Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์7 เมษายน 2551
บู๊ทส์ เขย่าบัลลังก์ วัตสัน งัด Regional Marketing ปะทะ Customer Insight             
 


   
search resources

บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย)
Retail
Marketing




บู๊ทส์ ชูไทยเป็นฮับภูมิภาคผลิตสินค้าสนองคนเอเชีย งัดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์แบบ Step Up ภายใต้ราคาเหมาะสม พร้อมเร่งขยายสาขาหวังชิงบัลลังก์ผู้นำ ขณะที่วัตสัน อัดกิจกรรมนอกร้าน รุกเข้าสวนลุมขยายฐานลูกค้า พร้อมเพิ่มช่องทางใหม่ด้วยการเปิดเว็บไซต์เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลสินค้าและโปรโมชั่นได้เร็วขึ้น จูงใจให้มาใช้บริการถี่ขึ้น

บู๊ทส์ ทุ่มงบ 15 ล้านบาท ย้ายสำนักงานจากตึกชาญอิสสระ 2 มาสู่ สำนักงานที่บิ๊กซี ราชดำริ เพื่อยกระดับตลาดเมืองไทยให้เป็น ฮับ ของภูมิภาค โดยจะมีการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของคนเอเชีย ซึ่งจากเดิมเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากสหราชอาณาจักร และ ประเทศต่างๆในยุโรป

อย่างไรก็ดี บู๊ทส์ ได้เริ่มว่าจ้างบริษัทในเมืองไทยผลิตสินค้าให้มาก่อนหน้านี้ 5-6 ปี และค่อยๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสินค้าที่ผลิตขึ้นเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคในเอเชียได้อย่างดี จึงส่งผลให้ได้รับการตอบรับมากขึ้น

ทั้งนี้ บู๊ทส์ มีสินค้าเฮาส์แบรนด์ภายใต้ชื่อ บู๊ทส์ กว่า 700 รายการ และมีแผนเพิ่มเป็น 1,500 รายการภายใน 18 เดือน โดยสินค้าเฮาส์แบรนด์เหล่านี้สามารถสร้างสัดส่วนรายได้ให้กับบริษัทคิดเป็นสัดส่วน 50% ส่วนอีก 50% เป็นอินเตอร์แบรนด์ที่จำหน่ายในร้าน

แม้ว่าภาพลักษณ์ของบู๊ทส์ จะเป็นผู้นำในเรื่องของร้านยา ทว่าทางบริษัทได้วางโพสิชันนิ่งให้เป็น Health & Beauty Store ซึ่งเท่ากับว่าบู๊ทส์ ต้องการที่จะชิงตลาดกับวัตสันโดยตรง โดยกลยุทธ์หลักที่ใช้ในการขยายฐานลูกปค้าใหม่ และเพิ่มความถี่ในการใช้สินค้าให้กับลูกค้ากลุ่มเดิมคือ การพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการและดีกว่าคู่แข่ง ในราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังต้องผลักดันสาขาให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้มากที่สุด เช่น การมีสาขาตามห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เกต คอมมูนิตี้มอลล์ อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่ห้องแถวตามชุมชนเช่นย่านเยาวราช และยังขยายสาขาไปถึงต่างจังหวัด

ปัจจุบันบู๊ทส์ มีสาขา 141 แห่ง ขณะที่วัตสันมีสาขา 145 แห่ง ทว่าเป้าหมายของบู๊ทส์คือการขยายสาขาปีละ 20 สาขา ขณะที่ วัตสันมีแผนขยายสาขาปีละ 10 กว่าแห่ง ซึ่งจะทำให้บู๊ทส์มีโอกาสขยายสาขาแซงหน้าวัตสันได้ภายใน 1-2 ปีนี้ โดยบู๊ทส์ มองว่าควรมีสาขาในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 250 แห่งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั่วประเทศ

ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องตลาดมิให้เสียให้กับคู่แข่ง ทางวัตสันจึงมีการชูเรื่อง Customer Insight เพื่อให้ลูกค้าเกิดลอยัลตี้กับร้าน

“ในปีนี้ เราจะต่อยอดในการเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคชาวไทย โดยจะมีการนำเสนอกิจกรรมแบบอินเตอร์แอกทีฟให้ลูกค้ามีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เราใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น” โทบี้ แอนเดอร์สัน ผู้จัดการทั่วไป เซ็นทรัล วัตสัน กล่าว

ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาวัตสันมีการทำกิจกรรม Watson Good Heart Smart Health โดยจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพให้กับลูกค้า พร้อมบริการตรวจสุขภาพฟรี ณ สวนสาธารณะ 2 แห่งคือที่สวนลุม และสวนรถไฟ ส่วนในปีนี้จะโฟกัสไปที่สวนลุมเท่านั้น ทว่าเพิ่มระยะเวลาการจัดเป็นกิจกรรมที่ให้บริการเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งช่วยขยายฐานลูกค้าให้กับวัตสัน เนื่องจากลูกค้าหลักคือ กลุ่มวัยรุ่นและคนเริ่มต้นทำงานอายุ 20-30 ปี ส่วนกลุ่มรองคือกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ในขณะที่กลุ่มคนที่มาใช้บริการในสวนสาธารณะส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่ใส่ใจสุขภาพมากกว่าวัยอื่นๆ

นอกจากนี้วัตสันยังเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายด้วยการทำเว็บไซต์ของตัวเอง เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางบริษัทได้ทำโครงการ You Awards ซึ่งเป็นการประกวดแบบอินเตอร์แอกทีฟออนไลน์โดยมีการสร้างเว็บไซต์เฉพาะกิจเพื่อให้ผู้บริโภคได้แสดงเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น ผมสวย ใบหน้าเป็นมิตร ริมฝีปากเสน่ห์ รูปร่างดี พร้อมเปิดโอกาสให้มีการโหวตซึ่งได้รับการตอบรับกว่า 190,000 โหวต ทำให้บริษัท ตัดสินใจผลิตเว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งมีทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพและผลิตภัณฑ์ โปรโมชั่นใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ลูกค้ารับทราบข้อมูลรวดเร็วและเข้ามาใช้บริการถี่ขึ้น

ในขณะที่บู๊ทส์เองก็พยายามจะขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มหลักที่เป็นผู้หญิงระดับปานกลางไปถึงระดับบน มาสู่ตลาดระดับ B+ และ C- เนื่องจากเป็นฐานตลาดที่กว้างขึ้น โดยใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์และราคาเป็นตัวนำ เนื่องจาก บู๊ทส์ มีไลน์ผลิตภัณฑ์หลากหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ระดับกลาง ไปถึงระดับบน ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ตอบสนอง โดยมีการแนะนำผลิตภัณฑ์แบบ Step Up คือการทำให้ลูกค้าที่เริ่มต้นใช้สินค้าประเภทนั้นๆขยับขึ้นมาใช้สินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าราคาก็ต้องขยับตามขึ้นมา แต่เมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วจะต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความคุ้มค่ามากกว่า โดย TRUST เป็นคอนเซ็ปต์แบรนด์ของ บู๊ทส์ ซึ่งย่อมาจาก Trust, Respect, Understanding, Simplicity และTogether

“เภสัชกรของเราไม่ได้แค่แนะนำเรื่องยาและสุขภาพแต่ยังสามารถให้ความรู้เกี่ยวกับความงามแก่ลูกค้าด้วย” เอียน ฮันเตอร์ กรรมการผู้จัดการ บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us