|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลาดหุ้นไทยผันผวนต่อเนื่อง บิ๊กบล.กิมเอ็ง คาดการณ์เม.ย.แกว่งตัวอยู่ในกรอบ 800-860 จุด เหตุปัจจัยการเมืองร้อนระอุ-ซับไพรม์ไม่จบ "นิเวศน์" แนะลงทุนหุ้นเกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ รับอานิสงค์สินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่เอ็มดี ไทยบีเอ็มเอ ลั่น 5 ปีข้างหน้าจีดีพีไทยโตไม่เกิน 7% ส่งผลเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าประเทศอื่นมากกว่า ด้าน "อนุสรณ์" หวั่นการเมืองประทุ สั่งจับตาอีก 2 เดือน
ภาวะการลงทุนตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10 เม.ย.) ดัชนีแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบ โดยปรับตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดระหว่างวันที่ 826.76 จุด ก่อนจะปรับตัวลดลงและปิดที่ระดับต่ำสุดของวันที่ 820.98 จุด ลดลงจากวันก่อน 5.21 จุด คิดเป็น 0.63% มูลค่าการซื้อขาย 16,785.91 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 244.50 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 83.86 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 328.35 ล้านบาท
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยขณะนี้แกว่งในกรอบแคบๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลงไม่มาก เนื่องจากนักลงทุนกังวลเรื่องเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ที่เข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งจะกดดันให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยและส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง
ขณะที่ปัจจัยทางการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพจากปัญหาในเรื่องการยุบพรรค การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะแรงกดดันต่อบรรยากาศการลงทุน โดยคาดว่าในเดือนเมษายนนี้ ดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 800 -860 จุด
ส่วนการประเมินดัชนีทั้งปีนั้น ขณะนี้ประเมินลำบาก หากทุกอย่างมีความเรียบร้อยไม่เกิดความโกลาหลในประเทศ ดัชนีปีนี้มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงระดับ 900-1,000 จุด เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศมีการเติบโตที่ การบริโภคมีการฟื้นตัว ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นในการบริโภคภายในประเทศสูงขึ้น
"ปัจจัยที่กระทบต่อตลาดหุ้นมีทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศ แต่เมื่อตลาดหุ้นปรับตัวลดลงก็ควรเข้าไปลงทุน และขายทำกำไรเมื่อดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น หรืออาจจะทยอยเข้าลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนจะทำให้มีผลตอบแทนสูงกว่า 10%"
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thai BMA) กล่าวว่า นับจากนี้ไปอีก 5 ปีข้างหน้า จีดีพีของประเทศไทยจะเติบโตได้ไม่เกิน 7% เนื่องจากไทยไม่มีอุตสาหกรรมไหนที่โดดเด่น บวกกับการเมืองในประเทศยังไม่มีเสถียรภาพ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนสนใจเข้าไปลงทุนในประเทศอื่นมากกว่า
นายนิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุน กล่าวว่า การลงทุนในตลาดหุ้นนักลงทุนควรเลือกหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากได้รับผลดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงการบริโภคภายในประเทศ แต่หุ้นในกลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดขนาดเล็ก การปรับขึ้นของหุ้นเหล่านี้จึงอาจไม่ช่วยให้ภาพรวมหุ้นทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯปรับขึ้นได้
ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานในปีนี้มีแนวโน้มปรับตัวลดลงและกินระยะเวลานาน จึงไม่น่าสนใจลงทุน สวนทางกับปีที่ผ่านมาที่หุ้นพลังงานเป็นตัวหนุนช่วยดึงให้ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นได้ถึง 20% แต่ปีนี้เกรงว่ากำไรหุ้นในกลุ่มนี้อาจจะไม่ดีนัก ภาพรวมดัชนีตลาดหุ้นทั้งปีจึงอาจขึ้นได้ไม่ถึง 10%
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการเงิน สำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตัวเลขอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ จนถึงครึ่งแรกของปี 52 อยู่ที่ประมาณ 5-6% ถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากภาครัฐและเอกชนมีอัตราการเติบโตของการลงทุนประมาณ 10% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าในปีนี้จะขาดดุลอยู่ที่ประมาณ 1.8% ของจีดีพี และจะเพิ่มเป็ฯ 2.5% ในปีหน้า ขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 4.5% และมองว่าในปีนี้รัฐบาลไม่จำเป็นที่จะต้องออกมาตรการอื่นๆ ออกมาอีก
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาด บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ บวกกับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งเป็นช่วงใกล้หยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ ทำให้นักลงทุนขายเพื่อลดความเสี่ยง แม้ตลาดคาดว่ากลุ่มพลังงานจะได้รับผลดี จากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นบ้าง
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ (11 มี.ค.) น่าจะแกว่งตัวแคบๆ เนื่องจากนักลงทุนย้ายไปเล่นหุ้นขนาดเล็กแทน โดยประเมินกรอบแนวต้าน 830 จุด แนวรับ 820 จุด แนะนำนักลงทุนทยอยซื้อสะสมหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจและการเร่งก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ รวมถึงกลุ่มธนาคารที่ได้รับประโยชน์จากยอดสินเชื่อขยายตัว
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้มีทิศทางอ่อนตัวลงต่อเนื่อง เหตุขาดปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระตุ้นตลาด บวกกับอยู่ในช่วงประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ของหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะประสบผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปัญหาซับไพรม์ จึงทำให้มีแรงขายลดความเสี่ยงออกมาในตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะเดียวกันนักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนเนื่องจากกำลังเข้าสู่วันหยุดยาวช่วงเทศกาล
"นักลงทุนต้องจับตากรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงมติสรุปผลการพิจารณาคดียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจากอาจกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุน ซึ่งหาก กกต. มีมติยุบพรรคจริง คาดว่าจะส่งผลกระทบในช่วงสั้นๆ เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากยังต้องรอคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญอีก โดยประเมินแนวรับที่ 815จุด และแนวต้านที่ 825 จุด"
จับตา2เดือนการเมืองระอุ
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณะบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปีนี้จะได้รับแรงหนุนจากเงินทุนไหลเข้า และการแข็งค่าของเงินบาท ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนก็คงจะมีการฟื้นตัวขึ้นระดับหนึ่งเฉพาะในบางภาคธุรกิจเท่านั้น คงจะไม่ปรับตัวดีขึ้นมานักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน แต่เชื่อว่าบรรยากาศการลงทุนน่าดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องจับตามองในช่วง 2 เดือนข้างหน้านี้ เป็นส่วนของปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่จะมีผลกระทบต่อภาวะการลงทุนทั้งในตลาดเงินและตลาดทุน ซึ่งหากภายใน 2 เดือนข้างหน้านี้ทุกอย่างไม่มีปัญหาตลาดหุ้นไทยน่าจะมีทิศทางที่สดใสพอสมควร
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทในภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มที่ผลประกอบการจะดีขึ้น จากมาตรการส่งเสริมของภาครัฐ และการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคเกษตรส่งออกจะดีขึ้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ก็คงจะทรงตัวเนื่องจากที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นมามากแล้ว และธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูง ก็คงจะมีผลกำไรไม่มากนักเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงขึ้น
"ในเรื่องการเมืองนั้นจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้ามีทิศทางไปในทางที่ดี ปัญหาน่าจะน้อยลง โดยในไตรมาสที่ 2 นี้ถือว่าอัตราการเติบโตเป็นการเติบโตต่ำสุดที่สุดเมื่อเทียบกับทุกไตรมาส แต่อย่างไรก็ตามครึ่งปีหลังเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นเพราะแรงกดดันของเงินเฟ้อ น่าจะขึ้นสูงสุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งอัตราเงินเฟ้ออาจจะขึ้นไปถึง 6% ซึ่งก็จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีปรับเพิ่มขึ้นมากพอสมควร ทางเราจึงปรับโดยประมาณการจาก 4 % เป็น 5 - 5.5 % ซึ่งระดับนี้สูงกว่าปีที่แล้วค่อนข้างมาก"นายอนุสรณ์กล่าว
สำหรับกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25%นั้น จะส่งผลกระทบต่อปัญหาความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นโดยเฉพาะธปท.จะมีภาระมากขึ้นในการจัดการกับเงินทุนไหลเข้า หากธนาคารกลางสหรัฐฯก้อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50 % ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยของไทยกับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นมาเป็น 1.50 % และจะส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ดังนั้น ในการประชุมครั้งต่อไปธปท.น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไปเพื่อลดส่วนต่างดังกล่าว
ด้านสมมติฐานสำคัญในการพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2551 ได้แก่ ผลกระทบที่เกิดจากการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สืบเนื่องมาจากปัญหาซัพไพรม รวมถึงปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองในประเทศ ประเด็นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นปัจจัยที่บั่นทอนความเชื่อมั่น และการขาดดุลการค้าที่สูง มีการขยายตัวของการนำเข้ามาก ราคาน้ำมันดิบสูงกว่าที่หลายสำนักคาดการณ์ ปัจจัยเหล่านี้จึงมองว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ 4.5 - 5% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อสิ้นปีที่แล้วที่ระดับ 4-5%
"การเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ ไตรมาส 2 จะมีอัตราการเติบโตต่ำสุดเมื่อเทียบกับทุกไตรมาส โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวจะอยู่ที่ 4 % และคาดว่าสถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้นหากไม่มีปัญหาทางการเมือง ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะเริ่มส่งผลในช่วงครึ่งปีหลังเช่นกัน"นายอนุสรณ์กล่าว
|
|
 |
|
|