ชื่อ ผาสุก เทพมณี อาจไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก แต่ถ้าเอ่ยถึง นพพร
พงษ์เวช หนุ่มใหญ่จากซิตี้แบงก์และพวกที่เข้าไปบริหารเอเชียทรัสต์เมื่อ 5
ปีก่อน ส่วนใหญ่ก็คงยังพอจำกันได้ ผาสุกเป็นมือขวาที่นพพรดึงเข้าไปช่วยเขา
ผาสุก เทพมณี วันนี้เขาเป็นหนุ่มใหญ่วัย 42 ปี เป็นคนลำพูน จบมัธยมที่มงฟอร์ดเป็นรุ่นน้องของธารินทร์
นิมมานเหมินท์ ผู้จัดการใหญ่ไทยพาณิชย์ และเป็นรุ่นพี่ของศิรินทร์ นิมมานเหมินท์
รองผู้ว่าการฝ่ายการเงินของ ปตท. ในปัจจุบัน
ผาสุกจบปริญญาตรีและโทการบริหารธุรกิจจาก UNIVERSITY OF MIAMI และ FLORIDA
ATLANTIC UNIVERSITY จากอเมริกา
สมัยนั้นคนจบด้านเอ็มบีเอมามีไม่มากนัก กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานบ้านเรา
แม้ว่าเขาจะจบวิชาเอกด้านการตลาด แต่เนื่องจากศิรินทร์ซึ่งเรียนจบจากสแตนฟอร์ดกลับมาก่อน
(เพราะผาสุกไปเรียนที่อังกฤษเพื่อเพิ่มเติมความรู้ภาษาอังกฤษที่ IPOWICH
CIVIC COLLEGE ที่อังกฤษปีกว่า จึงจบกลับมาทีหลัง) แล้วเข้าทำงานที่ซิตี้คอร์ป
ได้ชักชวนให้ผาสุกมาอยู่ด้วยกันที่ซิตี้คอร์ป
ศิรินทร์ ตอนนั้นอยู่ฝ่ายบริหารเงิน (TREASURY) ผาสุกเข้ามาเป็น EXECUTIVE
TRAINEE หลังจากนั้นผาสุกก็ได้รับการบ่มเพาะวิทยายุทธ์ตามแบบฉบับของซิตี้แบงก์ที่อบรมความรู้ทุกด้านที่เกี่ยวกับธุรกิจแบงก์เป็นเวลา
1 ปีเต็ม เป็นลักษณะ ON THE JOB TRAINING
ตำแหน่งสุดท้ายที่ซิตี้คอร์ปของผาสุก คือ ASSISTANT VICE PRESIDENT มีหน้าที่บริหารสินเชื่อ
(CORPORATE BANKING GROUP) พร้อมกับเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสินเชื่อของซิตี้คอร์ป
มีอำนาจอนุมัติในวงเงิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ
นับว่าผาสุกเป็นอีกคนหนึ่งที่ก้าวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นคนหนุ่มที่ผู้บริหารระดับสูงของซิตี้คอร์ปยอมรับในฝีไม้ลายมือ
และที่นี่เอง ผาสุกได้รู้จักกับนพพร พงษ์เวช ซึ่งโชคชะตาทำให้เขาสองคนมีความผูกพันใกล้ชิดในเวลาต่อมา
!
นพพร พงษ์เวช เป็นคนไทยที่เติบโตในซิตี้คอร์ปอย่างรวดเร็วมากใช้เวลาเพียง
7 ปีในการก้าวขึ้นสู่ VICE PRESIDENT เขาเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ตำแหน่งนี้
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่บอร์ดของซิตี้แบงก์ในต่างประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง
นพพรและผาสุกชอบพออัธยาศัยกันมาก และมีความคิดตรงกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ
หากจะก้าวหน้าต่อไปก็ต้องไปใช้ชีวิตแบบยิปซี (INTERNATIONAL GYPSY) เร่ร่อนไปในหลายประเทศ
เพราะบริษัทแม่มีนโยบายไม่ให้ผู้บริหารอยู่ที่ไหนเกิน 4 - 5 ปี ซึ่งทั้งสองค่อนข้างกังวลกับอนาคตของครอบครัว
โดยเฉพาะลูก ๆ ที่อาจจะต้องร่อนเร่ตามเขาไปด้วย
ครั้นเมื่อจอห์นนี่ มา ผู้จัดการใหญ่ของธนาคารเอเชียทรัสต์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกับวารี
พงษ์เวช ผู้พ่อของนพพรมาชวนให้ไปช่วยกันบริหารแบงก์ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ
ซึ่งการเข้าไปกู้กิจการที่กำลังมีปัญหานั้นนับเป็นการที่ท้าทายมากสำหรับคนหนุ่มวัย
30 ต้น ๆ อย่างเขา อีกทั้งแบงก์ชาติเองก็เรียกร้องมืออาชีพให้เข้าไปบริหารรวมทั้งเหตุผลส่วนตัวที่ไม่อยากอยู่ซิตี้แบงก์จนแก่ตายอยู่แล้ว
ทำให้เขาตัดสินใจมาทำงานที่เอเชียทรัสต์
นพพรประเมินแล้วว่า เขาทำงานที่นี่คนเดียวไม่ไดแน่ เขาจึงดึงผาสุกให้มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ
เอา ยงยศ ปาละนิติเสนา ผู้ช่วยของนพพรให้มาเป็นผู้จัดการ
ครั้นเมื่อจอห์นนี่ มา ผู้จัดการใหญ่ของธนาคารเอเชียทรัสต์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกับวารี
พงษ์เวช ผู้พ่อของนพพรมาชวนให้ไปช่วยกันบริหารแบงก์ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ
ซึ่งการเข้าไปกู้กิจการที่กำลังมีปัญหานั้นนับเป็นการที่ท้าทายมากสำหรับคนหนุ่มวัย
30 ต้น ๆ อย่างเขา อีกทั้งแบงก์ชาติเองก็เรียกร้องมืออาชีพให้เข้าไปบริหารรวมทั้งเหตุผลส่วนตัวที่ไม่อยากอยู่ซิตี้แบงก์จนแก่ตายอยู่แล้ว
ทำให้เขาตัดสินใจมาทำงานที่เอเชียทรัสต์
นพพร ประเมินแล้วว่า เขาทำงานที่นี่คนเดียวไม่ได้แน่ เขาจึงดึงผาสุกให้มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ
เอายงยศ ปาละนิติเสนา ผู้ช่วยของนพพร ให้มาเป็นผุ้จัดการสำนักบริหารเงินต่างประเทศ
และดึงเจ้าหน้าที่มาอีกหลายคนเป็นทีมงานที่แข่งขัน ซึ่งพร้อมจะลงมาลุยงานเต็มที่
ในความเป็นจริงแล้ว เอเชียทรัสต์มีปัญหามากกว่าที่นพพรและพวกคิดไว้มากนัก
และด้วยความเป็นคนหนุ่มไฟแรง ซึ่งบางคนมองไปว่า ร้อนวิชา เข้าไปเสนอโน้นเปลี่ยนนี่เต็มไปหมด
ที่สุดก็กลายเป็นทะเลาะกับกลุ่มจอห์นนี่มา
30 กรกฎาคม 2527 เป็นวันประวัติศาสตร์ที่กลุ่มนพพรคงไม่มีวันลืมไปชั่วชีวิต
นพพรถูกคำสั่งไล่ออก ส่วนผาสุก ยงยศ ถูกปลดออกจากตำแหน่งไปแขวนเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่
เรื่องราวลุกลามจนกระทั่งแบงก์ชาติเข้าไปยึดและเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารสยาม
โดยที่นพพร ผาสุก ยงยศ กลับมาในตำแหน่งเดิม ภายใต้การนำของประธานแบงก์ที่ชื่อ
เกษม จาติกวณิช โดยมีทีมจากแบงก์ชาติมาร่วมบริหารด้วย โดยวารี หะวานท์ เป็นผู้อำนวยการ
คราวนี้ นพพรและพวกก็ดำเนินธุรกิจได้เต็มที่มากขึ้น เพราะเกษมเข้าใจพวกเขาดี
จนตอนหลังฝ่ายนพพรกับฝ่ายวารีไม่ค่อยจะกินเส้นนัก ก็มีการกล่าวหาว่า เกษมไปถือหางและให้ท้ายกลุ่มนพพรมากไป
ขณะที่ก็มีเสียงบ่นว่า พวกที่มาจากแบงก์ชาติทำธุรกิจไม่เป็น แต่อย่างไรก็ตาม
แบงก์สยามก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนเริ่มมีกำไรเมื่อไตรมาสที่สองของปี 2530 แต่ก็มีข่าวว่าแบงก์สยามยังต้องขอซอฟท์โลนอีก
และเริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำไมต้องมีแบงก์พาณิชย์ของรัฐถึงสองแบงก์
สุดท้ายก็มีการรวมแบงก์สยามเข้ากับกรุงไทย ท่ามกลางความงุนงงและไม่ค่อยพอใจของกลุ่มนพพร
รวมทั้งเกษมที่รู้สึกว่า เรือเกือบจะถึงฝั่งอยู่แล้วเชียว ("ผู้จัดการ"
เคยเขียนเบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนั้น "ผู้จัดการ" ฉบับที่ 43)
นพพรไปเป็นกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บงล.เอ็มซีซี ยงยศไปเป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารเงินแบงก์นครหลวง
เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของแบงก์สยาม ส่วนใหญ่ก็พากันไปหางานทำที่อื่นแทบทั้งสิ้น
ด้วยไม่ต้องการอยู่ใต้ร่มเงาของกรุงไทย
ผาสุกนั้นเหน็ดเหนื่อยกับการบุกเบิกและจัดระบบฝ่ายสินเชื่อที่เขาใช้เวลากว่า
3 ปีทุกอย่างจึงเริ่มลงตัว ความผิดหวังก็คงมีอยู่ไม่น้อย กอร์ปกับพี่ชายคนที่สอง
พิเชษฐ์ เทพมณี ล้มป่วยเป็นมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคเดียวกับผู้แม่ซึ่งเสียชีวิตไปเกือบ
10 ปีแล้ว ผาสุกอยู่เฉย ๆ ใช้เวลาอยู่เป็นเพื่อนพี่ชายเกือบปีจนพี่ชายเขาสิ้น
อนาคตต่อไปจะทำอะไรดี ? บังเอิญช่วงนั้นมีการยุบสภา (เมษายน 2531) ผาสุกตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งที่ลำพูนบ้านเกิด
ในนามพรรคชาติไทย ซึ่งเขามีความสัมพันธ์มาเนิ่นนาน เนื่องเพราะสุรพันธ์ ชินวัตร
เป็นญาติกับทางแม่ของเขา อีกทั้งสมัยที่เรียนอยู่ที่ฟลอริดานั้น อยุ่บ้านเดียวกับประสิทธิ์พี่ชายของประภัตร
โพธสุธน อดีต รมช.กระทรวงการคลัง
เพื่อนฝูงหลายคนออกจะแปลกใจกับการตัดสินใจเข้าสู่วงการเมือง เพราะไม่เคยมีวี่แววเช่นนั้นมาก่อน
ซึ่งผาสุกให้ความกระจ่างกับ "ผู้จัดการ" ว่า
"ความจริงพื้นฐานครอบครัวผมใกล้ชิดกับการเมืองระดับท้องถิ่นมาเป็นเวลาเนิ่นนาน
คุณพ่อเคยเป็นผู้แทนลำพูนหลายสมัยเพิ่งจะมาไม่ได้ในสองครั้งหลังนี้เอง แต่หลังจากนั้นก็ได้เป็นนายกเทศมนตรี
พี่ชายคนโต สันต์ เทพมณี เคยเป็นอดีต รมช.มหาดไทย สมัยอาจารย์เสนีย์เป็นนายกฯ
และพี่ชายคนที่สอง ซึ่งเพิ่งเสียไปก็เป็นอดีตนายกเทศมนตรีอีกเหมือนกัน ผมจึงสใจการเมืองมาตลอด
และคิดว่าวันหนึ่งถ้าประเทศชาติต้องการผมยินดีรับใช้"
ความฝันของเขาเป็นหมันเมื่อพ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่างยับเยิน !!!
ผาสุกต้องมานั่งถามตัวเองอีกครั้งว่า แล้วต่อไปจะทำอะไรแล้วก็มาลงตัวกับกลุ่มโรยัล
โฮลดิ้ง ของตระกูลสังขะทรัพย์ (ผู้เริ่มก่อตั้งธุรกิจนี้ คือ อุดม สังขะทรัพย์
ซึ่เงสียชีวิตไปหลายปีแล้ว) โดยเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทอาร์ซีไอ. (ROYAL
CERAMIC INDUSTRY)
ผาสุกรู้จักตระกูลนี้ผ่านนพพร เพราะว่าอุดม สังขะทรัพย์ เป็นเพื่อนนักเรียนที่เรียนด้วยกันที่ญี่ปุ่นกับวารี
พงษ์เวช และ สมหมาย ฮุนตระกูล นพพรสนิทกับลูก ๆ ของอุดม ซึ่งเป็นผู้หญิงล้วน
5 คน
ในฐานะที่เป็นแบงก์เกอร์เก่าที่อยู่ฝ่ายสินเชื่อมานานได้มีโอกาสเข้าไปดูโรงงานอุตสาหกรรมของลูกค้ามามากต่อมาก
เขาจึงใช้เวลาเรียนรู้ไม่มากนัก เขาได้รับมอบหมายให้มาดูแลการบริหารภายในทั้งหมดของอาร์ซีไอ.
โดยเฉพาะการวางระบบการเงินและการติดต่อกับธนาคาร
"แนวโน้มของธุรกิจนี้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จากธุรกิจที่ขาดทุน เราก็เริ่มกำไรเข้ามาแล้ว
ตอนนี้เราผลิตไม่ทันขาย ซึ่งไม่เฉพาะแต่เราคู่แข่งก็เช่นกัน นั่นเป็นเพราะอุตสาหกรรมก่อสร้างมันบูมหลัก
ๆ แล้วผมก็เข้ามาจัดระบบภายในให้เป็นระบบยิ่งขึ้น เพราะเรามีแผนการที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์
นี่คงเป็นเหตุผลด้วยอย่างหนึ่งที่ดึงเอามืออาชีพเข้ามาเตรียมระบบให้พร้อม"
ผาสุกพูดถึงงานใหม่
อย่างไรก็ตาม ผาสุกคงไม่ขายกระเบื้องตอลดไป เพราะเขายังอยากเป็นนักการเมืองอยู่ทุกลมหายใจ
การแพ้เลือกตั้งคราวนั้นมิได้ทำให้เขาท้อถอย
"ผมรู้สึกว่าคนรุ่นเดียวกับผมมองการเมืองเป็นเรื่องสกปรก ไม่อยากเอาตัวเข้าไปยุ่งเกี่ยว
แล้วเมื่อไหร่จะดีขึ้นมาได้ ผมเป็นห่วงบ้านเมืองครับ และรู้สึกผู้แทนที่รู้เรื่องเศรษฐกิจการเงินมีน้อยมาก
อย่างคุณพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ เข้าไปผมว่าดีนะครับ ผมเชื่อในอุดมการณ์ของประชาธิปไตย
ผมคิดว่า ผมอยากเข้าไปเป็นปากเสียงให้ประชาชน" ผาสุกเปิดใจ
ถ้าผาสุกยังไม่เลิกล้มความตั้งใจ สักวันหนึ่งเราอาจจะมี ส.ส.ชื่อผาสุก เทพมณี
ก็เป็นได้