Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 มิถุนายน 2546
ไอเอฟซีทีเล็งแก้กฎหมายขายหุ้นต่ำพาร์ให้รายย่อย             
 


   
search resources

ธนชาต, บล.
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
อโนทัย เตชะมนตรีกุล




บอร์ดไอเอฟซีที อนุมัติเพิ่มทุน 300 ล้านหุ้น ราคา 10 บาท ควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ 2 ล้าน หน่วย และวอร์แรนต์ 60 ล้านหน่วย คาดดำเนินการได้ไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วนการขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปปีหน้า เพราะต้องแก้ พ.ร.บ. เพื่อขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์ให้ราย ย่อยได้ ด้านโบรกเกอร์คาดปีนี้พลิกขาดทุนเป็นกำไร

คณะกรรมการบรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แจ้ง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีมติอนุมัติให้บรรษัทฯจัดสรรและ จำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 300 ล้านหุ้น ควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิจำนวน 2 ล้านหน่วย และใบสำคัญ แสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญของบรรษัท(วอร์แรนต์) จำนวน 60 ล้านหน่วย โดยเสนอขายเป็นการเฉพาะเจาะจงให้แก่กระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน และธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และมีลักษณะเฉพาะตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง พร้อม ทั้งสำรองหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 60 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว

โดยกระทรวงการคลัง ได้รับการจัดสรร 254.19 ล้านหุ้น หุ้นกู้ด้อยสิทธิ 1.6 ล้านหน่วย วอร์แรนต์ 50 ล้านหน่วย ธนาคารออมสิน ได้รับการจัดสรร 30.66 ล้านหุ้น 2 แสนหน่วย 6.13 ล้านหน่วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับการจัดสรร 15.13 ล้านหุ้น 1 แสนหน่วย 3 ล้านหน่วย

เล็งแก้พ.ร.บ.ขายหุ้นต่ำพาร์ให้รายย่อย

นายอโนทัย เตชะมนตรีกุล กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมไทย (IFCT) เปิดเผยว่า การขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปยังไม่สามารถดำเนินการได้ภายในปีนี้ เนื่องจาก จะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายเฉพาะในการจัดตั้งบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามขายหุ้นต่ำกว่าราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) ระดับ 10 บาท ดังนั้นจึงต้องรอให้มีการแก้ไขกฎหมาย พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้

ส่วนการเพิ่มทุนก้อนแรกคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ประมาณไตรมาส 3 นี้ จากมติของบริษัทที่ได้อนุมัติไว้ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 8 พันล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 1.2 หมื่นล้านบาท เป็น 2 หมื่นล้าน บาท โดยการออกหุ้นสามัญจำนวน 800 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งเป็นการจัดสรรจำหน่ายเป็นหุ้นสามัญ หุ้นกู้ด้อยสิทธิและวอร์แรนต์

สำหรับการเพิ่มทุนของบริษัทครั้งนี้จะสร้าง ฐานทุนที่แข็งแกร่งให้บรรษัท และเพิ่มความสามารถในการขยายสินเชื่อ ซึ่งปีนี้บริษัทมีเป้าหมายปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้น 3.6 หมื่นล้านบาท จาก สิ้นปี 2545 ที่ผ่านมาสามารถปล่อยสินเชื่อได้ 3.3 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดสินเชื่อมีการเติบโตประมาณ 4% ส่วนเป้าหมายในการยกระดับขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ จะเกิดขึ้นหลังการเพิ่มทุน

สำหรับรายละเอียดของหุ้นสามัญจำนวน 300 ล้านหุ้น ราคาเสนอขาย 10 บาท ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ 10 บาท หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ชื่อว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิไอเอฟซีทีรุ่น SD 3/2546 ครบกำหนด ไถ่ถอนปี พ.ศ.2556 ไม่มีหลักประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวนที่เสนอขาย 2 ล้านหน่วย มูลค่าที่ตราไว้ 1,000 บาทต่อหุ้น ราคาเสนอขาย 1,000 บาทต่อหน่วย ราคาไถ่ถอน 1,000 บาทต่อหน่วย อายุ 10 ปี นับจากวันออกหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 18.02 ต่อปี โดยคำนวณจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ณ สิ้นวัน เฉลี่ยย้อนหลัง 5 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2546 บวกร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งเท่ากับร้อยละ 3.23 ต่อปีและบวกอัตราชดเชยส่วนต่างราคาหุ้นสามัญ ในตลาดและราคาที่เสนอขาย พร้อมดอกเบี้ย อีก ร้อยละ14.79 ต่อปี

ส่วนต่างราคาหุ้นสามัญในตลาดและราคาที่เสนอขาย ราคาหุ้นสามัญในตลาดกำหนดจากราคาปิดของหุ้นสามัญบรรษัทในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เฉลี่ยย้อนหลัง 90 วันทำการนับตั้งแต่ วันที่ 17 มิถุนายน 2546 เท่ากับ 5.48 บาทต่อหุ้น คิดเป็นส่วนต่างจากราคาที่เสนอขายเท่ากับ 4.52 บาทต่อหุ้น 5 ปีหลัง หากบรรษัทไม่ใช้สิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิก่อนกำหนดจะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในอัตรา MLR เฉลี่ย ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ธ.กรุงไทย ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย และธ.ไทยพาณิชย์ ลบร้อยละ 2 ต่อปี โดยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.23 ต่อปี งวดชำระดอกเบี้ย ปีละ 2 งวด ทุก 6 เดือน สิทธิ ของบรรษัทในการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด ในวันที่หุ้นกู้มีอายุครบห้าปี บรรษัทมีสิทธิไถ่ถอน หุ้นกู้ก่อนครบกำหนดได้ทุกงวดชำระ ดอกเบี้ยตลอดอายุที่เหลืออยู่ ในราคาเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ภายใต้เงื่อนไขว่าการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด เฉพาะบางส่วนจะกระทำมิได้และผู้ออกหุ้นกู้ได้รับอนุญาตให้ทำการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดตามประกาศหรือข้อบังคับ ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้บังคับกับผู้ออกหุ้นกู้ (ถ้ามี) โดยการแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันไถ่ถอน หุ้นกู้ก่อนกำหนด

วอร์แรนต์จำนวน 60 ล้านหน่วย ไม่มีราคา เสนอขาย การใช้สิทธิเท่ากับ 5.48 บาทต่อหุ้น สัดส่วนการใช้สิทธิ 1 วอร์แรนต์ต่อ 1 หุ้นสามัญ อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 3 ปี เงื่อนไขการใช้สิทธิ ผู้ถือวอร์แรนต์สามารถใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบรรษัทได้ต่อเมื่อมีการแก้ไข พระราชบัญญัติ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2502 ซึ่งทำให้บรรษัทสามารถออก และเสนอขายหุ้นสามัญในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ (par) ได้โดยใช้สิทธิได้ทุกวันที่ 20 ของแต่ละเดือน

โบรกชี้ปีนี้พลิกขาดทุนเป็นกำไร

นักวิเคราะห์จาก บล.ธนชาติ เปิดเผยว่า คาดว่าการเพิ่มทุนล็อตแรกจะเกิดขึ้นภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ จากการปรับโครงสร้างต้นทุน เข้าสู่สมดุล ต้นทุนของดอกเบี้ยจ่ายจะลดลง โดยคาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) จะดีค่อยๆดีขึ้นจาก 0.39% ในไตรมาส 1/46 เป็น 0.49% ภายในปีนี้ และจะดีขึ้นอย่างโดดเด่นในปีหน้าเป็น 0.81% ส่งผลให้เป้าสินเชื่อขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5% ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า สอด คล้องกับการขยายตัวของ GDP ในปัจจุบัน ส่วนภาระสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญคาดว่าน่าจะตั้งในลักษณะ Normalized provisioning คือปีละประมาณ 600 ล้านบาท ดังนั้น จึงคาดว่า ปีนี้จะเป็นปีแรกที่ IFCT พลิกกลับมามีกำไรสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี จำนวน 252 ล้านบาท คิดเป็น 0.22 บาท/หุ้น

ส่วนปีหน้าคาดว่ากำไรจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 995 ล้านบาท คิดเป็น 0.86 บาท/หุ้น (แต่จะเหลือ 0.64 บาท หากรวม PP) ผลกระทบจากการลดลงของกำไรต่อหุ้นจะทำให้ P/E ปีหน้าสูงสุดแค่ 9.65 เท่า ถือว่าน่าสนใจมากเมื่อเทียบอัตราการเติบโตของกำไรแบบก้าวกระโดด และการเตรียมยกระดับเป็นธนาคารเฉพาะกิจ อย่างรวดเร็วน่าจะเกิดขึ้นภายในสิ้นปีหน้า ซึ่งนอกจากจะทำให้รับฝากเงินได้ ซึ่งจะช่วย ลดต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายได้อีก 25-50 เบสิคพอยท์ ยังหมายถึงโอกาสในการเสนอบริการที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นวงเงินเกินบัญชี (O/D) การใช้เช็ค และที่สำคัญที่สุดคือการขยายฐานลูกค้าไปสู่ภาค รัฐวิสาหกิจ

บล.ธนชาติ ให้ราคาเป้าหมายสิ้นปีนี้ที่ 7.81 บาท ปีหน้า 8.84 บาท อิงราคาต่อมูลค่าบัญชี(P/B) 1.2 เท่า เพราะปีนี้เป็นปีแรกที่มีกำไรสุทธิเป็นบวก (อดีตซื้อขายที่ 0.7-0.8 เท่าของราคาตามมูลค่าบัญชี (BV) เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยติดลบ อย่างไรก็ตาม ราคาเป้าหมาย รวมถึง ประมาณการอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากการเพิ่ม ทุน PP ที่จะทราบรายละเอียดภายในอาทิตย์นี้ ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

สำหรับวันประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2546 ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2546 เวลา 14.30 น. ณ ห้องวิวัฒนไชย ชั้น 8 อาคารไอเอฟซีที ทาวเออร์ เลขที่ 1768 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อกำหนด สิทธิในการเข้าร่วมประชุมตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม 2546 เวลา 12.00น. ถึงวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2546

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us