Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2551
Yukichi Fukuzawa             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Yukichi Fukuzawa




ภาพ Portrait โทนสีน้ำตาลของชายในชุดกิโมโนที่ปรากฏอยู่บนธนบัตรฉบับ 10,000 เยนนั้น หาใช่พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ใดไม่ หากเมื่อเพ่งมองด้านล่างทางขวาของธนบัตรจะพบชื่อบุคคลเจ้าของภาพที่เขียนกำกับไว้ด้วยอักษรคันจิขนาดเล็ก 4 ตัว ซึ่งอ่านได้ว่า "Fukuzawa Yukichi"

เมื่อปลายปี 2004 รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจประกาศใช้ธนบัตรใหม่เพื่อลดปัญหาธนบัตรปลอม ที่พิมพ์ด้วยเทคนิคขั้นสูงในระดับใกล้เคียงกับที่โรงพิมพ์ธนบัตรของรัฐ ซึ่งเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติรุ่นเก่าไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างจากธนบัตรฉบับจริงได้* การเปลี่ยนแปลงบนธนบัตรใหม่นั้น ไม่เพียงแต่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ล้ำสมัยที่ออกแบบอย่างประณีตเพื่อให้ยากต่อการปลอมแปลง หากยังเปลี่ยนรูปบุคคลบนธนบัตรฉบับ 1,000 และ 5,000 เยน แต่คงภาพของ Yukichi Fukuzawa บนธนบัตร 10,000 เยนเอาไว้**

เป็นตรรกะที่บ่งแสดงสำนึกในคุณูปการอเนกอนันต์ที่ Fukuzawa อุทิศตนปลูกฝังรากฐานสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้ญี่ปุ่นก้าวไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในเอเชีย

Yukichi Fukuzawa เกิดเมื่อ 10 มกราคม 1835 ที่ Osaka เมืองศูนย์กลางการค้าทางตะวันตกของญี่ปุ่น ในช่วงปลายของสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1868) แม้จะถือกำเนิดมาในชาติตระกูลของซามูไรแต่บิดาเป็นซามูไรในอันดับที่ไม่สูงนัก

หลังจากบิดาซึ่งเดินทางมาทำงานตามคำสั่งของไดเมียวและพักอาศัยใน Osaka เสียชีวิตลงเมื่อเขามีอายุเพียงหนึ่งปีครึ่ง มารดาจึงพาครอบครัวกลับไปยังต้นสังกัดเดิมของไดเมียวที่เมือง Nakatsu ทางเหนือของเกาะ Kyushu (ปัจจุบันคือจังหวัด Oita)

ชีวิตในวัยเด็กของ Fukuzawa ไม่ค่อยราบรื่นนักทั้งที่ควรจะได้รับการศึกษาอย่างสมเกียรติเยี่ยงบุตรของซามูไรซึ่งเริ่มชั้นต้นเมื่ออายุ 5-7 ปีแต่ด้วยฐานะอันฝืดเคืองที่มารดารับภาระเลี้ยงดูบุตรชาย 2 คนและบุตรสาว 3 คนนั้นกว่าจะได้เข้าเรียนชั้นต้นเวลาก็ล่วงเลยไปจนอายุ 14 ปี

แม้ว่าอัจฉริยภาพทางการศึกษาของ Fukuzawa จะเป็นที่เลื่องลือแต่การศึกษาต่อขั้นสูงในโรงเรียนสำหรับซามูไรของสังคมชนชั้นศักดินาในห้วงเวลานั้นเป็นเรื่องยากยิ่ง โดยเฉพาะกรณีที่บิดาผู้เป็นซามูไรอันดับไม่สูงและเสียชีวิตไปนานแล้ว

ตามคำแนะนำของพี่ชายซึ่งรับใช้ไดเมียวแห่ง Nakatsu แทนบิดานั้น Fukuzawa ออกเดินทางไปศึกษาการผลิตปืนกลที่หมู่บ้านฮอลันดาบนเกาะ Dejima ซึ่งเป็นเกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นในเขต Nagasaki หนึ่งเดือนก่อนการลงนามในอนุสัญญา Kanagawa กับสหรัฐอเมริกาซึ่งบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศในปี 1854

ความสามารถในการเรียนภาษาดัตช์ที่ Dejima ได้ฉายแววขึ้นอีกครั้ง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกลายเป็นที่อิจฉาและถูกกลั่นแกล้งถึงขนาดได้รับจดหมายปลอมที่ระบุให้เดินทางกลับ Nakatsu ไปเยี่ยมมารดาซึ่งกำลังป่วยหนัก

ทั้งที่รู้ถึงอุบายในจดหมายดังกล่าว Fukuzawa ได้เดินทางออกจากหมู่บ้านฮอลันดาแต่มิได้มีจุดหมายที่ Nakatsu กลับมุ่งหน้าสู่เอโดะ (ปัจจุบันคือ Tokyo) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 1,000 กิโลเมตรเพื่อศึกษาต่อ

ที่จุดแวะพักระหว่างการเดินทางในเมือง Osaka เขาพบกับพี่ชายอีกครั้งแต่คราวนี้ได้รับการชักชวนให้เข้าเรียนที่ Tekijuku โรงเรียนเอกชนใน Osaka ที่เปิดกว้างสำหรับสามัญชนซึ่งเจ้าของ เป็นแพทย์ชาวญี่ปุ่น ในระยะเวลา 3 ปีนั้นนอกจากเรียนภาษาดัตช์แล้วยังได้เรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี สรีรวิทยา และยังมีผลงานแปลตำราภาษาดัตช์เรื่องศิลปะในการสร้างป้อมปราการ

จากนั้น Fukuzawa เข้าทำงานให้ไดเมียวแห่ง Nakatsu ในฐานะอาจารย์สอน Dutch Studies ซึ่งไปประจำอยู่ที่เอโดะในปี 1858 อันเป็นจุดเริ่มต้นของ Keio Gijuku สถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งแรกของญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาต่อมาพัฒนาเป็น Keio University มหาวิทยาลัยเอกชนที่มี ชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ผลิตบุคลากรคุณภาพระดับประเทศหลายสาขา*** ด้วยเกียรติประวัติอันต่อเนื่องยาวนานคู่ขนานไปกับการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในวาระปีการศึกษา 2008 นี้เป็นปีแห่งการฉลองครบรอบ 150 ปีของการสถาปนา Keio University

ท่ามกลางกระแสวิทยาการสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปที่ไหลบ่าสู่ญี่ปุ่นในช่วงเวลาการเปิดประเทศใหม่ๆ นั้นเมืองท่า Kanagawa (ปัจจุบันคือ Yokohama) เป็นแหล่งที่ใกล้เอโดะมากที่สุดที่สามารถสัมผัสอารยธรรมตะวันตกได้

ที่เมืองท่า Kanagawa นี้เองที่ Fukuzawa ได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่าภาษาดัตช์ที่ร่ำเรียนมานั้นไม่อาจใช้สื่อสารกับฝรั่งชาติอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้แต่การอ่านป้ายตามถนนหนทางในเมืองท่าซึ่งได้กลายเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญในการเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง

โอกาสในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบก้าวกระโดดเกิดขึ้นในปี 1860 เมื่อเขาอาสาสมัครเข้าเป็นสมาชิกในคณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นเดินทางไปเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาที่ San Francisco เป็นเวลาเดือนเศษ ซึ่งภายหลังกลับถึงญี่ปุ่นแล้วได้รับหน้าที่แปลเอกสารทางการทูตใน Foreign Affair ให้กับโชกุน 6 วันต่อเดือนและทุ่มเทเวลาที่เหลือในงานสอนและการเขียนหนังสือ จนในที่สุดเขาตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายการศึกษาที่ Keio University เป็นภาษาอังกฤษแทนภาษาดัตช์

อีก 2 ปีถัดมา Fukuzawa มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับคณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นอีกครั้งในฐานะล่ามเพื่อเจรจาขอเลื่อนการเปิดท่าเรือและต่อรองอัตราแลกเปลี่ยนกับประเทศอังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย และโปรตุเกส

แม้ผลการเจรจาจะล้มเหลวแต่ประสบการณ์หลายเดือนในยุโรปที่ได้สังเกตความก้าวหน้าของวิทยาการสมัยใหม่รวมถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่น โรงพยาบาล โรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ล้วนเขียนรวบรวมไว้ในหนังสือชื่อ Seiyo Jijo (The Condition of the West)

นอกจากนี้ ในปี 1867 เขาได้ขยายความเกี่ยวกับทัศนคติในแบบตะวันตกที่อธิบายโครงสร้างสถาบัน สังคมที่เจริญแล้วไว้ในหนังสือ Corner-Stones and Pillars ซึ่งแปลจาก Political Economy ของ J.H.Barton หลังเดินทางกลับจาก วอชิงตันและนิวยอร์ก

ในบรรดาหนังสือหลายเล่มที่เขาเขียนไว้ภายหลังเข้าสู่สมัยปฏิรูปเมจิ (ค.ศ.1868-1912) แล้วนั้นหนังสือชุดชื่อ "Gakumon no Susume (The Encouragement of Learning)" ซึ่งเขียนและตีพิมพ์ต่อเนื่องระหว่างปี 1872-1876 มีอิทธิพลเปลี่ยนแปลงทัศนคติเรื่องการศึกษาของคนญี่ปุ่นทั้งระดับรัฐบาลและระดับรากหญ้า โดยเฉพาะประโยคเริ่มต้นที่เขียนไว้อย่างน่าติดตามว่า "มีการกล่าวไว้ว่าสวรรค์ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้ใครก็ตามยืนอยู่สูงหรือต่ำกว่าคนอื่น ความแตกต่างใดๆ ระหว่างความฉลาดและความเขลา ระหว่างความจนและความรวยที่มีอยู่นั้นไม่สำคัญเท่ากับการศึกษา"

คุณค่าของ Gakumon no Susume อยู่ที่การกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา ซึ่งเป็นดั่งเมล็ดพันธุ์สำหรับพัฒนาประเทศและยิ่งไปกว่านั้น Fukuzawa ยังเน้นย้ำแนวคิด "Jitsugaku" หรือการนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ ที่เปรียบเสมือนรากแก้วหยั่งลงลึกหล่อเลี้ยงต้นกล้าแห่งการศึกษาให้งอกงาม บริบทดังกล่าวได้สื่อถึงวิสัยทัศน์ที่ตกผลึกออกมาเป็นแนวคิดการปฏิรูปยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพและระเบียบวินัยซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายในการนำญี่ปุ่นไปสู่ความทันสมัยอย่างเป็นรูปธรรมและมีความสำคัญเร่งด่วนมากกว่าการสั่งซื้อเครื่องมือและ/หรือยุทโธปกรณ์ใดๆ จากยุโรป

ภายใต้ลัทธิจักรวรรดินิยมในห้วงเวลานั้นหนทางที่จะรอดพ้นการตกเป็นอาณานิคมเหมือนอย่างประเทศอื่นในเอเชียคือการเร่งศึกษาและพัฒนาประเทศให้ทันสมัยตามแบบอารยธรรมตะวันตกซึ่งมีความจำเป็นมากกว่าการเรียนแต่งโคลงกลอนแบบจีนด้วยอักษรคันจิอันงดงามในโรงเรียนของซามูไร ที่จำกัดสำหรับกลุ่มคนในวรรณะสูงของสังคมในสมัยเอโดะ

การกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่ชุมชนรวมถึงการส่งเสริมการใช้ตัวอักษรคานะซึ่งเป็นชุดอักษรสำหรับสตรีที่ถูกแบ่งแยกจากอักษรคันจิที่ใช้เขียนสำหรับผู้ชายในยุคซามูไรนั้น ช่วยเร่งให้การเรียนรู้ในระดับรากหญ้าสัมฤทธิผลได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสะท้อนแนวคิดที่ริเริ่มเรียกร้องสิทธิสตรีในสังคม Male Dominant ของญี่ปุ่น แม้จะยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบันก็ตาม

อันที่จริงแนวคิดดังกล่าวไม่เป็นผลดีกับความปลอดภัยของตัวเขาเองในช่วงเวลาคาบเกี่ยวของการหมดยุคซามูไรเนื่องเพราะแรงต่อต้านจากกลุ่มซามูไรอนุรักษนิยมที่สูญเสียอำนาจไป กระนั้นก็ตาม Fukuzawa ยังคงเดินหน้าชี้นำให้เห็นความสำคัญของอารยธรรมตะวันตก ในหนังสือ Bunmeiron no Gairyoku (An outline of Civilization Theory)

ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ปฏิเสธการดำรงพื้นฐานแนวคิดค่านิยมแบบญี่ปุ่นเอาไว้ควบคู่ไปกับวิทยาการความรู้จากตะวันตก โดยเฉพาะเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนตลอดจนความซื่อสัตย์ที่เป็นรากฐานสำคัญของคนญี่ปุ่นที่ปรากฏอยู่จวบจนทุกวันนี้

แม้ว่าบทบาทอันโดดเด่นของ Fukuzawa ที่อุทิศตนบนแรงเสียดทานในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจะมีส่วนผลักดันนำญี่ปุ่นรอดพ้นการล่าอาณานิคมในเอเชีย เช่นเดียวกับประเทศไทยก็ตามที หากแต่ความทันสมัยที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อราวศตวรรษครึ่งที่ผ่านมานั้นได้รับการสานต่อจนญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ที่ไม่ได้มีมาตรวัดจากระดับความเจริญของเทคโนโลยี ตึกอาคารใหญ่โตหรือขนาดเศรษฐกิจอันดับสองของโลกเพียงเท่านั้นแต่มีทรัพยากรสำคัญที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าวคือ "ประชาชน" ในระดับรากหญ้าที่ตอบรับและปฏิบัติให้เกิดผลตามแนวคิดของ Yukichi Fukuzawa

อ่านเพิ่มเติม

- นิตยสารผู้จัดการ ฉบับมกราคม 2548 "การกระตุ้นเศรษฐกิจแบบญี่ปุ่น"
- นิตยสารผู้จัดการ ฉบับมกราคม 2548 "ธนบัตรเก่า VS ธนบัตรใหม่"
- ตัวอย่างศิษย์เก่าที่จบจาก Keio University

ญี่ปุ่น - Ryutaro Hashimoto อดีตนายกรัฐมนตรี
- Junichiro Koizumi อดีตนายกรัฐมนตรี

ไทย - เริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us