ธนาคารกรุงไทย เผยยอดรวมสินเชื่อ SMEs ณ สิ้นเดือนเมษายนรวมกว่า 3.17 แสนล้านบาท
ขณะที่ 5 เดือนแรก ปล่อยสินเชื่อ ไปแล้วกว่า 7,000 ล้านบาท มั่นใจปีนี้จะปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าเหมาย
2.9 หมื่น ล้านบาท พร้อมจับมือกับองค์กรเครือข่ายร่วมพัฒนา SMEs จัดสัมมนาเสริมสร้าง
ความรู้เชิงวิชาการ และพัฒนาทักษะให้กับลูกค้าและผู้ประกอบการที่สนใจ ด้านกระทรวงการคลัง
ยันแบงก์รัฐลดอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อความอยู่รอดของธนาคาร
นายทินกร บุณยกะลิน ผู้อำนวยการฝ่ายและผู้บริหาร ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนา SMEs บมจ.
ธนาคาร กรุงไทย เปิดเผยว่า ยอดรวมสินเชื่อ SMEs ของธนาคาร ณ เดือนเมษายน อยู่ที่
317,683 ล้านบาท โดยในช่วง 5 เดือนแรก ธนาคารปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 7,000 ล้านบาท
โดยเน้นทั้งภาคการผลิต บริการ และค้าส่ง ค้าปลีก เป็นหลัก คาดว่าปีนี้จะปล่อย สินเชื่อได้ตามเป้า
2.9 หมื่นล้านบาท สำหรับแผนการดำเนินงานเพื่อขยายขอบเขตการสนับสนุนธุรกิจ SMEs
นั้น นายทินกร กล่าวว่า ภายหลังการจัดโครงการ SMEs-KTB AWARD 45 เสร็จสิ้นไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ธนาคารยังมีแผน การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคมนี้ ธนาคารได้ร่วมกับองค์กรเครือข่าย
ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และหอการค้าจังหวัด จัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการสัญจร
เพื่อพัฒนาความรู้ และแนวคิดสร้างสรรค์ ในเชิงวิชาการ รวมทั้งเทคนิคต่างๆ ใน การบริหารจัดการที่ผู้ประกอบการควร
รู้ โดยการจัดสัมมนาแต่ละครั้ง ธนาคารได้สำรวจความสนใจของลูกค้า เพื่อกำหนดหัวข้อ
และจัดหลักสูตรของการสัมมนาให้ตรงกับความต้อง การของลูกค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพในการ
ประกอบธุรกิจ และนำไปสู่ความพร้อมในการแข่งขัน
การจัดสัมมนาจะจัดขึ้น 9 ครั้ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เริ่มจากที่จังหวัดขอนแก่น
อุบลราชธานี ระยอง ราชบุรี พิษณุโลก ลำปาง สุราษฎร์ธานี อำเภอ หาดใหญ่ และกรุงเทพฯ
โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมสัมมนาครั้งละประมาณ 200 คน ซึ่งจะเป็นการเปิดเวทีพบปะระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริหารธนาคาร
เพื่อให้ผู้ประกอบการรับทราบนโยบายและแนวทางการขอสินเชื่อได้ตรงตามวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
คลังยันแบงก์กรุงไทยลดดอกเบี้ย
ตามกลไลตลาดเพื่อความอยู่รอด
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึง กรณีการปรับลดดอกเบี้ยเงินของธนาคารกรุงไทยในฐานะที่เป็นธนาคารของรัฐบาล
ว่าเป็นการปรับลดดอกเบี้ย ทั้งเงินกู้ และดอกเบี้ยเงินฝากในสัด ส่วน 0.75% เท่ากัน
ซึ่งการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ถือว่าเป็นไปตามกลไกของตลาด ซึ่งธนาคารแต่ละ
แห่งจะมีคณะกรรมการในการพิจารณา และดูแลเรื่องการลดดอกเบี้ยอยู่แล้ว
"แบงก์จำเป็นต้องลด เพราะหากธนาคารไม่ลดดอกเบี้ยลง ในขณะที่แบงก์อื่นแล้วนั้น
แบงก์ก็อาจตายได้ เนื่องจากมีเงินฝากไหลเข้ามาในระบบมาก ดังนั้นจึงต้องให้เป็นไปตาม
ลูกโซ่ ส่วนที่ ห่วงว่าประชาชนจะเดือด ร้อนนั้นก็ถือว่ารัฐได้พยายามทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว"
ร.อ.สุชาติ กล่าว