Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2551
ผู้หญิงที่หายไป ปัญหาความเสมอภาคที่ฝังรากลึก             
โดย ติฟาฮา มุกตาร์
 


   
search resources

Social




คำว่า "missing woman" หรือ "missing girl child" ในอินเดีย มีความหมายลึกและเจ็บปวดยิ่งกว่าการหายสาบสูญของบุคคล เพราะคือการไม่มีตัวตนอยู่เนื่องจากเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือกระทั่งไม่ได้ลืมตาดูโลก ขณะที่ในหลายประเทศทั่วโลกปัญหาความเสมอภาคระหว่างชายและหญิงเป็นเรื่องของโอกาสทางการศึกษา อาชีพ สิทธิ์ในการทำนิติกรรมหรือครอบครองทรัพย์สิน แต่ปัญหาของอินเดียเริ่มจากสิทธิในการเกิดและมีชีวิตรอด

อินเดียอาจภาคภูมิใจที่ในอดีตเคยมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก นั่นคือนางอินทิรา คานธี ปัจจุบันนอกจากประธานาธิบดี อินเดียยังมีนายกฯ เงา (นางโซเนีย คานธี) และ ผู้ว่าการรัฐอุตรประเทศเป็นผู้หญิง ทั้งมีผู้หญิงแถวหน้าที่โดดเด่นอยู่ในแวดวงต่างๆ อย่างอรุณธตี รอย และกีราน เดไซ นักเขียนเจ้าของรางวัลบุ๊กเกอร์ ไพรซ์ มหาชเวสตา เดวี นักเขียน และนักกิจกรรมสังคมอาวุโส ฯลฯ แต่เมื่อเทียบด้วยประชากรกว่าพันล้าน เป็นจำนวนที่คำนวณ เป็นเปอร์เซ็นต์ได้ยาก ขณะที่ตัวเลขความจริงอีกด้านกลับสะท้อนภาพที่คมชัดถึงสิทธิและโอกาสของผู้หญิงอินเดีย

อัตราประชากรเด็กหญิงต่อเด็กชายคือ 927 ต่อ 1,000 คน

1 ใน 4 ของเด็กหญิงมีชีวิตรอดไม่ถึงอายุ 15 และในจำนวนนี้ 1 ใน 3 เสียชีวิตตั้งแต่ ยังไม่ถึงหนึ่งขวบ

ผู้หญิงร้อยละ 52 เป็นโรคโลหิตจาง

ผู้หญิงเกือบ 2 ใน 3 คน อ่านเขียนไม่ได้ และทั่วประเทศมีเด็กผู้หญิง 35 ล้านคนที่ไม่ได้ไปโรงเรียน

(สถิติจากนิตยสาร Femina มกราคม 2007)

จากความเรียงว่าด้วย Women and Men ในหนังสือ The Argumentative Indian โดยอมาตยา เซ็น นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลชาวอินเดีย ช่องว่างระหว่างหญิงและชายในอินเดียเริ่มตั้งแต่ 'อัตราการเกิดที่ไม่เสมอภาค' เมื่อเทียบกับมาตรฐานอัตราการเกิดตามธรรมชาติของทารกหญิงต่อชาย ซึ่งเป็นร้อยละ 95 (คำนวณจากประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือที่ไม่มีการเลือกเพศบุตรเป็นปัจจัยการเกิด) ประเทศในเอเชียตะวันออกมีตัวเลขที่น่าตกใจที่สุด ได้แก่ สิงค์โปร์และไต้หวันร้อยละ 92 เกาหลีใต้ร้อยละ 88 จีนร้อยละ 86 สำหรับอินเดียซึ่งยากแก่การคำนวณจากจำนวนการแจ้ง เกิด เมื่อคำนวณด้วยประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ พบว่าจากปี 1991 ถึง 2001 ประชากรเด็กหญิงต่อเด็กชายลดลง จากเดิมร้อยละ 94.5 เหลือเพียง 92.7 ซึ่งน่าจะมีเหตุจากเทคโนโลยีการตรวจหาเพศทารกที่ก้าวหน้าและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

อัตราการเกิดของทารกเพศหญิงนี้เมื่อสำรวจตามภูมิภาคพบว่าค่อนข้างคงที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในภาคเหนือและตะวันตก โดยเฉพาะในรัฐปัญจาบ ฮาร์ยาน่า กุจาราต และมหาราษฎร์ อัตราอยู่ระหว่างร้อยละ 79.3 ถึง 87.8 ส่วนที่สูง กว่าเกณฑ์มาตรฐานคือรัฐเคราล่า อันดราประเทศ เบงกอลตะวันตก และอัสสัม ซึ่งมีอัตราระหว่างร้อยละ 96.3 ถึง 96.6 ด้วยตัวเลขคร่าวๆ นี้ ทำให้พอสรุปภาพได้ว่า เด็กหญิงไม่ค่อยเป็นที่พึงประสงค์ในบรรดารัฐข้างต้น ซึ่งตัวเลขจากนิตยสารเฟมิน่าดูจะยืนยันข้อสรุปดังกล่าวพบว่า จากการสำรวจจำนวนประชากรเบื้องต้น ตลอดปี 2006 ในรัฐฮาร์ยาน่าไม่มีทารกเพศหญิงถือกำเนิดเลย

เด็กหญิงที่หายไปเหล่านี้ บ้างไม่มีโอกาส ลืมตาดูโลก เนื่องจากบางครอบครัวลักลอบตรวจหาเพศทารกในครรภ์และทำแท้งเมื่อทราบว่าเป็นเพศหญิง บ้างถูกกำจัดแต่แรกเกิด กรณีตัวอย่างที่เผยภาพในเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน เมื่อชายชาวปัญจาบรายหนึ่งพาภรรยาที่ตั้งครรภ์ไปตรวจอัลตราซาวน์ แพทย์รายงานว่าทารกในครรภ์เป็นเพศหญิง สองเดือนต่อมาเขากลับมาพบแพทย์เพื่อขอให้ทำแท้งภรรยา เนื่องจากต้องการได้ลูกชาย แต่กลับพบว่าผลการตรวจอัลตราซาวน์ก่อนหน้านั้นผิดพลาด เพราะศพทารกจากการทำแท้งเป็นเพศชาย ชายผู้นั้นจึงยื่นฟ้องแพทย์ดังกล่าวในข้อหาฆ่าบุตรชายคนเดียวของตน

ภาพรวมของสถานการณ์เหล่านี้มีสาเหตุ จากสังคมที่ยังถือคติผู้ชายเป็นใหญ่ และยึดในประเพณีที่ผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายให้สินสอดแก่ฝ่ายชาย อันที่จริงประเพณีนี้มีรากจากความคิดที่ว่า เมื่อลูกสาวออกเรือนไปอยู่บ้านฝ่ายชาย พ่อแม่จะให้สินทรัพย์ติดตัว ทั้งเพื่อใช้ในยามจำเป็นและช่วยจุนเจือครอบครัวฝ่ายเจ้าบ่าว ซึ่งนับแต่นั้นจะเป็นผู้เลี้ยงดูลูกสาวของตน แต่คติดังกล่าว ได้เพี้ยนไปจนกลายเป็นเรื่องของการได้และเสียประโยชน์ ซึ่งการแต่งงานส่วนใหญ่พ่อแม่ยังคงเป็นฝ่ายหาคู่ให้ ทั้งมีการเรียกสินสอดทองหมั้นกันดุเดือด นับจากเงินสด ทองหยอง รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และขนาดงานจัดเลี้ยง โดยมีสถานะอย่างวรรณะหรือตระกูล รวมถึง 'คุณภาพ' ของเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นปัจจัยต่อรอง ดังจะเห็นจากประกาศหาคู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ รายวันที่มีการโฆษณาแจกแจงถึงวรรณะ ตระกูล การศึกษา อาชีพ เงินเดือน ไปจนถึงอายุ สัดส่วน และความสูง ซึ่งโดยทั่วไปยิ่งฝ่ายชายคุณภาพคับแก้วเท่าไร สินสอดก็มักสูงเป็นเงาตามตัว

ฉะนั้นนอกเหนือจากเรื่องการสืบวงศ์ตระกูลแล้ว เมื่อเอาเรื่องสินสอดเป็นเกณฑ์กำหนดอนาคต ทันทีที่ลูกเกิดมาเป็นผู้ชายย่อมหมายถึง 'ได้' เป็นผู้หญิงย่อมหมายถึง 'เสีย' เป็นเหตุให้ทารกเพศหญิงไม่เป็นที่พึงประสงค์ของบรรดาครอบครัวหัวเก่า ยิ่งถ้ายากจนด้วย แล้ว การมีลูกผู้หญิงมักถูกมองว่าเป็นภาระ หนักและการมีลูกสาว แล้วไม่ได้ออกเรือนถือเป็นเรื่องน่าอายเสียยิ่งกว่าการไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อแต่งลูกสาว

การกำจัดเด็กผู้หญิงเสียแต่ต้นจึงเป็นวิธีหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องสินสอดที่จะตามมา บาง กรณีเป็นเรื่องของการวางแผนครอบครัว กำจัด ลูกผู้หญิงเพื่อรอที่จะได้ลูกผู้ชาย หรือลดจำนวน ในกรณีที่มีลูกสาวมากเกินพอ การเสียชีวิตของเด็กผู้หญิงยังเกี่ยวเนื่องกับปัญหาสุขภาพของผู้หญิงโดยรวม โดยเฉพาะในครอบครัวยากจนที่ผู้หญิงไม่ได้รับการเอาใจใส่ทั้งในชีวิตปกติและช่วงตั้งครรภ์ ส่วนหนึ่งมาจากมุมมองว่า ผู้หญิงได้แต่ทำงานบ้านไม่จำเป็นต้องกินดีเท่ากับ ผู้ชายที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทัศนะที่ฝังรากลึกนี้ทำให้แม้ในครอบครัวที่ผู้หญิงทำงานใช้แรงงานไม่ต่างจากชาย หรือบางครั้งมากกว่าผู้ชาย เพราะต้องทำงานทั้งนอกและในบ้าน เรื่อง การกินอยู่ผู้ชายมักได้รับสิทธิที่ดีกว่า สถานการณ์นี้ครอบคลุมไปถึงเด็กผู้หญิงจนเกิดการเสียชีวิตหรือมีปัญหาสุขภาพเนื่องจากขาดสารอาหาร สาเหตุการเสียชีวิตยังรวมไปถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และกรณีการฆ่าภรรยาเพื่อเอาสินสอด ซึ่งแม้จะลดจำนวนลงแต่ยังคงมีให้เห็นในหน้าข่าวหนังสือพิมพ์อยู่เป็นระยะ

ความไม่เสมอภาคระหว่างหญิงชายในอินเดียดูจะเป็นปัญหาที่ฝังรากลึก และซ่อนปมอยู่ในสังคมที่อ้างตัวว่ากำลังก้าวสู่โลกสมัยใหม่ ตัวอย่างล่าสุดคือกรณีโฆษณาของบริษัทประกันชีวิต ING Vysya ที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโฆษณาประกันชีวิตประเภทที่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ของลูกผู้หญิงด้วยการให้เด็กผู้หญิง พูดสโลแกนว่า "แม้จะเป็นที่รัก แต่ก็ยังเป็นภาระ" ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากผู้ชมจำนวนมาก และคณะกรรมการป้องกันสิทธิเด็กแห่งชาติได้ยื่นเรื่องต่อรัฐบาล จนมีคำสั่งให้งดแพร่ภาพโฆษณา ดังกล่าว

การต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้หญิงในอินเดีย แม้จะตื่นตัวและต่อเนื่องมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ก็ยังคงมีประเด็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขมาก มาย ดังสะท้อนในภาพโปสเตอร์รณรงค์สิทธิผู้หญิงที่จัดแสดงในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาโดย Seagull Arts and Media Research Centre ในเมืองกัลกัตตา ซึ่งรวบรวมและคัดเลือกจากโปสเตอร์กว่า 1,500 ภาพ จากองค์กร 200 แห่ง ภาพรณรงค์ดังกล่าวมีประเด็นหลากหลาย นับจากปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง การข่มขืน ปัญหาเรื่องสินสอด ประเด็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติ รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงอาหาร การศึกษา ข้อมูลข่าวสาร ที่พักอาศัย และสิทธิทางการเมือง ฯลฯ

การต่อสู้ดังกล่าวแม้จะได้ผลในระดับของกฎหมายอยู่บ้าง เช่นที่มีการออกกฎหมายห้ามการเรียกสินสอดและการตรวจหาเพศทารก ในครรภ์ แต่การบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติยังเป็นเรื่องห่างไกลความเป็นจริงมาก

ส่วนการเรียกร้องที่นั่งสำรอง 33% ของตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งในส่วนรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่ปี 1996 ปัจจุบันยังไม่ได้รับมติรับรองเป็นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ล่าสุดรัฐบาลมีการเรียกประชุมเพื่อฟังความเห็นชอบจากพรรคร่วมรัฐบาล แต่ผลจะออกมาในรูปใด จะมีการแก้ไขและเป็นจริงใน ทางปฏิบัติหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป

ปัญหาเหล่านี้คงจะได้รับการแก้ไขในทางที่ดีขึ้นได้ หากสังคมอินเดียโดยรวมตระหนักเช่นที่ อมาตยา เซ็น ชี้ไว้ว่า ผู้หญิงมิได้เป็นเพียงลูกสาว แต่จะเป็นทั้งภรรยาและแม่ของลูก หากผู้หญิงมิได้รับสิทธิและมีชีวิตที่ดี สังคมอินเดียจะเติบโตและมีอนาคตที่ดีได้อย่างไร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us