Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543
ก่อนถึงจุดแตกหัก             
 

   
related stories

หนี้ก้อนใหญ่ TPI ยังไม่จบง่ายๆ

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์




2 กรกฎาคม 2540-หลังประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท TPI ต้องประสบกับปัญหาขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนโดยฉับพลัน จากหนี้สินรวมที่สูงถึง 3,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้กว่าครึ่งเป็นหนี้สินต่างประเทศ

กันยายน 2540-ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประกาศหยุดชำระหนี้ก้อนดังกล่าว ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย

15 มกราคม 2541-เริ่มมีกระแสข่าวว่ากลุ่มเจ้าหนี้บังคับให้ TPI ขายทรัพย์สิน และหุ้น ให้กับนักลงทุนต่างชาติ แต่ผู้บริหาร TPI ออกมาปฏิเสธข่าวนี้

20 สิงหาคม 2541-เจ้าหนี้ต่างประเทศ 15-20 ราย ประชุมหาแนวทางดำเนิน การเกี่ยวกับหนี้ก้อนนี้ ที่ครบชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ขณะที่ TPI เริ่มส่งแผนการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับเจ้าหนี้พิจารณา

9 กันยายน 2541-ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาประนอมหนี้ให้กับ TPI ซึ่งเจ้าหนี้รายใหญ่กว่าครึ่งสนใจที่จะแปลงหนี้เป็นหุ้น

3 ธันวาคม 2541-การเจรจาระหว่าง TPI กับเจ้าหนี้จำนวน 148 ราย ได้ข้อสรุปเบื้องต้นที่จะจัดทำแผนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยมีสาระคือจะมีการแปลงหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระจำนวน 300-400 ล้านดอลลาร์เป็นทุน ซึ่งคิดเป็น 30% ของทุนจดทะเบียนของ TPI และจะมีการยืดหนี้ระยะสั้นจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท เป็นหนี้ระยะยาว 5 ปี ส่วนหนี้อีก 7 หมื่นล้านบาท จะยืดอายุเป็น 8-10 ปี

กุมภาพันธ์ 2542-TPI และเจ้าหนี้ ได้เห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างหนี้ที่ร่างขึ้นเป็นเอกสารสัญญา (Term Sheet) จำนวน 70 หน้า มีเนื้อหาใกล้เคียงกับข้อสรุปเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2541

พฤษภาคม 2542-เจ้าหนี้ ส่งมอบร่าง Term Sheet ที่ได้แปลงเป็นข้อตกลงแล้ว ให้กับบริษัท แต่ได้มีการร่วมกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง ระหว่างเจ้าหนี้ และ TPI ในเวลาต่อมา

ตุลาคม 2542-TPI รับมอบร่าง Term Sheet ที่ได้มีการแก้ไขครั้งหลังสุด ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบร่วมกันแล้วทั้ง 2 ฝ่าย

8 พฤศจิกายน 2542-แบงก์กรุงเทพ เจ้าหนี้รายใหญ่ของ TPI ออกมาแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถสรุปแผนการปรับโครงสร้างหนี้ได้เร็วๆ นี้ เพราะเจ้าหนี้ทั้งหมดยอมรับหลักการเบื้องต้น แต่ยังติดรายละเอียดบางประการ โดยเฉพาะประเด็นที่ TPI ต้องการจะเพิ่มทุน

9 พฤศจิกายน 2542-รัฐบาลแสดงท่าทีชัดเจนที่จะเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของ TPI เพราะเห็นว่าหากการเจรจาไม่สำเร็จ จะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นตัวประสานงาน

1 ธันวาคม 2542-ปมความขัดแย้งเริ่มปะทุขึ้นเมื่อ TPI ยื่นเงื่อนไขใหม่ให้เจ้าหนี้ โดยต้องการเพิ่มทุน 1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ทั้ง 148 ราย แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมเพราะผิดเงื่อนไขใน Term Sheet ที่ทำกันไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์

3 ธันวาคม 2542-คณะกรรมการเจ้าหนี้ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับแรก ยืนยันดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ใน Term Sheet พร้อมทั้งกำหนดให้ TPI ต้องเซ็นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ในวันที่ 17 มกราคม 2543 มิฉะนั้นฝ่ายเจ้าหนี้ จะแสวงหาแนวทางอื่น เพื่อให้ TPI ดำเนินตามแผนที่ตกลงกันไว้

7 ธันวาคม 2542-ประชัยแถลงข่าวโจมตีฝ่ายเจ้าหนี้ โดยเฉพาะบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสหรัฐอเมริกา หาว่าเป็นแกนนำที่ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มทุน เพราะต้องการจะเข้ามาฮุบกิจการ ในขณะที่เจ้าหนี้รายอื่น โดยเฉพาะฝ่ายไทย ส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยให้มีการเพิ่มทุนแล้ว

22 ธันวาคม 2542- คณะกรรมการเจ้าหนี้ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ยืนยันไม่รับข้อเสนอใดๆ ของ TPI ในส่วนที่เกี่ยวกับการเพิ่มทุน ก่อนการเซ็นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้อย่างเป็นทางการ

24 ธันวาคม 2542-สถาพร กวิตานนท์ เลขาธิการบีโอไอ เจรจาเกลี้ยกล่อมให้ประชัยยอมเซ็นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ ซึ่งประชัยก็แสดงท่าทีอ่อนลง และรับปากว่าจะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ว่าจะยอมเซ็นสัญญา

6 มกราคม 2543-คณะกรรมการเจ้าหนี้ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3 ยืนยันให้ TPI เซ็นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ในวันที่ 17 มกราคม

10 มกราคม 2543-ประชัยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ว่าการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของ TPI จะได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 17 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่เจ้าหนี้ขีดเส้นตายไว้ว่าให้เซ็นสัญญา โดยอ้างว่าสาเหตุที่การเจรจาล่าช้า เพราะมีรายละเอียดในสัญญาที่ต้องปรับปรุง

14 มกราคม 2543-มีกระแสข่าวว่าประเด็นที่ประชัยต้องการปรับปรุงในร่างสัญญา คือการขอลดหนี้ในส่วนที่จะแปลงเป็นทุนลง 200 ล้านดอลลาร์ เพราะเกรงว่าเมื่อมีการแปลงหนี้เป็นทุนแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นของประชัยใน TPI จะลดลง

17 มกราคม 2543-วันขีดเส้นตายของเจ้าหนี้ ปรากฏว่ายังไม่มีการเซ็นสัญญา แต่ทั้ง TPI และเจ้าหนี้ ได้เห็นชอบร่วมกันที่จะส่งแผนฟื้นฟูกิจการให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณา โดยในแผนฟื้นฟูได้ระบุให้ประชัยเป็นผู้ทำแผน และทั้ง 2 ฝ่ายยืนยันว่าจะไม่มีการคัดค้านแผนฟื้นฟู

ส่วนประเด็นการเพิ่มทุน ทั้ง 2 ฝ่ายจะเริ่มเจรจากันทันทีที่ศาลรับพิจารณาแผนฟื้นฟู

ศาลกำหนดวันเริ่มไต่สวนนัดแรก ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us