ทำให้พนักงานเข้าใจถึงพื้นฐานความเป็นจริงของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญกับโสภณแล้ว เขาบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นความภาคภูมิใจของเขา

"ตัวเงินนี่มันแค่เสร็จ ๆ ปีนี้ขาดทุน ปีหน้ากำไร อย่าไปเสียใจกับมันมาก แต่ที่ผมคิดว่า ทำ "สำเร็จ" ก็คือ ความคิดที่ดีของคนที่นี่ ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่นี่หรืออยู่ข้างนอก เขาก็จะเก็บส่วนนั้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา…

…สี่ปีที่ผ่านมา เรามีวัฒนธรรมที่ชัด มีเป้าหมายที่ชัด มีแนวความคิดในการทำงานที่ชัด เป้าสุดท้ายของเราคือ สังคมแน่นอน…เรากำลังจะไปที่นั่น เป็นบริษัทไทยที่มั่นคง ทำธุรกิจปิโตรเลียมสอดคล้องกับส่วนรวม มีส่วนในการพัฒนาการกินดีอยู่ดีของสังคม" โสภณสรุป

ปีนี้ของโสภณคงหนักกว่าสี่ปีที่ผ่านมา เพราะเขาเริ่มนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาให้พนักงานเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้มัน ความสำเร็จทางการเงินจากผลประกอบการที่ดีของบางจากฯ ทำให้พวกเขาต้องระวัง เพราะมันสามารถเปลี่ยนไปได้ทุกเมื่อ

แต่โสภณเองก็เปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่โสภณที่เปี่ยมทิฐิ เป็นคนหนุ่มไฟแรง มีความคิดที่จะเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ไปในทิศทางที่ต้องการเหมือนก่อนเช่นเดียวกัน

ใช่…เขากำลังเปลี่ยนแปลงปรัชญาการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ด้วยการสอดแทรกปรัชญาเชิงพุทธเข้าไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us