Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2532
เทคโอเวอร์บัวหลวงประกันภัยความสำเร็จของอัศวินวิจิตร             
 


   
search resources

บัวหลวงประกันภัย
Insurance




เรื่องการเทคโอเวอร์บัวหลวงประกันภัย - บริษัทเน่า ๆ ที่เป็นราคีคาวของวงการประกันภัยอยู่ในเวลานี้ดูเหมือนจะไม่ยุติจบสิ้นเอาง่าย ๆ อย่างที่หลายฝ่ายคาดคิด

เพราะเพียงช่วง 2 สัปดาห์ในระยะปลายเดือนมกราคมต่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ สถานการณ์ทุกอย่างพลิกผันกลับตาลปัตรไปหมด

จากบริษัทเน่า ๆ ที่ไม่มีใครอยากจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ

กลายเป็นบริษัทเน่า ๆ ที่มีค่ามีราคาขึ้นมาได้

กลุ่มอัศวินวิจิตร และศรีเฟื่องฟุ้ง กว่าจะเข้าเทคโอเวอร์ได้ต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 66 ล้านบาท

แต่เดิมนั้น เรื่องบัวหลวงฯ จะจบลงได้โดยมีสมาคมประกันวินาศภัยของท่านนายกหญิงมาลินี เลียวไพรัตน์ เข้าช่วยโอบอุ้ม ทั้งนี้เพราะสมาคมฯ ได้รับการขอร้องจากชลอ เฟื่องอารมย์ ผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยให้เข้าช่วยรับภาระเรื่องกรมธรรม์ที่ยังไม่หมดอายุของบัวหลวงฯ

ในเมื่อจะต้องรับผิดชอบเรื่องกรมธรรม์ดังกล่าวแล้ว ไฉนเลยจะปล่อยให้ผู้อื่นคว้าเอาใบอนุญาตบัวหลวงฯ ไปอย่างสบาย ๆ โดยไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องหนี้สินและกรมธรรม์ ซึ่งคิดเป็นตัวเลขแล้วก็เกือบร้อยล้านบาทอยู่

สมาคมฯ จึงทำหนังสือถึง ดร.สุบิน ปิ่นขยัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้วยข้อเสนอว่า จะขอเปิดบริษัทประกันวินาศภัยแทนบัวหลวงฯ และพร้อมที่จะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยและประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการทำประกันภัยกับบัวหลวงฯ จำนวน 42 ล้านบาท นอกจากนี้ ก็จะรับภาระต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยของบัวหลวงฯ ที่ยังมีผลบังคับอยู่

ผู้ที่เป็นแกนของสมาคมฯ เพื่อล่าลายเซ็นต์จากสมาชิกให้ร่วมลงนามในหนังสือที่จะยื่นต่อรัฐมนตรีครั้งนี้ คือ ประสาน นิลมานัตต์ ผู้จัดการทั่วไปแห่งวิริยะประกันภัยนั่นเอง และการล่าชื่อครั้งนี้เกิดขึ้นในคืนวันศุกร์ที่ 27 มกราคมในงานเลี้ยงครบรอบ 60 ปีของบริษัทบางกอกสหประกันภัย โดยมีระดับบิ๊ก ๆ ของสมาคมฯ เป็นผู้ร่วมลงนาม ไม่ว่าจะเป็นท่านนายกหญิง - มาลินี, พิชัย จุฬาโรจน์มนตรี แห่งนิวแฮมเชอร์, ชัย โสภณพนิช แห่งกรุงเทพประกันภัย

หนังสือของสมาคมฯ ลงวันที่ 30 มกราคม 2532 แต่ยังไม่ทันจะยื่นก็กลับถอนเรื่องออกมาเสียก่อน โดยมาลินีอ้างในวันแถลงข่าวเรื่องบัวหลวงฯ เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ต่อมาว่า เพราะเอกชนที่เสอจะเทคโอเวอร์บัวหลวงฯ นั้นยินยอมรับเงื่อนไขเรื่องการชำระหนี้สินและรับผิดชอบเรื่องกรมธรรม์ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ด้วย

เอกชนรายนี้ไม่ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหนเลย พวกเขาก็คือ กลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งที่ "แหกคอก" ไม่ร่วมลงนามในข้อเสนอเทคโอเวอร์ของสมาคมฯ นั่นเอง

แท้จริงนั้น ผู้ที่ปรารถนาจะได้บัวหลวงฯ เป็นอย่างยิ่งหาใช่ตระกูลศรีเฟื่องฟุ้งทีเดียวไม่ เพราะสำหรับศรีเฟื่องฟุ้งนั้นก็มีบริษัทประกันภัยอยู่ถึง 2 แห่งแล้ว คือ ไทยศรีนครประกันภัย และคลังสินค้าแห่งหนึ่งกับ ร.ส.พ.ประกันภัยอีกแห่งหนึ่ง

ผู้ที่ต้องการจะได้บริษัทประกันภัยไว้ในเครือข่ายธุรกิจเป็นอย่างมาก คือ กรพจน์ อัศวินวิจิตร แห่งไทยเศรษฐกิจประกันชีวิตและสหธนาคารต่างหาก เพื่อที่จะได้เอามาเสริมให้กับธุรกิจธนาคารและค้าข้าวส่งออกของตระกูล

กลยุทธ์ของอัศวินวิจิตรนั้น อยู่ในประเทศรุกหนักและกล้าที่จะลงทุน ผลสำเร็จของวิธีการเช่นนี้ เห็นได้จากการขยายตลาดค้าข้าวออกไปได้อย่างกว้างขวางจนแสงทองค้าข้าวกลายเป็น 1 ใน 10 ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่กับทั้งมีการขยายธุรกิจเข้าไปสู่แวดวงธนาคาร กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งของธนาคารสหธนาคารด้วย

การที่อัศวินวิจิตรจับมือกับศรีเฟื่องฟุ้งนั้น เป็นผลในแง่บวก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า ศรีเฟื่องฟุ้งมีสายสัมพันธ์กับพรรคชาติไทยอย่างแน่นแฟ้นมาเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ กิจการสำนักงานประกันภัยยังอยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐมนตรีจากพรรคชาติไทย คือ รัฐมนตรีช่วยชูชีพ หาญสวัสดิ์ ซึ่งหลังจากปิดรับข้อเสนอจากกลุ่มต่าง ๆ ที่จะขอเทคโอเวอร์บัวหลวงฯ แล้ว รัฐมนตรีสุบิน ปิ่นขยัน ก็มอบเรื่องทั้งหมดให้รัฐมนตรีช่วยชูชีพไปดำเนินการพิจารณาคัดเลือกทันที

หนทางสะดวกสบายอย่างนี้แล้ว มีหรือบัวหลวงฯ จะหลุดเล็ดลอดไปจากมือกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งได้ !!

แต่กว่า "ศรีเฟื่องฟุ้งและอัศวินวิจิตรจะได้เข้าเทคโอเวอร์บัวหลงฯ ก็ต้องเล่นกำลังภายในกับกลุ่มเอื้อชูเกียรติ แห่งธนาคารเอเชีย ผู้เป็นเจ้าหนี้ส่วนตัวกับชาญชัย ตันกิติบุตร อยู่ 10 ล้านบาท และมุ่งหวังจะเข้าเทคโอเวอร์แข่งกับศรีเฟื่องฟุ้งด้วยเหมือนกัน

เอื้อชูเกียรติทราบดีว่า คู่แข่งที่มีเส้นสายกับ รมช.ชูชีพ ตนเองก็วิ่งสายตรงไปยังรมต.สุบิน เสียเลย

อย่างว่า แข่งอะไรก็แข่งได้แต่แข่งบุญบารมีและวาสนามันแข่งกันไม่ได้

แบงก์เอเชียของค่ายเอื้อชูเกียรติ ก็ปิ๋วตามระเบียบ ทั้ง ๆ ที่อยากได้ธุรกิจนี้ใจจะขาดเพื่อมาเกื้อหนุนกับธุรกิจแบงก์ แต่เนื่องจากฐานะของแบงก์อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูฐานะ การจะไปลงทุนในธุรกิจประกัน จึงถูกมองไปว่า ยังไม่เหมาะสม

ส่วนค่ายศรีเฟื่องฟุ้ง อัศวินวิจิตร ว่ากันว่า งานเทคโอเวอร์บัวหลวงฯ ครั้งนี้ กรพจน์เป็นตัวปิดอยู่ข้างหลัง เพื่อปล่อยให้ยืนยง โศภิษฐ์พงศธร ลูกเขย เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เป็นตัวเปิดในการวิ่ง LOBBY รัฐมนตรีช่วยชูชีพ

ว่ากันตามสภาพเป็นจริง ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่มีความจำเป็นด้านเทคโอเวอร์บัวหลวงฯ เท่าใดนัก เพราะมีธุรกิจนี้อยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ระดับสูงในสำนักงานประกันภัย กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า กลุ่มอัศวินวิจิตร โดยนายกรพจน์ ต่างหากที่อยากได้ เพราะยังไม่มีธุรกิจนี้ในมือ ถ้ามีแล้วก็จะเกื้อกูลประโยชน์ต่อธุรกิจธนาคาร การค้าส่งออกของตนเองอย่างมาก

ส่วนที่ว่ากลุ่มนี้มี บงล.จีเอฟ ของสารสาส และโอสถานุเคราะห์ ร่วมลงขันด้วยนั้น ก็มีเหตุผลเชิงธุรกิจรองรับ เพราะจีเอฟต้องการขยาย PORTFOLIO ในธุรกิจ HIRE PURCHASE และ CONSUMER-FINANCE การมีธุรกิจประกันภัยอยู่ในเครือข่ายด้วยก็มีประโยชน์ไม่น้อย

ความสำเร็จในการเทคโอเวอร์บัวหลวงฯ ของกลุ่มอัศวินวิจิตรและศรีเฟื่องฟุ้งครั้งนี้ เป็นอีกมิติหนึ่งในการทำธุรกิจเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจในลักษณะครบวงจร ทั้งกลุ่มอัศวินวิจิตรและศรีเฟื่องฟุ้ง ต่างก็มองเห็นว่า แนวโน้มธุรกิจกลุ่มตนเองกำลังเคลื่อนไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตระดับใหญ่ การแสวงหาฐานธุรกิจบริการ เพื่อหนุนไม่ว่าจะเป็นแบงก์ประกันภัย ย่อมมีประโยชน์ต่อยุทธศาสตร์ธุรกิจที่ว่านั้นแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us