Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 มีนาคม 2551
โบรกฯดิ้นหาทางรอด รุกตราสารหนี้-ลดต้นทุนรับเปิดเสรี             
 


   
search resources

Investment




ตลาดตราสารหนี้ไทยหนุนบริษัทหลักทรัพย์ทำธุรกิจตราสารหนี้ ชี้อีกช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม รองรับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงขึ้นจากการเปิดเสรีโบรกเกอร์ในปี 55 ด้าน "ภควัติ" เผยตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือตลาดตราสารหนี้ เตรียมดึงโบรกเกอร์ลุยตลาดรีโป พร้อมจัดอบรม-พัฒนาระบบให้ หลังพบเงินกองทุนโบรกเกอร์ทั้งระบบสูงถึง 6.5 หมื่นล้านบาท แต่ไม่มีสินค้าให้ลงทุน ขณะที่ "บรรยง" มั่นใจโบรกเกอร์ในประเทศอยู่รอด ระบุหลังเปิดเสรีจะมีวอลุ่มเพิ่มมากขึ้นและต้นทุนต่ำลง

นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ ตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยถึง การเตรียมความพร้อมและแผนรองรับการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) และใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2555 ว่า ตลาดตราสารหนี้จะเชิญผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ มาหารือถึงการการทำธุรกิจเกี่ยวกับตราสารหนี้ เพื่อเป็นอีกช่องทางในการกระจายรายได้ เพื่อทดแทนรายได้และอัตรากำไรขั้นต้น (มาร์จิน) ที่อาจจะลดลงหลังจากการเปิดเสีรีที่ทำให้มีคู่แข่งทางด้านธุรกิจที่มากขึ้น

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จะต้องเร่งหาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ เช่น การเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ (ดีลเลอร์) จำเป็นจะต้องมีการระดมทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เพราะอาจจะต้องถือตราสารหนี้ไว้นานจำเป็นที่จะต้องระดมทุนระยะสั้นเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งการการทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชน (รีโป) ถือเป็นแหล่งระดมทุนระยะสั้นของผู้ที่จะเป็นดีลเลอร์ตราสารหนี้

"เราจะมีการชวนให้โบรกเกอร์เข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับตราสารหนี้ ซึ่งสอดคล้องกับที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชัน และใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งจะทำให้โบรกเกอร์มีรายได้ลดลง จึงจำเป็นที่จะต้องมีการหาธุรกิจใหม่เพื่อเข้ามาเสริมรายได้ ซึ่งการเป็นดีลเลอร์ตราสารหนี้ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเพิ่มรายได้ให้กับโบรกเกอร์ เราจึงจะมีการหารือกับผู้บริหารโบรกเกอร์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีการเข้ามาทำธุรกรรมนี้" นายณัฐพล กล่าว

นายภควัต โกวิทวัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้โบรกเกอร์ต่างๆ ได้ปรับตัวและวางแผนการดำเนินงานในอนาคตที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทเพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากการเปิดเสรีที่จะเกิดขึ้นในปี 2555

ทั้งนี้ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการตลาดตราสารหนี้ไทย และตนในฐานะที่ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานตลาดตราสารหนี้ไทย ได้มีแผนที่จะหารือกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อให้บริษัทโบรกเกอร์เข้ามามีส่วนในการพัฒนาตลาดพันธบัตร เพราะจากการศึกษางานในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน พบว่า โบรกเกอร์จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้

"ขณะนี้โบรกเกอร์แต่ละแห่งมีการกระจายช่องทางการหารายได้แตกต่างกันออกไป เพื่อรองรับการเปิดเสรีในอนาคต ซึ่งโบรกเกอร์ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างประเทศในแถบนี้ก็จะมีตลาดเฉพาะของตนที่สามารถจะนำหุ้นสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย มาขายในหุ้นไทยได้ หรืออาจจะมีการออกพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ตนเองมีความชำนาญออกมาขาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น" นายภควัต กล่าว

ทั้งนี้จากที่พระราชบัญญัติ (พรบ.) หนี้สาธารณะฉบับใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยจะมีการลดจำนวนพันธบัตรลงจาก 45-49 ชุด อาจเหลือ 7 ชุด ซึ่งการลดจำนวนพันธบัตรลดลงนั้น จะทำให้บล.มีความสำคัญในการเข้ามาธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งในปีนี้ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดตราสารหนี้ จะเริ่มตลาดรีโป คือ การให้มีพันธบัตรไปจำนองและนำมาซื้อขายในตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งโบรกเกอร์ในตลาดทั้งหมดในปี 2550 มีเงินกองทุนทั้งหมด มูลค่ารวมถึง 65,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นมูลค่าที่สูงมาก แต่ไม่มีสินทรัพย์ที่จะให้เข้าไปลงทุน โดยโบรกเกอร์บางแห่งได้มีการนำเงินเข้าไปลงทุนในหุ้น แต่ยังไม่มีการเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตร

ดังนั้นในปีนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดตราสารหนี้จะพยายามเชิญชวนโบรกเกอร์มารับฟังข้อมูลว่าธุรกิจรีโปนั้นโบรกเกอร์มีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนอย่างไร และจะมีการจัดอบรมการทำหน้าที่ในการเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ (ดีลเลอร์) ความเสี่ยง ฯลฯให้ หากโบรกเกอร์ให้ความสนใจ ขณะที่เดียวกัน ThaiBMA จ้างบริษัทให้มาพัฒนาซอฟแวร์ ซึ่งคาดใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หรือคาดว่าจะเสร็จภายในสิ้นปีนี้

อย่างไรก็ตาม การทำธุรกรรมดังกล่าวอาจยังมีอุปสรรคในเรื่องที่บล.จะต้องมีการโอนเงินล่วงหน้า 1 วัน ก่อนทที่จะซื้อตราสารหนี้ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญ ดังนั้น ธปท.จะดูแลเรื่องดังกล่าวให้ดีขึ้น แต่หากมีรีโปจะต้องมีการการออกบอนด์ฟิวเจอร์เพื่อที่จะมาทำเฮดจ์จิ้ง

นอกจากนี้ ยังมีธุรกรรมอื่นๆ เช่น หุ้นสามัญ อนุพันธ์ ที่จะมีการออกสินค้าใหม่ที่จะอิงกับน้ำมัน ทองคำ เหล็กหล้าที่ออกเป็นสกุลเงินบาท และยังสามารถที่จะมีการออกที่อิงกับหุ้นรายตัว เช่น ปตท.ฟิวเจอร์ส ฯลฯ ที่จะทำให้หุ้นของบริษัทที่นำมาอ้างอิงมีการเติบโตมากขึ้น หรือกองทุนอิควิตี้อีทีเอฟ ซึ่งจะอิงกับหุ้นกลุ่มพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ การลงทุน

นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ภัทร จำกัด (มหาชน)หรือ PHATRA กล่าวว่า ทุกประเทศที่มีการเปิดเสรีฯนั้น โบรกเกอร์ในประเทศจะไม่ได้เป็นผู้นำตลาด เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แต่จะทำให้ตลาดทุนมีการพัฒนาดีขึ้น และจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น แต่โบรกเกอร์ในประเทศสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และสามารถมีกำไรจากการที่มีกิจกรรมทางตลาดทุนมากขึ้น และมูลค่าการซื้อขายที่สูงขึ้น

"ทุกประเทศที่มีการเปิดเสรีฯจะมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ตลาดที่เปิดจะเหนื่อยแต่เหนื่อยในโลกที่ดีขึ้น ซึ่งตลาดทุนที่ดีนั้นจะต้องมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ สินค้ามีความหลากหลาย ซึ่งผู้ถือหุ้นก็ยังคงได้ประโยชน์จากการถือหุ้นที่ดี "นายบรรยง กล่าวว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us