Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2532
ยุทธนา ธนวิกสิตปิดให้สวยเปิดให้งาม             
 


   
search resources

เสรีธนะ
ยุทธนา ธนวิกสิต
Construction




"ตกเวทีประวัติศาสตร์"

ไม่ว่าจะเป็นใคร ? ประพฤติปฏิบัติอยู่ในสาขาวิชาชีพใด ? แต่ถ้าต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น มันก็เป็นเรื่องเจ็บปวดยิ่งนัก ซึ่งถ้าไม่มีทางเลี่ยงไหน ? ที่จะดีเท่าไปกับ "ยอมทนก้มหน้ารับกับชะตากรรมอันน่าชิงชังนั้นแล้ว ยอมเดินลงจากเวทีอย่างสง่าผ่าเผย…"

คนบางคนอาจพ่ายแพ้บนเวทีผืนนั้น ทว่ายังมีสิทธิที่จะชนะบนเวทีแห่งอื่น หากว่ายังมีใจเป็นนักสู้อยู่อย่างไม่ท้อถอย เพราะสันดานพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่เป็นนักสู้นั้นก็คือ "มนุษย์เรานั้นยอมที่จะถูกทำลาย แต่จะไม่ยอมอยู่อย่างผู้แพ้ตลอดไปเป็นอันขาด"

ยุทธนา ธนวิกสิต…วัย 43 ปี สำหรับเขา "ความหวัง" ยังทอดรองรับอยู่ยาวไกล แม้ว่าความเป็นจริงในวันนี้เขาจะต้องยอมรับกับความเป็น "ผู้แพ้" อย่างไม่ใยดีกับสิ่งรบกวนใด ๆ สักครั้งหนึ่ง !!!???

"ผมคิดว่า มันถึงที่สุดแล้ว จริงอยู่ว่าผมอาจรับงานหนึ่ง ๆ ที่มีกำไรถึง 10 ล้านบาท แต่อย่าลืมนะว่า ในอีก 11 เดือนที่เหลือ ผมต้องมีค่าใช้จ่ายอีกบานตะไท รวมแล้วมันก็ขาดทุน ซึ่งสถานการณ์ที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันมันเป็นอย่างนี้จริง ๆ ปีหนึ่ง ๆ ไม่ว่าผมหรือบริษัทอื่นเราอาจรับงานได้เพียงงานเดียว" ยุทธนากล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงสาเหตุที่เขาต้องปิดฉากตัวเอง และบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่คนรุ่นพ่อได้สั่งสมชื่อเสียงมานานถึง 27 ปี

แน่นอน…สำหรับเขามันย่อมมีความปวดร้าวซึมแทรกทุกอณูชีวิต !!!

ยุทธนา ธนวิกสิต ศิษย์เก่าอำนวยศิลป์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาโยธา จากมหาวิทยาลัยเวสต์ เวอร์จิเนีย และอดีตนายช่างโท กรมชลประทาน อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย เป็นลูกชายของเสรี ธนวิกสิต เจ้าของ "เสรีธนะ" ผู้รับเหมาชื่อดังรายหนึ่งของเมืองไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งในแวดวงกรมชลประทานแล้วนั้น ชื่อ "เสรีธนะ" เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น 1 ในผู้กำงานก่อสร้างใหญ่ ๆ ของกรมชลฯ มาโดยตลอด ระยะเวลาของการก่อตั้งบริษัท

"เสรีธนะ" ย่ำรอยความสำเร็จในกรมชลฯ มากเพียงไร ? คงเป็นที่ประจักษ์กันดีเมื่อบริษัทคนไทยเล็ก ๆ แห่งนี้กล้าที่จะทุ่มราคาไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทหาญสู้กับบริษัทรับเหมายักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นอย่าง "นิชิมัตสึ" คราวประมูลก่อสร้างเขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ถ้าไม่มีแรงบีบจากรัฐบาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับเรื่องเงินกู้ OECF แล้วเชื่อกันว่า เรื่องที่ "นิชิมัตสึ" จะคว้าพุงปลาไปกินได้ง่าย ๆ นั้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แน่นอน…

แต่ "เสรีธนะ" ก็มีวันที่รู้จักกับ "ความพ่ายแพ้" อย่างสมบูรณ์แบบเมื่อระยะปีสองหีที่ผ่านมาที่งานประมูลของกรมชลประทานค่อนข้างจะมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตัดราคา ราคาเข้าสู้กันโดยยอมขาดทุน รวมไปถึงการแบกรับภาระใช้จ่ายในการก่อสร้างที่เกินกำลังในแต่ละโครงการ โดยไม่จำเป็น ซึ่งในที่สุดก็ทำให้ผู้รับเหมาที่เคยร่ำรวยมากับงานของกรมชลฯ หลายราย ไม่ว่าจะเป็น ประมวล พัฒนาการ ราชวัตร ฯลฯ มีอันต้องลาเลิกไปทีละรายสองราย บางรายถึงขั้นล้มละลายเลยก็มี

"เสรีธนะ" เป็นรายล่าสุดที่ต้องยอมรับกับสภาพนั้นโดยไม่มีสิทธิปฏิเสธ!!

ยุทธนา ในฐานะผู้ดูแลกิจการสู่สภาพดังกล่าวยิ้มรับกับ "ผู้จัดการ" อีกครั้งว่า "ผมยอมที่จะเจ็บปวดตอนนี้ดีกว่าที่จะเลวร้ายมากขึ้น หลักการทำงานของพ่อและผมมีอยู่ว่า เก่งต้องเก่งทางเดียว เป็นผู้รับเหมาก็รับงานกรมชลฯ ที่เดียว เมื่ออะไร ๆ มันไม่ดีก็ถอยฉากออกมา และดูทางอื่ที่เราพอจะสู้กับมันได้"

จากจุดนี้เอง ยุทธนาจึงเริ่มงานใหม่ในฐานะ LAND DEVELOPER รายใหม่ของวงการอย่างจริงจัง เมื่อปลายปี 25314 ทั้งนี้ด้วยการนำเอาที่ดินจำนวน 500 ไร่ ที่ อ.บางไทร จ.อยุธยา ซึ่งซื้อไว้ในสมัยที่งานรับเหมายังรุ่งเรืองมาจัดสรรขาย

คราวนี้เขาร่วมกับ ศจ.ระพี สาคริก "ปรมาจารย์กล้วยไม้" พัฒนาที่ดินบริเวณดังกล่าวให้กลายเป็น "อุทยานกล้วยไม้" ซึ่งนับเป็น "สวนเกษตร" ที่แปลกไปจากที่อื่น ๆ ซึ่งนิยมปลูกผลไม้ในที่ดินแล้วแบ่งขายให้กับผู้ที่สใจ

ยุทธนา บอกถึงการตัดสินใจเลือกเอา "กล้วยไม้" มาเป็นจุดขายว่า เป็นเพราะ 1. ความมีใจรักส่วนตัวที่ผูกพันกับกล้วยไม้มาแต่เล็ก โดยซึมซาบมาจาก ประพินทร์ เอื้อประยูรวงศ์ เจ้าของเจ้าพระยาออร์คิด ผู้เพาะพันธุ์รายใหญ่ที่เป็นอา และ 2. ความที่มองเห็นว่า ตลาดกล้วยไม้ไทยในตลาดโลกนั้นยังมีลู่ทางไปได้สวยอย่างตลาดญี่ปุ่น 1,400 ล้านดอลลาร์กว่า 40 ล้านดอลลาร์เป็นกล้วยไม้จากไทย ซึ่งยังมีตลาดยุโรปอีก 40% ที่กล้วยไม้ไทยครองตลาดอยู่

ยุทธนา และ ศจ.ระพี เชื่อมั่นว่า หากมีการพัฒนาคุณภาพกล้วยไม้อย่างจริงจังแล้ว หนทางที่กล้วยไม้ไทยจะบานชูช่อเป็น "หนึ่ง" ในตลาดโลกย่อมอยู่ไม่ไกลเกินฝัน !! และคนทั้งสองก็เริ่มกันที่นั่น "อุทยานกล้วยไม้" ณ สวนบางไทร อยุธยา

"ที่เราเลือกอยุธยาเป็นเพราะอยู่ใกล้กับแอร์พอร์ตพอตัดดอกหรือเพาะต้นก็ส่งมาที่แอร์พอร์ตเลยสะดวกกว่าแถบบางแค หรือหนองแขมที่เป็นแหล่งผลิตใหญ่ในขณะนี้ ซึ่งแนวโน้มแหล่งผลิตกล้วยไม้จะขยายออกมาทางอยุธยาและปทุมธานีมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยเหตุผลดังกล่าว" ยุทธยาบอกกับ "ผู้จัดการ" และเผยต่อว่า

กล้วยไม้ในอุทยานแห่งนี้จะเน้นที่กล้วยไม้ธุรกิจ ซึ่งมีทั้งตัดดอกและขายต้นเป็นหลัก นอกจากนี้ยังจะได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ในเขตร้อนทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฯลฯ มาไว้ยังอุทยานแห่งนี้ เพื่อจัดเป็นอุทยานกล้วยไม้ไว้ทัศนศึกษาอีกด้วย

อุทยานกล้วยไม้แห่งนี้ อาจไม่ใช่สวนกล้วยไม้ธุรกิจใหญ่ที่สุด แต่ก็เป็นสวนกล้วยไม้เพื่อการพักผ่อนที่ใหญ่ที่สุด และเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ที่มากที่สุด !!!

"สำหรับผู้ที่ซื้อที่ดินจัดสรรของเรา ใครสนใจจะปลูกกล้วยไม้ เรายินดีที่จะให้คำแนะนำและสนับสนุน โดยเฉพาะเรื่องตลาดเราได้เจ้าพระยาออร์คิดที่มีข่ายงานตลาดกว้างขวางมาให้การช่วยเหลือ นอกจากนี้ ริมรั้วบ้านเราก็จะปลูกต้นโกสนให้ เพราะใบโกสนสามารถตัดขายได้ ซึ่งตลาดกำลังมีคนสนใจกันมาก ที่ดินเราแบ่งขายเพียง 100 ไร่ที่เหลือจะทำเป็นสวนกล้วยไม้ และที่พักผ่อน" ยุทธนากล่าว

และหากความใฝ่ฝันของเขาไม่สะดุด ยุทธนาหวังว่า สักวันหนึ่งเขาอาจได้สร้างคอนโดเทลขึ้นในอุทยานกล้วยไม้แห่งนี้ และนั่นเขาอาจกลับมาเป็น "เสือคืนถิ่น" ทีป่ระสบชัยชนะในวงการก่อสร้างในบั้นปลายที่สามารถยิ้มรับความเป็น "ผู้ชนะ" ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ !!!???

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us