Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์14 เมษายน 2551
เก็งปัจจัยพื้นฐานหนุนงบไตรมาส1ดีบีเอสแนะเก็บหุ้นที่ได้ประโยชน์เศรษฐกิจฟื้นตัว             
 


   
search resources

Investment




ภาคเกษตร ท่องเที่ยว ส่งออก การลงทุน เติบโตหนุนสัญญาณเศรษฐกิจขาขึ้น แต่ยังต้องลุ้น ปัจจัยการเมือง อัตราเงินเฟ้อพุ่ง ดีบีเอส แนะลงทุนหุ้นกลุ่มแบงก์, อสังหา, ค้าปลีก, บันเทิง, สื่อสาร จับจังหวะอ่อนตัวเข้าซื้อ เหตุพื้นฐานดีและได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) รายงานว่าจากข้อมูลเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์2551 พบว่าเศรษฐกิจไทยยังมีอัตราขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยรวมแล้วเยังเป็นขาขึ้นโดย การผลิตภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวขยายตัวสูง รายได้ภาคการเกษตรเติบโตแข็งแกร่ง การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นดีต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกขยายในอัตราที่ชะลอลง

ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะเลือกซื้อหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศในจังหวะราคาอ่อนตัว เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, อสังหาริมทรัพย์, ค้าปลีก, บันเทิง, สื่อสาร เป็นต้น ซึ่งหุ้น Top Picks ประกอบด้วย บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน(AMATA),บมจ.เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์(AP), บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท (PS), บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL), บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO), บมจ.บีอีซี เวิลด์ (BEC) และ บมจ .แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC)

ปัจจัยที่ต้องจับตา คือ ปริมาณการส่งออก ซึ่งดูเหมือนว่าจะเริ่มอ่อนลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ด้านเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยอยู่ที่เงินเฟ้อที่ปรับขึ้นแรง, บาทแข็งเพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และการเมือง

ส่วนรายได้ภาคการเกษตรยังขยายตัวแข็งแกร่ง 29.2% จากปีก่อน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยเป็นการขยายด้านปริมาณผลิต 12.8% จากปีก่อน และราคาเพิ่มขึ้น 14.6% จากปีก่อน ส่วนดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเติบโตในอัตราเร่งตัวเป็น 14.7% จากปีก่อน จาก 13.9% ในเดือนมกราคม 2551 และ 8.2% เฉลี่ยทั้งปี 2550

ด้านปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 16.4% จากปีก่อน เป็น 1.5 ล้านคนในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็น 70.1% จาก 68.5% ในมกราคม 2551 และ 60.8% ในปี 2550 ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเมืองที่ผ่อนคลายหลังมีการเลือกตั้ง เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว และเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว

สำหรับการลงทุนภาคเอกชนดีขึ้น โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเติบโต 5.60% จากปีก่อน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพิ่มจาก 4.7% จากปีก่อนในเดือนมกราคม 2551 และดีขึ้นอย่างชัดเจนจาก 0.5% ในปี 2550 เพราะอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงถึง 74-76% ทำให้หลายธุรกิจต้องมีการลงทุนขยายกำลังการผลิต และในช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเป็นจังหวะดีในการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์จากต่างประเทศ

ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนเติบโตอ่อนลงเป็น 6.0% จากปีก่อน จาก 8.5% ในปีก่อนเดือนมกราคม2551 แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2550 ที่ 2.5% แสดงถึงการฟื้นตัวของการบริโภค ซึ่งโดยหลักแล้วมาจากความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น

ส่วนปริมาณการส่งออกเติบโตในอัตราที่ต่ำลงมาก โดยการส่งออกกุมภาพันธ์ 2551 ขยายตัว 16.2% จากปีก่อน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าปริมาณการส่งออกขยายตัวลดลงเหลือ 6.1% จากปีก่อน จาก 22.5% จากปีก่อนในเดือนมกราคม 2551 และ 14.5% จากปีก่อนในช่วงไตรมาส 4/2550 แต่ราคาขายยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่ดี คือ 9.5% ซึ่งเห็นว่าปริมาณขายที่เติบโตน้อยลงอาจจะเป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว การนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงทั้งที่เป็นการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ สินค้าทุน ยานยนต์ และน้ำมัน

ตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงเหลือ 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 25.51 จากเกินดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม 2551 เนื่องจากมีผลขาดดุลการค้า 0.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม 2551 แต่ได้รับการชดเชยจากดุลบริการและเงินโอนที่เข้ามา 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนเงินเฟ้อสูงขึ้น การว่างงานทรงตัว ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น 5.4% และเงินเฟ้อพื้นฐานเป็น 1.5% จาก 4.3% และ 1.2% ในเดือนมกราคม 2551 และจาก 2.3% และ 1.1% ในปี 2550 โดยเกิดจากต้นทุนผลัก (Cost Push Inflation) เป็นสำคัญ อัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.5% ทรงตัวเท่ากับปีที่ผ่านมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us