Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 มิถุนายน 2546
ธปท.เดินหน้าลด "เอ็นพีแอล" เร่งเจรจาปรับหนี้อีก1แสนราย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
ทำนอง ดาศรี
Banking and Finance




แบงก์ชาติเดินหน้า ลดเอ็นพีแอล หลังทำเวิร์กช็อป เม.ย. ปีที่ผ่านมา โชว์ผลงานเป็นคนกลางเจรจาหนี้อยู่ระหว่างบังคับคดี สำเร็จ กว่า 30% พร้อมเร่งเจรจาให้ได้ข้อยุติ อีก 1 แสนราย

นายทำนอง ดาศรี ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยหลังจากที่ธปท. ได้ปรับกลยุทธ์เชิงรุกในการแก้ปัญหาเอ็นพีแอล โดยแบ่งลูกหนี้ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 หนี้ที่ปรับปรุง โครงสร้างหนี้เสร็จแล้วและอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ กลุ่มที่ 2 หนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจา กลุ่มที่ 3 หนี้ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี และกลุ่ม ที่ 4 คือ หนี้ที่อยู่ระหว่างบังคับดคี เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2545 นั้น

แม้ว่าขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาหนี้เอ็นพีแอลที่ใหญ่ที่สุด คือ กลุ่มที่อยู่ในระหว่างบังคับคดี ซึ่งมีอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) และบริษัทเงินทุน (บง.) ถึง 111,000 ราย มูลหนี้ประมาณ 2 แสน 6 หมื่นล้าน บาท

ดังนั้น คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ซึ่งมีม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าฯธปท. เป็นประธาน ได้มีมติเมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2546 ให้ ธปท. เป็นคนกลางเจรจาลูกหนี้ที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีเพิ่มเติมจากที่เคยอนุมัติให้เร่งส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่อยู่ในระหว่างดำเนินคดีมาแล้วเมื่อต้นปี 2546

"ในการที่ธปท. จะเป็นคนกลาง ในการเจรจากรณีหนี้ที่อยู่ระหว่างการบังคับคดีนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการ คือเจ้าหนี้และลูกหนี้จะต้องสมัครใจ โดยผู้เข้าร่วมเจรจาทุกครั้งจะต้องเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเท่านั้น และใช้เวลาในการเจรจาให้แล้วเสร็จ ภายใน 45 วัน ส่วนการเจรจาหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีใช้เวลาเจรจาให้แล้วเสร็จภายใน 63 วัน"

ทั้งนี้ลูกหนี้สมัครใจเข้าโครงการ เจรจาหนี้อยู่ระหว่างการบังคับคดีนี้ เป็นลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างบังคับคดี และลูกหนี้ที่ศาลได้พิพากษาแล้ว ที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทบริหารสินทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ส่วนลูกหนี้กลุ่มที่อยู่ในระหว่าง การดำเนินคดี ที่เริ่มเจรจามาตั้งแต่เมษายน 2546 เป็นต้นมานั้น ในระยะ 2 เดือนที่ผ่านมา เจ้าหนี้ได้ทยอยแจ้ง ลูกหนี้ที่จะเจาจรด้วยแล้ว 2,208 ราย มูลหนี้ 16,175 ล้านบาท และขณะนี้ลูกหนี้ได้แจ้งเข้าเจรจา 276 ราย มูลหนี้ 3,892 ล้านบาท ในจำนวนนี้ได้มีการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สำเร็จแล้ว 46 ราย มูลหนี้ 172 ล้าน บาท หรือคิดเป็น 30% ของลูกหนี้ที่ได้เจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว

"ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลจากที่ ธปท. ได้ดำเนินการในเชิงรุก ทั้งในส่วนกลางคือกรุงเทพฯ และภาคกลาง และส่วนภูมิภาค ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ โดยในส่วนภูมิภาคดำเนินการโดยสำนักงานภาคทั้ง 3 แห่ง ของ ธปท."

อย่างไรก็ตาม นอกจากการเร่งรัดการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างดำเนินคดี และ บังคับคดีดังกล่าวข้างต้นแล้ว คปน. ยังคงส่งเสริมลูกหนี้ในกลุ่มอื่นที่มีปัญหาเอ็นพีแอล ตามเกณฑ์ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว โดยประสานงานการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทั้งลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายรายและลูกหนี้ที่แจ้งความประสงค์จะให้ธปท.เป็นคนกลาง ในการเจรจากับเจ้าหนี้กลุ่มดังกล่าวนั้น ปัจจุบัน คปน. ติดตามทั้งที่เจ้าหนี้เจรจาเองและคปน. เป็นคนกลาง ในการเจรจา

โดยเฉพาะหนี้ที่อยู่ระหว่างเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้อยู่ในปัจจุบันนั้น มีประมาณ 119,000 ราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เจ้าหนี้เคยตกลงกันไว้เมื่อปลายปี 2545 ว่าจะให้มีข้อยุติภายใน 1 ปี นั้น ธปท. จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินผลการแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอล ของสถาบันการเงิน โดยเชิญผู้บริหารระดับสูงของ ธพ. และ บง. เพื่อรับทราบผลการประเมินการดำเนินงานของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาเอ็น พีแอลที่เหลืออยู่ในระบบสถาบันการเงินให้เสร็จโดยเร็ว ซึ่งได้กำหนด วันประชุมไว้เป็นวันที่26 พฤศจิกายน 2546

ส่วนกลุ่มลูกหนี้เอ็นพีแอลที่มีการเจรจาตกลงกันได้แล้ว และอยู่ในขั้นตอนการผ่อนชำระ ซึ่งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2545 มียอดหนี้ถึง 166,109 ล้านบาท มูลหนี้ประมาณ แสนล้านบาท โดยตัวเลขล่าสุด ณ สิ้นเดือนมี.ค.46 เอ็นพีแอลของกลุ่ม นี้ลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง เหลือลูกหนี้ 14,449 ราย มูลหนี้ประมาณ 80,000 ล้านบาท ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง คปน. ได้มีมติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546 ให้สถาบันการเงินเร่งรัดให้เสร็จภายในเดือนกันยายน 2546 เพื่อ ประเมินผลอีกครั้งในการประชุมเชิง ปฏิบัติการวันที่ 26 พ.ย. 46 นี้

นายทำนอง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้สัดส่วนเอ็นพีแอลใหม่มีเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับเอ็นพีแอลที่ได้มีการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว สำหรับผลกระทบจากโรคซาร์ส ทำให้หนี้กลุ่มแรกที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้และอยู่ระหว่างการผ่อนชำระหนี้มีปัญหาถูกเลื่อนชั้นกลายเป็นหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจา เนื่องจากลูกหนี้ไม่มีกระแสเงินสดไปจ่ายหนี้ได้

อย่างไรก็ตาม หากผลกระทบจากโรคซาร์สหมดไป คงจะทำให้สถานการณ์การปรับหนี้ดีขึ้นโดยตัวเลขเอ็นพีแอล ณ สิ้นเดือนพ.ย.45 มีประมาณ 840,000 ล้านบาท แต่ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมี.ค.46 อยู่ที่ประมาณ 774,000 ล้านบาท ซึ่งถือ ว่ายอดเอ็นพีแอลยังลดลงไม่มากนัก

นอกจากนี้ หลังจากที่ธปท.ได้ปรับกลยุทธ์เร่งลูกหนี้กลุ่มที่อยู่ระหว่างบังคับคดี ให้มีข้อยุติโดยเร็ว หากสามารถเจรจาได้ ตรงนี้ก็จะเป็น อีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดเอ็นพีแอลได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us