Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 เมษายน 2551
กลุ่มปตท.กดหุ้นพลังงานวูบ12.47%-ขาใหญ่หยุดเทรด             
 


   
search resources

Stock Exchange




ปัจจัยใน-นอกประเทศรุมเร้าทั้งซับไพรม์-การเมือง กดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ไตรมาสแรกดัชนีร่วงจากสิ้นปี 50 กว่า 41 จุด หรือเกือบ 5% นำโดยกลุ่มพลังงาน 12.47% หลังหุ้นเครือปตท. ที่ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว จนทำให้ราคาหุ้นร่วงถ้วนหน้า ระบุ "PTT-TOP-PTTEP" 3 เดือนปรับตัวดลลง 15.96%, 19.08% และ 7.93% ตามลำดับ ด้านโบรกเกอร์ แนะไตรมาส 2 หุ้นกลุ่มการเงิน-อสังหาฯ ยังโดดเด่น รับปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ขณะที่ขาใหญ่หยุดเทรด ถือเงินสด คาดเงินเฟ้อ เม.ย.-พ.ค. พุ่ง 10% กดดันหุ้นไทยรูดเหลือ 600 จุด

ผู้จัดการรายวันได้สำรวจภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยไตรมาส 1/51 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 51 ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากสิ้นปี 2550 ก่อนจะปิดที่ 817.03 จุด (31 มี.ค.) มูลค่าการซื้อขายรวม 1,187,312.92 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 18,846.24 ล้านบาท โดยดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุด 845.76 จุด ( 29 ก.พ.) และต่ำสุดที่ 728.58 จุด (24 ม.ค.) มีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 13,889.29 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 3,742.09 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 17,631.38 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการซื้อขายสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กลุ่มทรัพยากร 444,148.67 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจการเงิน 277,501.50 ล้านบาท กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 163,270.67 ล้านบาท กลุ่มบริการ 107,292.55 ล้านบาท กลุ่มเทคโนโลยี 94,883.34 ล้านบาท กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม 39,026.20 ล้านบาท กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 17,371.21 ล้านบาท และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 2,864.80 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบภาวะการลงทุนไตรมาส 1/51 กับงวดสิ้นปี 50 ปรากฏว่า ดัชนีตลาดหุ้นปรับลดลง 41.07 จุด คิดเป็น 4.79% จาก 858.10 จุด เป็น 817.03 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 17,095.05 ล้านบาท เป็น 18,846.24 ล้านบาท

หากแยกพิจารณาเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 88.19 จุด เป็น 90.63 จุด หรือเพิ่มขึ้น 2.77% กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นจาก 131.07 จุด เป็น 133.13 จุด หรือ 1.57% กลุ่มธุรกิจการเงินเพิ่มขึ้นจาก 97.00 จุด เป็น 98.28 จุด หรือ 1.32% และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างเพิ่มขึ้นจาก 70.61 จุด เป็น 71.37 จุด หรือ 1.08%

ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ประกอบด้วย กลุ่มทรัพยากรปรับลดลงจาก 193.95 จุด เหลือ 169.78 จุด หรือลดลง 12.46% กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมปรับลดลงจาก 87.76 จุด เหลือ 81.56 จุด หรือ 7.06% กลุ่มบริการปรับลดลงจาก 119.49 จุด เหลือ 114.25 จุด 4.39% และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคปรับลดลงจาก 90.91 จุด เหลือ 88.96 จุด 2.14%

โดยปัจจัยสำคัญที่กดดันให้กลุ่มทรัพยากรที่ปรับลดลงไปมากที่สุดถึง 12.46% เนื่องจากหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคปรับลดลงกว่า 12.47% นำโดยหุ้นบมจ.ปตท. (PTT) ที่ราคาลดลง 60 บาท คิดเป็น 15.96% ปิดที่ 316 บาท บมจ.ไทยออยล์ (TOP) ลดลง 16.50 บาท คิดเป็น 19.08% ปิดที่ 70 บาท และบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ลดลง 13 บาท คิดเป็น 7.93% ปิดที่ 151 บาท ขณะที่หุ้น BANPU ยังแข็งแกร่งปรับเพิ่มขึ้น 16 บาท คิดเป็น 4% ปิดที่ 416 บาท

ตลาดหุ้นQ1ปัจจัยนอกรุมเร้า

นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 1/51 ปรับลดลงจากช่วงสิ้นปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายที่ชัดเจน จนส่งผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ และขยายวงกว้างสู่เศรษฐกิจทั่วโลก

ขณะเดียวกัน นักลงทุนส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกจะกระเตื่องขึ้นได้ แม้รัฐบาลจะมีการออกมาตรการต่างๆ ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในแง่การดำเนินการจริงยังคงไม่ได้เริ่ม บวกกับปัญหาทางการเมืองในประเทศยังไม่คลี่คลายจนส่งผลด้านจิตวิทยาของนักลงทุนได้

สำหรับกลุ่มทรัพยากรที่ปรับลดลงมา เกิดจากหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค นำโดย PTT, PTTEP และ TOP ปรับตัวลดลงจากช่วงสิ้นปีค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่ผันผวน รวมถึงการเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุน แต่เมื่อสถานการณ์ในตลาดหุ้นไม่เอื้อ ทำให้นักลงทุนต้องการลดความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหุ้น ดังนั้นหุ้นในกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มแรกๆ ที่จะถูกเทขายออกมา

นอกจากนี้ PTT ยังได้รับผลกระทบจากกรณีคำสั่งศาลปกครองสูงสุดให้โอนทรัพย์สินส่วนใหญ่คืนกระทรวงการคลัง จึงส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น รวมถึงในช่วงปลายไตรมาสแรกหุ้นกลุ่มพลังงานได้ประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล จึงทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงด้วย

ส่วนกรณีที่ดัชนีหุ้นกลุ่มธุรกิจการเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าผลประกอบการไตรมาส 1/51 ของธนาคารจะออกมาดี หลังจากที่กลุ่มสถาบันการเงินไม่ต้องตั้งสำรองตามมาตรฐานบัชญีใหม่เหมือนปีที่แล้ว และยังคาดว่าธนาคารจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนในประเทศ เช่นเดียวกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่จะเริ่มเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาส 2/51 เป็นต้นไป

ไตรมาส2อิงการเมืองในปท.

นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้นถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก หุ้นที่ผูกติดกับปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และส่งออก ที่ปรับตัวลดลงในไตรมาสแรกที่ผ่านมา จากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

กลุ่มที่สอง หุ้นที่ผูกติดกับปัจจัยในประเทศ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยี มีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากการมีรัฐบาลชุดใหม่ บวกกับการได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

สำหรับแนวโน้มไตรมาส 2/51 นั้น คาดว่าหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร และเทคโนโลยี จะยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนเหมือนเดิม เนื่องจากจะเป็นช่วงที่มาตรการภาษีของทางการเริ่มประกาศใช้ และความชัดเจนของโครงการเมกะโปรเจกต์ แต่จะมีปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ หากเสถีรภาพของรัฐบาลมีปัญหา ทำให้การเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ทำไม่ได้ จะส่งผลลบกับตลาดหุ้นได้

หุ้นอสังหาริมทรัพย์โดดเด่น

นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีฟิท กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 1/51 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท เพื่อโยกเงินลงทุนไปยังตราสารที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ขณะที่ไตรมาส 2 หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์จะโดดเด่น หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์

ส่วนกลุ่มพลังงาน ในส่วนที่เป็นโรงกลั่นจะดีขึ้น เนื่องจากค่าการกลั่นที่สูงขึ้น ตามปริมาณการใช้น้ำมันเชื่อเพลิงเพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ขณะที่กลุ่มธนาคารคาดว่าจะทรงตัวหรือปรับขึ้นไม่มากนัก เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มที่ดี รับเรื่องเทคโนโลยี 3G และการปรับขึ้นของราคาสินค้าเกษตร ตามลำดับ

นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ในปีนี้ความสามารถในการทำกำไรของหุ้นในกลุ่มพลังงานลดลง หลังจากผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว บวกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้พลังงานทดแทน ขณะเดียวกันนักลงทุนเปลี่ยนมาลงทุนในหุ้น ที่อิงกับปัจจัยภายในประเทศแทน แทน อาทิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่คาดว่าผลการดำเนินจะค่อนข้างโดดเด่น หลังจากไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่มเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จะได้รับประโยชน์จากมาตรการภาษีของรัฐบาล

ขาใหญ่ฟันธงหุ้นไทยเหลือ600จุด

นายศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ นักลงทุนรายใหญ่ หรือ "ศิริวัฒน์-แซนวิช" เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยจะถือเงินสดไว้ก่อน เนื่องจากปัจจัยการเมืองที่มีความไม่นอนในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ประเด็นในเรื่องการยุบพรรคการเมือง และปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจ ที่ราคาสินค้าต่างๆปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าในเดือนเมษายน และพฤษภาคมนี้ เงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ 10% ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเหลือ 600 จุด

ทั้งนี้ จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบกับดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวลดลงเหมือนกับประเทศตลาดหุ้นจีนและเวียดนามที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาอย่างมาก โดยตลาดหุ้นเวียดนามดัชนีได้ปรับตัวลดลงจาก 1,000 จุด เหลือ ประมาณ 500 จุด

"ตอนนี้ผมจะไม่ลงทุนในตลาดหุ้นไทย หรือลงทุนน้อยมาก โดยต้องการที่จะถือเงินสดไว้ก่อน จากปัจจัยการเมืองที่ไม่นิ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คดียุบพรรค และปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่ง 2 ปัจจัยทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่ได้ โดยหากดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 600 จุด ถือว่าน่าลงทุน" นายศิริวัฒน์ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us