Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 เมษายน 2551
ธปท.ห่วงหนี้ครัวเรือนพุ่งไม่หยุดแนะเร่งหนุนการออม-คุมปล่อยกู้             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




แบงก์ชาติตามติดสถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือนพุ่งไม่หยุด ชี้เป็นหนี้ที่กระจุกตัวในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ-ความรู้การเงินน้อย ทำให้หันพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบมากขึ้น แนะเร่งส่งเสริมการออม ดูแลการให้สินเชื่อกับกลุ่มนี้อย่างระมัดระวัง พร้อมศึกษาประสบการณ์ของธนาคารคนจนในต่างประเทศ

นางสาวอนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงรายงานหนี้ภาคครัวเรือนล่าสุดว่า ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อยู่แล้ว และสามารถสรุปได้ว่า แม้หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่สถานการณ์หนี้สิ้นของครัวเรือนในภาพรวมยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ และเชื่อว่าจะไม่นำไปสู่ปัญหาในวงกว้าง เนื่องจากหนี้สินส่วนใหญ่ของครัวเรือนเป็นหนี้สินเพื่อการซื้อสังหาริมทรัพย์และการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นหนี้เพื่อการสะสมหนี้สินและก่อให้เกิดรายได้ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนก็ไม่ได้แย่ลงนัก นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบหนี้สินทรัพย์ในครัวเรือนแล้วจะพบว่าสัดส่วนของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของปัญหาหนี้สินนั้นยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ครัวเรือนบางกลุ่ม เช่น ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำมีการศึกษาและความรู้ทางการเงินน้อยและพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบเป็นหลัก อีกทั้งปัญหาหนี้สินของครัวเรือนในภาคเกษตรที่ยังมีความซับซ้อนมากว่าครัวเรือนทั่วไป

ดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนให้ตรงเป้าและได้ผลดี ควรมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีหนี้มากเป็นอันดับแรกๆ โดยแนะนำให้การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จ่าย ควบคู่กับส่งเสริมการออม การให้การศึกษาและความรู้ทางการเงิน และการเปิดช่องทางการให้สินเชื่อแก่ผู้มีรายได้น้อยอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ ควรมีศึกษาประสบการณ์ของธนาคารคนจนในต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรด้วย

สำหรับสถิติหนี้ครัวเรือนไทยจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ในภาพรวมหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 68,405 บาท ต่อครัวเรือนในปี 2543 เป็น 104,571 บาทต่อครัวเรือนในปี 2547 และ 116,681 บาทต่อครัวเรือนในปี 2550 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนไปอัตราดอกเบี้ยต่ำและการที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญกับสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนชะลอลงมากในปี 2549-2550 และน้อยกว่าเงินเฟ้อในปี 2550

โดยหนี้เพื่อการบริโภคมีสัดส่วนเพียง 33% และประมาณ 60%ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ พบว่าหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเพิ่มขึ้น 5.6 เท่าในปี 2547 แต่หลังจากนั้นก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องมาอยู่ระดับ 6.6 เท่าของปี 2549 และ 6.3 เท่าในปี 2550 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบหนี้สินกับสินทรัพย์ของครัวเรือนแล้วจะเห็นได้ว่าหนี้สินของครัวเรือนทั้งหมดคิดเป็น16%สินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐที่มีหนี้สิน 30% โคลัมเบีย 18% และสาธารณรัฐเช็ค 27% ของหนี้ครัวเรือน

นอกจากนี้ สัดส่วนยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในระบบสถาบันการเงินสิ้นปี 2550 อยู่ที่ 4.1% ลดลง 4.8% จากในช่วงเดียวกันของปีก่อน และอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ 7.3% ของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us