Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 เมษายน 2551
เอ็มเอฟซีลุ้นธปท.ปล่อยไทยEXIMตั้งสาขาเมืองนอก             
 


   
www resources

โฮมเพจ เอ็มเอฟซี, บลจ.

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
พิชิต อัคราทิตย์
Funds




"พิชิต"เผยความคืบหน้าบริษัทร่วมทุน เอ็มเอฟซี-ธสน.ใกล้ความจริง Q2 มีโอกาสจัดตั้ง แต่หวั่นบริษัทลูกที่ตั้งสาขาในต่างประเทศติดเกณฑ์บางประการ เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นกระทรวงการคลังเหมือนกัน แต่มั่นใจเป็นประโยชน์ทั้งด้านการลงทุน และช่วยเหลือผู้ส่งออก ขณะเดียวกันเตรียมงัดกองพันธบัตรลงทุน6-7 ประเทศในทวีปเอเชีย ให้ผลตอบแทน 3.5% ล่อใจนักลงทุนช่วงเดือนหน้า

นายพิชิต อัครทิพย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด มหาชน กล่าวถึง ความคืบหน้าของการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ภายหลังการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ระหว่างเวลา 10.30 น. - 12.00 และได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วในวันเดียวกัน โดยที่ประชุมได้มติให้จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษา กับลูกค้าธุรกิจนำเข้าส่งออก เพื่อแก้ปัญหากับการติดต่อทำธุรกิจ เนื่องจากคู่ค้าในต่างประเทศกังวลเกี่ยวกับ การข้อตกลงในการทำการค้า

ทั้งนี้ คาดว่าการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยมีสัดส่วนการลงทุนของเอ็มเอฟซีในบริษัทดังกล่าวจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท คิดมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 17.5 ล้านบาท

สำหรับลักษณะการดำเนินงานของบริษัทร่วมทุน ไทย เอ็กซิม อินเตอร์เนชั่นนอล จะออกไปในรูปแบบของการตั้งสาขาในต่างประเทศที่ผู้ลงทุนไทยสนใจลงทุน โดยเป้าหมายแรกจะเป็นการส่งเสริมผู้ลงทุนไทยก่อนเป็นหลัก โดยเฉพาะการส่งเสริมการส่งออกและนักลงทุนไทยจะไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น หลังจากนั้นจะเป็นเป้าหมายรอง ในการดึงผู้ประกอบการในประเทศนั้น เข้ามาลงทุนกับบลจ.เอ็มเอฟซี รวมถึงการนำกองทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ออกไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นด้วย

"ที่ผ่านมาผู้ประกอบการมักมีปัญหาในเรื่องของความเข้าใจกันของผู้ซื้อสินค้า และผู้ส่งออก คนซื้อเองไม่แน่ใจว่าจะได้สินค้าหรือเปล่า หรือเงินจะถึงมือคนขายหรือไม่ แลบริษัทร่วมทุนนี้จะตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา แต่ในส่วนของเอ็มเอฟซีเราจะดูแลเรื่องของการลงทุน และจะมีตั้งเป็นกองทุนคันทรีฟันด์ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทั้งในตลาดและนอกตลาดขณะเดียวกันเราเองก็อาจจะจัดตั้งกองทุนเอฟไอเอฟออกไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นด้วย"นายพิชิตกล่าว

นายพิชิต กล่าวอีกว่า ในส่วนของการตั้งสาขาในต่างประเทศขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะติดกฎเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อะไรหรือไม่ เนื่องจากบลจ.เอ็มเอฟซี และธสน.เอง มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งการที่จะจัดตั้งสาขาในต่างประเทศ และบริษัทลูกที่ตั้งขึ้นจะต้องอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลังด้วย หรือจะสามารถบริหารงานได้เองอย่างอิสระยังไม่ชัดเจนนัก

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการตั้งสาขาในต่างประเทศน่าจะทำได้ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก ซึ่งกองทุนคันทรีฟันด์ จากต่างประเทศเองยังสามารถเข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทยได้ ซึ่งบริษัทร่วมทุนที่จะตั้งขึ้นควรที่จะทำได้ด้วยเช่นกัน

นายพิชิต กล่าวอีกว่า นอกจากบริษัทจะมีแผนการตั้งสาขาของบริษัทร่วมทุนในต่างประเทศแล้ว ในไตรมาส 2 ของปีนี้ยังมีแผนที่จะออกกองทุนร่วมพันธบัตรต่างประเทศเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนอีกด้วย ซึ่งนโยบายการลงทุนของกองทุนนี้จะแตกต่างจากกองทุนพันธบัตรต่างประเทศทั่วๆ ไป โดยจะมีการลงทุนในพันธบัตรที่มีเรตติ้งดีประมาณ 6-7 ประเทศ และคาดว่าจะได้ผลตอบแทนประมาณ 3.5%

ทั้งนี้ การคัดเลือกประเทศที่จะลงทุนนั้นบริษัทจะดูอันดับความน่าเชื่อถือ การเมืองและการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ เป็นหลัก และน่าจะเป็นประเทศในแถบเอเชียเป็นหลักร่วมถึงประเทศเกาหลีใต้ด้วย อย่างไรก็ตามกองทุนนี้ยังอยู่ระหว่างการขออนุมัติจาก ก.ล.ต. แต่คาดว่าจะสามาถรเปิดขายให้กับนักลงทุนได้ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้

“ประเทศที่เราดูอยู่ตอนนี้มีประมาณ 7-8 ที่ โดยจะดูเครดิตดีกว่าไทย ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มเอเชียที่ให้ผลตอบแทนสูง และน่าจะมีความน่าเชื่อถือทางการเมือง และการเติบโตของจีดีพีเป็นหลัก ซึ่งก็น่าจะมีเกาหลีใต้อยู่ในนี้ด้วย” นายพิชิตกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us