|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การดำเนินธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล หรือแคร์โปรดักส์ เป็นกลุ่มธุรกิจที่เผชิญหน้ากับการแข่งขันสูง และมีความท้าทายทางธุรกิจมากมาย ผู้นำในทางการตลาดของผลิตภัณฑ์พวกนี้ในตลาดโลกจึงมีความตื่นตัวและกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง
การสำรวจทางการตลาดเมื่อไม่นานมานี้ทำให้นักการตลาดสรุปว่า ตลาดผลิตภัณฑ์เส้นผมมีแนวโน้มอิ่มตัว การลงทุนทำกิจกรรมการตลาดช่วงนี้ไม่ค่อยจะได้ผลดีนัก โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐฯ ผู้ประกอบการชั้นนำรายใหญ่ จึงใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นแนวทางหลักในการกระตุ้นตลาดด้วยความแปลกใหม่ ทำให้ลูกค้าอยากลองอยากทดสอบของใหม่
แต่ตลาดแคร์โปรดักส์ทำท่าจะหันมาให้ความสนใจกับสกินแคร์มากขึ้น ทั้งกลุ่มที่ทำให้ดูอ่อนเยาว์ หรือแอนตี้ เอจจิ้ง และกลุ่มทรีทเมนท์ การศึกษาของสำนักมินเทล พบว่า มีความเชื่อมโยงกันระหว่างผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสกินแคร์กับแฮร์แคร์ โดยวงจรจะเริ่มที่การพัฒนาสินค้าในกลุ่มสกินแคร์ก่อน เมื่อสูตรติดตลาดหรือเป็นที่ยอมรับของลูกค้าแล้วก็จะมีการประยุกต์ใช้สูตรที่ตลาดคุ้นกันดีนั้นกับกลุ่มดูแลเส้นผมต่อไป
ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มที่เป็นกลุ่มขัดผิวแบบสครับและกลุ่มสเปรย์ที่ใช้ก่อนนอน สามารถสร้างตลาดในกลุ่มนิชโปรดักส์ ได้อย่างน่าพอใจ และสร้างพฤติกรรมใหม่ในการขัดผิวและสเปรย์ผิวก่อนนอนขึ้นมาได้ ส่วนคำว่า “แอนตี้ เอจจิ้ง” นั้น ขณะนี้ไม่ใช่คำที่นำมาใช้กันแต่เฉพาะสกินแคร์เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นคำฮิตในตลาดของผลิตภัณฑ์เส้นผมด้วย และยังมีการออกสินค้าในกลุ่ม “เอจ รีนิว โปรลิชชิ่ง เซรั่ม” มาให้เห็นในตลาดโลกกันบ้างแล้ว ซึ่งกลุ่มของลูกค้านี้เป็นฐานรายได้หลักของกลุ่มนี้ คือ ลูกค้ากลุ่มที่เป็นฐานของแอนตี้ เอจจิ้ง อยู่แล้วนั่นเอง และนับวันฐานลูกค้ากลุ่มนี้น่าจะขยายตัวขึ้นตามลำดับ
นอกเหนือจากการพยายามสร้างฐานและความเชื่อถือจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ใช้คนสุดท้ายที่ต้องการชะลอความแก่และคงความเต่งตึงแล้ว ขณะนี้มีแนวโน้มทางการตลาดที่ชี้ชัดว่า ผู้บริหารแบรนด์ดังพากันวิ่งใส่กลุ่มร้านเสริมสวยมากขึ้น เพื่อให้สินค้าของตนเป็น “ซาลอน แบรนด์” ทั้งนี้เพราะยอดการจำหน่ายของตลาดกลุ่มนี้สูงมากขึ้น จากพฤติกรรมการทำผม ดูแลผิวพรรณที่ทำผ่านร้านเสริมสวยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง และร้านเสริมสวยในปัจจุบันยังเป็นจุดขายปลีกสินค้าที่น่าเชื่อถืออีกจุดหนึ่งอีกด้วย
ยักษ์ใหญ่รายหนึ่งคือ ลอรีอัล เป็นหนึ่งในผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ แคร์ โปรดักส์ ที่มีความเชื่อว่า โอกาสทางธุรกิจของตลาดแคร์ โปรดักส์ ยังคงมีอยู่สูง ดูได้จากการตัดสินใจของลอรีอัลในการเข้าไปซื้อกิจการธุรกิจแฮร์ ซาลอน ของสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ ที่ชื่อ มาลี สเวสต์ ร้านบิวตี้ อะลายแอนซ์ และ โคลัมเบีย บิวตี้ ซัปพลาย เพื่อให้กิจการเหล่านี้เป็นช่องทางการขายปลีกกับกลุ่มลูกค้าที่ไปทำผม เสริมสวยตามร้าน โดยเฉพาะกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ราคาแพง ซึ่งขายได้ยากในร้านค้าปลีกทั่วไป
สำหรับกิจการชั้นนำแบบลอรีอัลนั้น ความสามารถในการทำกำไรไม่ได้มาจากสินค้าที่วางจำหน่ายตามชั้นวางสินค้าตามห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ต หากมาจากการจำหน่ายผ่านช่องทางเฉพาะเจาะจงเหล่านี้มากกว่า พฤติกรรมการเข้าไปซื้อกิจการ ธุรกิจแฮร์ ซาลอน ของลอรีอัล จึงเป็นภาพที่มีให้เห็นบ่อยครั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมาเพื่อใช้คนขายมืออาชีพอย่างช่างทำผมเป็นพนักงานขายผลิตภัณฑ์ แทนการปล่อยตามยถากรรมของการตัดสินใจของผู้บริโภคแต่ละคนตามลำพัง และเพื่อให้ลอรีอัลสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อ 7-8% ต่อไปได้
นอกเหนือจากการตัดสินใจซื้อธุรกิจ แฮร์ ซาลอน 2-3 แห่ง เพื่อเป็นการขยายฐานธุรกิจระดับขายปลีกและยังผ่านดีลทางการค้าและยังอยู่ระหว่างการซื้อกิจการบางส่วนในเดอะ บอดี้ ช้อปและอีกหลายๆ กิจการที่จะทยอยเสร็จสิ้นโครงการในไม่ช้านี้แล้ว
ต่อจากนี้ไปลอรีอัลยังเตรียมการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการของเจ้าพ่อวงการแฟชั่นอย่าง จิออร์จิโอ อาร์มานี ต่อไปอีก เพื่อขยายธุรกิจในสายงานใหม่ ด้วยการผลิตสินค้ากลุ่มน้ำหอมให้กับอาร์มานี ภายใต้แบรนด์อาร์มานี นอกเหนือไปจากการผลิตในชื่อแบรนด์ของตนเอง
|
|
|
|
|