Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2551
ระบบเวสมินสเตอร์ คอร์คัส และรัฐมนตรีเงา             
โดย ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
 


   
search resources

Political and Government




เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ข่าวการจัดตั้งรัฐบาลของไทยอาจจะเป็นข่าวที่มีความสำคัญในสายตาของประชาคมโลก แต่สำหรับผมแล้วเชื่อว่าข่าวการจัดตั้งรัฐบาลเงานั้นเป็นแนวโน้มที่ดีเสียยิ่งกว่าการจัดตั้งรัฐบาล เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะปัญหาทางการเมืองก็ต้องแก้ด้วยวิธีการทางการเมือง เนื่องจากว่าการเมืองเองก็เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ต้องมองปัญหาจากสมมุติฐานและแก้ไขปัญหาด้วยการพิสูจน์แบบที่ฝรั่งเขาเรียกวิชารัฐศาสตร์ในภาษาของเขาว่า Political Science แม้ว่าการแก้ไขปัญหาทางการเมืองอาจจะใช้เวลานาน และไม่ทันใจคนส่วนมาก แต่ทั้งการเมืองและวิทยาศาสตร์ต่างต้องการเวลาเพราะ the significant problems that we face today cannot be solved at the same level of thinking we were at when we created them นั่นเอง

คำว่ารัฐมนตรีเงานั้นป็นผลผลิตจากระบบการเมืองที่เรียกกันว่า Westminster System ซึ่งเป็นระบบการปกครองโดยรัฐสภาที่มาจากอังกฤษ การเมืองในระบบของเวสมินสเตอร์จะมีเสถียรภาพเพราะมีพรรครัฐบาลเดียวและไม่กังวลกับพรรคเล็กพรรคน้อย แต่จะมีปัญหาคือการเป็นเผด็จการทางรัฐสภา เพราะพรรครัฐบาล สามารถออกนโยบายเพื่อสนับสนุนฐานเสียงของ ตนได้ทุกรูปแบบและอาจจะทำให้เกิดรอยร้าวใน สังคมได้ อย่างไรก็ตาม การที่จะมีระบบเวสมิน สเตอร์ที่สมบูรณ์แบบได้ก็ต้องมาจากการตัดตอน พรรคเล็กๆ ไม่ให้เกิด โดยใช้ระบบเลือกตั้งที่เรียกว่า Plurality system ให้เป็นประโยชน์ ระบบดังกล่าวก็ไม่ได้พิสดารแต่อย่างใด ก็คือระบบเลือก ส.ส.เขตที่เรารู้จักกันดี การตัดตอนก็ทำได้ง่ายๆ คือคอยเปลี่ยนเขตเลือกตั้ง ให้ตนเองได้เปรียบจากทั้งฝ่ายค้านและพรรคเล็กๆ โดยแยกเอาพื้นที่ของตนออกมามากๆ เอาฐานเสียงพรรคเล็กตัดไปเป็น 2-3 เขตให้คะแนนเสียงกระจายออกไปและกระจุกฝ่ายค้าน ให้มีพื้นที่น้อยๆ ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Gerrymandering รากศัพท์มาจากชื่อของนักการเมืองเจ้าเล่ห์ในศตวรรษที่ 19 ที่เริ่มตัด ตอนฝั่งตรงข้ามชื่อเจอรี่ ไปรวมกับ Salamander และเติม ing ถ้าแปลแบบไทยๆ ก็คือกำลังทำ ตัวเงินตัวทองแบบนายเจอรี่ ท่านผู้อ่านจะสังเกต ได้ว่าการเลือกตั้งในอังกฤษนั้นวิธีตัวเงินตัวทองของเจอรี่นั้นได้ผลดีมาก เพราะเขาตัดเขตกันชั้นมารขนาดที่คะแนนเสียงของพรรคแรงงานคือ 9 ล้าน 5 แสน ได้ ส.ส. 356 คน ฝ่ายค้านรวมทั้งหมดได้คะแนนรวม 15.9 ล้านเสียงได้ ส.ส.ไปแค่ 290 คน

รัฐสภาในระบบเวสมินสเตอร์จะต่างกับสภาไทยซึ่งเอารูปแบบของคอนติเนนตัลยุโรป มาใช้เล็กน้อย ในสภาไทยจะมีที่นั่งให้นายกรัฐมนตรีและ ครม.แยกออกมาจาก ส.ส.ทำให้สถานภาพของ ครม.นั้นจะพิเศษกว่า ส.ส.โดยทั่วไป หลายประเทศในโลกจะนิยมสภาระบบคอนติเนนตัลมากกว่าเวสมินสเตอร์แท้ๆ ทำให้หลายประเทศไม่มีรัฐมนตรีเงาหรือถึงมีก็ไม่ได้มีศักดิ์และสิทธิแต่อย่างใดแบบเวสมินสเตอร์

ในทางกลับกันรัฐสภาสไตล์เวสมินสเตอร์ แท้ๆ นั้นจะมีที่นั่งพิเศษให้กับประธานสภาเพียง ผู้เดียว ซึ่งนั่งอยู่บนบัลลังก์ตรงกลางระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล พร้อมค้อนของผู้พิพากษา ขณะที่นายกรัฐมนตรีและ ครม.จะไม่มีที่นั่งพิเศษ หรือมีป้ายบ่งบอกตำแหน่ง แต่ตามธรรมเนียมรัฐมนตรีจะนั่งโซฟาด้านหน้าที่สุดจึงถูกเรียกกันว่า Front Bench Ministers โดยนายกรัฐมนตรี จะนั่งขวามือสุด ในระบบเวสมินสเตอร์เรียก สถานะของนายกฯ ว่า first among equal เป็น การบ่งชี้ว่าสถานะของนายกฯ และ รมต. นั้นเทียบเท่า ส.ส. ไม่มีใครใหญ่กว่าใครเพียงแต่เป็น คนนั่งเก้าอี้คนแรกหรือเก้าอี้แถวหน้าเท่านั้น ตามประเพณี ระบบเวสมินสเตอร์จะมีรองนายกฯ เพียงคนเดียวและรองนายกฯ นั้นจะต้อง ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่วนเก้าอี้หมายเลข 3 จะเป็นของผู้นำวิปรัฐบาล

การแต่งตั้ง ครม.ในประเทศที่เน้นระบบ เวสมินสเตอร์นั้นจะมาจาก Caucus ซึ่งศัพท์คำนี้ ยังไม่มีคำแปลที่แน่นอนแม้แต่ในภาษาอังกฤษ ในอเมริกาคำว่า Caucus แปลว่าสมาชิกพรรค แต่ในอังกฤษหมายถึงคณะกรรมการบริหารพรรค และยังหมายถึงมุ้งต่างๆ ในพรรค ในออสเตร เลียหมายถึงกลุ่มการเมือง ส่วนในนิวซีแลนด์หมายถึงกรรมการบริหารพรรคซึ่งมีประธานพรรคเป็นผู้นำ ขณะที่นายกฯ หรือผู้นำฝ่ายค้าน ที่เป็นหัวหน้าพรรคจะมีอันดับใน Caucus ต่ำกว่าประธาน และอำนาจของ caucus คือเป็นคนเลือก ครม.ทั้งหมด โดยที่นายกฯ เองก็ไม่มีสิทธิปลด รมต.แต่ว่าคอร์คัสมีสิทธิปลดนายกฯ เช่น ตอนที่นายกฯ โบลเจอร์ไปพูดเรื่องแผนการ ทำนิวซีแลนด์เป็นสาธารณรัฐ ทำให้ Caucus สั่งปลดนายกฯ และตั้งชิพเล่ย์ ซึ่งเป็นฝ่าย royalist ขึ้นเป็นนายกฯ คนใหม่

ดังนั้นเมื่อ Caucus เลือก ครม.การนั่งของรัฐมนตรีจะมาจากลำดับความสำคัญในพรรคและใน Caucus นั่นเอง ในทางกลับกัน Caucus ของฝ่ายค้านก็จะเป็นคนเลือกฝ่ายค้าน ที่จะมาทำหน้าที่ก็จะนั่งแถวหน้าเช่นเดียวกับฝ่ายรัฐบาลในแบบประชันหน้ากับรัฐมนตรี เรียกกันว่า Front Bench Oppositions ดังนั้นจึงมีคำเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่ารัฐมนตรีเงาเพราะว่าทีม Front Bench ของฝ่ายค้านคือเงาที่อยู่ตรงข้ามทั้งเก้าอี้นั่งและตำแหน่งกับฝั่งรัฐบาล โดยเก้าอี้ซ้ายมือสุดของผู้นำฝ่ายค้านจะมีหน้าที่ประกบติดนายกรัฐมนตรีที่นั่งขวามือสุด ขณะที่หมายเลขสองโดยมากจะเป็นรองหัวหน้าพรรคซึ่งมีหน้าที่ประกบ รมต.คลัง อันดับสามจะเป็น ส.ส.ที่คุมวิปฝ่ายค้าน รับหน้าที่ประกบผู้นำวิปของรัฐบาล โดยทั่วไปแล้ว ส.ส.ทุกคนจะได้รับตำแหน่งใน Caucus เพื่อประกบ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล โดยจะนั่งในเก้าอี้ที่ตรงข้ามกับ รมต.หรือ รมช. มีหน้าที่โจมตีนโยบายของคนที่นั่งตรงข้ามกับตนเองแบบตัวต่อตัว

ในประเทศนิวซีแลนด์บรรดารัฐมนตรีเงาจะมีบทบาทมากในการอภิปรายรัฐมนตรีในช่วงที่เปิดประชุมสภาเพราะถ้ามีผลงานที่ดีจะสามารถเลื่อนหมายเลขความสำคัญของตน ใน Caucus ได้เสมอ อันดับใน Caucus ยิ่งสูง จะส่งผลให้อันดับในปาร์ตี้ลิสต์ขึ้นไปอยู่อันดับต้นๆ ทำให้มีโอกาสได้รับเลือกมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น จอห์น คีย์ ผู้นำฝ่ายค้านนิวซีแลนด์ปัจจุบัน เมื่อได้รับเลือกใหม่ๆ เขาได้ประกบรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการคลังโดยได้อันดับ Caucus และลิสต์ที่ 43 เมื่อทำการอภิปรายได้ดี Caucus เลื่อนเขาเป็นฟร้อนเบนท์ ให้ประกบรัฐมนตรีพาณิชย์ อันดับใน Caucus และปาร์ตี้ลิสต์ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปพุ่งมาอยู่ที่อันดับ 4 ก่อนที่จะประกบรัฐมนตรีคลัง ทำให้ขึ้นที่ 2 ก่อนจะได้ประกบนายกฯ จึงขึ้นเป็นหมายเลข 1 และในเวลา 5 ปี คีย์จะได้เปลี่ยนเก้าอี้ในสภาบ่อยไม่แพ้รัฐมนตรีของรัฐบาลเวลาปรับ ครม. เพราะเมื่อทำดี เก้าอี้ก็จะยิ่งอยู่แถวหน้ามากขึ้นและถ้าทำไม่ดีอันดับก็จะตก เช่น บิล อิงลิช ซึ่งเคยเป็นหมายเลข 1 แต่ไม่สามารถ ประกบนายกฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันดับของเขาโดนลดไป อันดับที่ 8 และต้องไต่กลับขึ้นมาจนเป็นที่สองปัจจุบันด้วยการอภิปรายรัฐมนตรีที่เขาประกบอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยระบบ Caucus ที่ส่งผลต่อการจัดอันดับในปาร์ตี้ลิสต์ การอภิปรายในนิวซีแลนด์นั้นจะน่าติดตามว่าฝ่ายค้านจะแฉ รมต.คนไหนบ้างในสัปดาห์นั้นๆ โดยรัฐมนตรีเงาจะลุกขึ้นเผชิญหน้ากับรัฐมนตรีจริงแล้วโต้กันแบบตัวต่อตัว ซึ่งทางบริษัทเคเบิลทีวีหัวใสอย่างสกายดิจิตอล ซื้อสิทธิการอภิปรายโดยขายช่องเรียกว่า Parlia-ment Channel ให้ประชาชนติดเพื่อชมการอภิปรายไม่ใช่ให้ดูกันฟรีๆ แบบในบ้านเรา จาก ที่ผมทราบมีคนจำนวนไม่น้อยยอมติดช่องดังกล่าวแล้วยังตั้งอัดล่วงหน้าเหมือนอัดรายการฟุตบอลเพราะเวลาอภิปรายจะมีแต่ตอนบ่าย ซึ่งตรงกับเวลาทำงาน

การเลื่อนตำแหน่งของ Caucus และฝ่ายค้านเองทำให้ ส.ส.ฝ่ายค้านทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะพวกเขาต้องศึกษาข้อด้อยของรัฐบาล นำเสนอนโยบายใหม่ๆ ที่ทำให้ฝ่ายค้านน่าเชื่อถือ ซึ่งผมเชื่อว่าสิ่งนี้คือระบบตรวจสอบทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพที่สุดและอาจจะดียิ่งกว่าเอ็นจีโอ หรือคณะกรรมการต่างๆเพราะรัฐบาลแทรกแซงฝ่ายค้านที่ทำงานเป็นระบบได้ยากกว่าการแทรกแซงองค์กรอิสระและ น่าจะเป็นวิธีแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่ถูกต้อง และยั่งยืนที่สุดแม้ว่าจะต้องใช้เวลามากก็ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us