|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไทยแอร์เอเชียสร้างภาพ ไม่เพิ่มค่าฟิวเซอร์ชาจ์ แต่หันมาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการฝากสัมภาระลงใต้ท้องเครื่อง 30-50 บาท ต่อกระเป๋า 1 ใบ อ้างเป็นการสร้างจิตสำนึกลดใช้พลังงานช่วยภาวะโลกร้อน ไม่หวั่นลูกค้าโวย เชื่อระยะยาวจะเกิดความเข้าใจ เผยปีนี้เน้นทำการตลาดในต่างประเทศ ตอกย้ำการรับรู้แบรนด์ ดึงต่างชาติมาใช้บริการ
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2551 ทางสายการบินจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการฝากสัมภาระลงใต้ท้องเครื่อง โดยหากผู้โดยสารสำรองบริการล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ ไทยแอร์เอเชีย คิดค่าบริการ 30 บาท ต่อกระเป๋าเดินทาง 1 ใบ แต่หากสำรองบริการที่สนามบินในวันเดินทาง จะคิดค่าบริการใบละ 50 บาท แต่ทั้งหมดต้องไม่เกินคนละ 3 ใบ โดยจะเรียกเก็บทุกเส้นทางบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ไม่นับรวมการคิดน้ำหนักของสัมภาระที่เกิน 15 กิโลกรัม ซึ่งผู้โดยสารจะต้องเสียค่าบริการเพิ่มอีกกิโลกรัมละ 80 บาท
ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมดังกล่าว เป็นการนำมาทดแทนการคิดค่าธรรมเนียมภาษีน้ำมันหรือฟิวเซอร์ชาร์จ ที่ปัจจุบันสำหรับเส้นทางบินภายในประเทศ สายการบินไทยแอร์เอเชีย เรียกเก็บกับผู้โดยสารที่คนละ 550 บาท ขณะที่สายการบินอื่นๆ เก็บที่ 650 บาท โดยไทยแอร์เอเชียจะมีส่วนต่างที่ถูกกว่าสายการบินอื่นๆอยู่ 100 บาท และเรายังไม่มีนโยบายปรับขึ้นค่าฟิวเซอร์ชาร์จอีกในช่วงนี้ จึงหันมาใช้วิธี เก็บค่าฝากสัมภาระทดแทน ซึ่งจากผลการสำรวจ พบว่า ผู้โดยสาร 80% มีกระเป๋าเดินทางที่จะใส่ลงใต้ท้องเครื่องเพียง 1 ใบต่อเที่ยว อีก 19% มีกระเป๋า 2 ใบ และมีเพียง 1% เท่านั้นที่จะมีกระเป๋ามากถึง 3 ใบ
“การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการฝากสัมภาระลงใต้ท้องเครื่องของไทยแอร์เอเชีย เมื่อนำไปรวมกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วก็ยังเชื่อว่าผู้โดยสารของเราจะเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ถูกกว่าสายการบินอื่น และวิธีนี้ยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้โดยสาร ให้ตระหนักเรื่องของการประหยัดพลังงาน และมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งระยะแรกๆ ผู้โดยสารอาจไม่เข้าใจ แต่เชื่อว่า ต่อๆไป ทุกคนจะรับได้กับวิธีนี้ เพราะนโยบายของเราเน้นว่า ใครใช้มากก็ต้องจ่ายมาก” นายทัศพลกล่าว
ปัจจุบัน อัตราค่าบริการ ที่ไทยแอร์เอเชียเรียกเก็บเพิ่มจากลูกค้า เช่น ค่าบริการคอลเซ้นเตอร์ครั้งละ 20 บาท ,ค่าธรรมเนียมการจอง 50 บาทต่อรายการ ค่าเปลี่ยนชื่อหรือเปลี่ยนไฟล์ท 750 บาทต่อครั้ง และ บริการเสริมเดินขึ้นเครื่องก่อนใครคนละ 100 บาท เป็นต้น
สำหรับผลประกอบการ ไตรมาสแรก ไทยแอร์ไทยเอเชีย ขนส่งผู้โดยสารได้ทั้งสิ้น 1.2 ล้านคน มีอัตราบรรทุกเฉลี่ยที่ 79% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการเติบโตในธุรกิจของไทยแอร์เอเชีย พร้อมกันนี้ได้ หยุดบินในเส้นทาง เซี้ยะเหมิน ประเทศจีน อย่างไม่มีกำหนด เพราะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เมืองดังกล่าวมีราคาแพงมาก โดยได้ปรับมาบินในเส้นทาง จาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย ทดแทน
อย่างไรก็ตาม ไทยแอร์เอเชีย จะเพิ่มการให้ความสำคัญการการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพราะ 65-75% ของผู้โดยสารไทยแอร์เอเชีย เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งรูปแบบ เน้นเข้าไปเป็นผู้สนับสนุน และหาพันธมิตรอื่นๆ เป็นการสร้างการรับรู้แบรนด์ และ เว็บไซน์ เพื่อให้เข้ามาจองตั๋วโดยสารผ่านในช่องทางนี้ เช่น ที่ผ่านมา เป็นผู้สนับสนุนให้กับ ฟอมูล่าวัน และ ทีมฟุตบอลแมนยู เป็นต้น เป็นผลให้ปัจจุบัน สายการบินไทยแอร์เอเชียเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก
|
|
|
|
|