Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2551
Green Mirror…Renewable energy ความหวังเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคพลังงานที่ยั่งยืน             
โดย พัชรพิมพ์ เสถบุตร
 


   
search resources

Energy




วิกฤติการณ์น้ำมันในทศวรรษ 1970 ได้นำไปสู่ความตระหนักในปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม นับแต่นั้นมาก็เริ่มมีการสร้างดุลอำนาจต่อรองทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่ดึงรั้งกันไปมาระหว่างประเทศ ปัจจุบันดูเหมือนว่าวิกฤติน้ำมันกำลังจะหวนกลับมาสู่สังคมโลกอีกรอบหนึ่ง คราวนี้น่าจะหนักยิ่งไปกว่าเดิมเพราะประจวบกับปัจจัยลบด้านอื่นๆ ด้วย

นับตั้งแต่เริ่มมีความตระหนักถึงแหล่งน้ำมันที่จำกัดสวนทางกับปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งน้ำมันใหม่ๆ ก็ต้องลงทุนเพิ่มขึ้น เพราะขุดขึ้นมาใช้ได้ยากขึ้น ยิ่งกว่านั้นโลกก็กำลังผจญกับภาวะโลกร้อนอันเกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากเกินไป และมลพิษต่างๆ ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวทำให้เราต้องเร่งหาแหล่งพลังงานมาทดแทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียม การศึกษาพัฒนาพลังงานทดแทน (Alternative energy) จึงเริ่มขึ้นอย่างจริงจังนับแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา พลังงานนิวเคลียร์ถูกหยิบขึ้นมาใช้ มีการสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นทั่วไปหลายร้อยโรง โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา ด้วยความเชื่อว่า มนุษย์สามารถที่จะควบคุมและเอาชนะพลังมหาศาลและอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์ได้ แต่อุบัติภัยก็เกิดขึ้นจนได้ ย้ำให้เห็นว่าเราไม่สามารถไว้ใจพลังงานนิวเคลียร์ได้อย่างสนิทใจนัก

พลังงานหมุนเวียนเป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงานทดแทน เป็นความหวังที่เป็นอุดมการณ์ของแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน ใช้ได้ไม่มีวันหมด หรือสามารถคืนรูปได้ จะจริงเท็จแค่ไหนนั้นต้องลองมาวิเคราะห์ดู

อะไรที่จัดว่าเป็นพลังงานหมุนเวียน (renewable energy)

พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล คือรูปแบบของพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อาจนำมาใช้ได้ อย่างต่อเนื่องไม่มีวันหมด นั่นเป็นอุดมการณ์ แต่ความเป็นจริงนั้นถ้ามีการใช้อย่างฟุ่มเฟือย หรือมากเกินไป แหล่งพลังงานก็จะเสื่อมโทรม ลงจนไม่สามารถที่จะหมุนเวียนได้ หรือก่อให้ เกิดผลกระทบในรูปแบบใดแบบหนึ่ง

ที่เห็นได้ชัดคือ พลังน้ำ หรือพลังการไหลของน้ำจากที่สูงลงมาที่ต่ำ อาจจัดเป็นพลังงานหมุนเวียนได้ตราบเท่าที่มีฝนตก มีป่าไม้ มีหุบเขา ที่เอื้ออำนวยให้เกิดวัฏจักรหมุนเวียนของน้ำ (hydrologic cycle) ตามปกติ เกิดเป็นไอน้ำ เป็นเมฆ เป็นฝน และมีการรวมตัวกันเป็นลำน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ แต่การใช้พลังน้ำก็มีขีดจำกัด ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีภูมิประเทศเหมาะสมในการใช้พลังน้ำ และเราได้ฉวยโอกาสนั้นอย่างเกือบเต็มศักยภาพ ปัจจุบันพลังน้ำมีส่วนช่วย ในการผลิตไฟฟ้าให้เราใช้มีสัดส่วนถึง 15% มีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขึ้นมาหลายเขื่อนเกือบทั่วประเทศ การสร้างเพิ่มขึ้นนั้นทำได้ยาก เพราะจำกัดด้วยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ สังคมและผลได้ไม่คุ้มผลเสีย เพราะธรรมชาติ ที่รองรับมีจำกัด ซึ่งเราก็ควรตระหนักว่าหากเราใช้ทรัพยากรน้ำมากและยังคงมีการตัดไม้ทำลายป่าอยู่ แหล่งน้ำจะอยู่ได้อย่างไร นอก จากนั้นยังมีปัญหาภาวะโลกร้อนที่อุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น อากาศแห้งแล้งขึ้น และมีแนวโน้มที่การหมุนเวียนของน้ำจะปรวนแปรไป น้ำจะมากเกินไปในฤดูฝน และแห้งแล้งในฤดูร้อน การใช้น้ำเพื่อพลังงานซึ่งต้องการพลังน้ำอย่างต่อเนื่องก็จะมีอุปสรรค ยิ่งกว่านั้นเรายังต้องแบ่งแยกจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย การใช้พลังน้ำจึงมิได้มั่นคงนัก จำเป็นต้องมีการวางแผนจัดการและอนุรักษ์อย่างรอบคอบเหมาะสมอย่างยิ่ง มิใช่การเนรมิตโครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ขึ้นมาด้วยมุมมองประโยชน์แต่เพียงด้านเดียว

ข้อจำกัดของการใช้พลังงานหมุนเวียน

ตามที่กล่าวมาแล้ว ศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ต้องรักษาสิ่งแวดล้อมและแหล่งพลังงานไว้ให้สามารถหมุนเวียนได้ ต้องคำนึงถึงขีดความสามารถที่จะรองรับได้ อาจมีข้อแย้งว่า แล้วพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมล่ะ มิใช่มีอยู่มากมายใช้ได้ไม่มีวันหมดหรอกรึ

จริงอยู่ แสงอาทิตย์มีอยู่รอบตัวทุกหน ทุกแห่งในโลก มีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันตราบเท่าที่ยังมีเช้า กลางวัน เย็น แสงอาทิตย์ยังเป็นต้น กำเนิดของชีวิตและพลังงานหมุนเวียนเกือบทุกอย่าง ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม สมกับ ที่คนโบราณให้การสักการะบูชาดวงอาทิตย์ไว้สูงสุด แต่เนื่องจากแสงอาทิตย์กระจายตัวไปทุกหนแห่ง การดึงเอาแสงอาทิตย์มาใช้อย่างเข้มข้นนี่สิ มิใช่เรื่องง่าย การใช้อย่างเข้มข้นหมายถึงการนำมาใช้เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมันและเพื่อผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน

พลังงานแสงอาทิตย์ (solar energy)

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อประโยชน์ดังกล่าวจึงต้องอาศัยภูมิประเทศที่เหมาะสม ฤดูกาล ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ส่องสว่าง และที่สำคัญคือเทคโนโลยีในการรวมแสงและเปลี่ยนเป็นพลังงานเข้มข้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีนี้กำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ในไม่ช้าไม่นานเราคงจะเห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในหลายรูปแบบ

ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้แก่ solar cells (photovoltaic cells) ซึ่งเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้โดยตรง เรานำมาใช้กันแล้วทั่วไป ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก และมีการ ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลขึ้นใช้ในระดับชุมชน หมู่บ้านเล็กๆ ไม่กี่ครัวเรือน การนำมาใช้ในสเกลใหญ่จริงๆ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่คุ้มการลงทุนและต้องใช้พื้นที่มาก อีกรูปแบบหนึ่งของการใช้ solar energy คือ การใช้ในรูปของความร้อน ผ่านแผงดูดแสงอาทิตย์ ซึ่งต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการรวบรวมแสงและเก็บความร้อนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือผลิตน้ำร้อนไว้ใช้ตามบ้านเรือน โรงแรม การผลิตให้ได้เป็นไฟฟ้าแจกจ่ายให้กับชุมชนต้องใช้พื้นที่กว้างใหญ่มากเช่นกัน

อุปสรรคของการใช้พลังแสงอาทิตย์คือ ค่าลงทุนสูง ต้องใช้พื้นที่รับแสงมาก ประสิทธิ ภาพที่ได้ต่ำ ในทางเศรษฐศาสตร์คือไม่คุ้มทุน ในสเกลใหญ่ และยังต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีอีกต่อไป เมืองไทยตั้งอยู่บนพื้นที่โลกที่เหมาะกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดประเทศหนึ่ง แต่อย่างที่ว่า คือไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะเราขาดงานศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี และแรงสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างจริงจัง

พลังงานชีวมวล (biomass)

เนื่องจากไทยตั้งอยู่แถบอิเควเตอร์ที่มีมรสุมพาดผ่านตลอดปี มีฝนตกชุก มีภูมิอากาศ ร้อนชื้น ที่พืชพรรณไม้เติบโตได้หลากหลายและรวดเร็ว จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาพลังงาน ชีวมวลขึ้นมาใช้ แต่การพัฒนาขึ้นมาในสเกลใหญ่เพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ทั้งการจัดการพื้นที่เพาะปลูก การอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งพลังงานที่หมุนเวียนได้ ยังต้องมีการวางแผนจัดสรรที่ดิน ไม่ให้ก้าว ก่ายพื้นที่เกษตรกรรมชนิดอื่นและพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติ ถ้าเรา สามารถวางแผนและปฏิบัติการได้ลงตัว พลังงานชีวมวลก็จะนับได้ว่าเป็นแหล่งพลังงาน ที่ยั่งยืนของเราได้อย่างหนึ่ง

พลังงานชีวมวลที่เรานำมาใช้ หมายรวมไปถึงเอทานอล ที่นำมาผสมกับน้ำมันเป็นแก๊สโซฮอล์ น้ำมันพืชผ่านกระบวน การเป็นไบโอดีเซลและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น แกลบ กาบมะพร้าว ซังข้าวโพด มูลสัตว์ ที่อาจนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

แนวคิดแบบ "small is beautiful"

การใช้พลังงานหมุนเวียนที่ยังไม่คุ้มค่า กับการลงทุนนั้น เพราะเรามุ่งที่จะพัฒนาให้เป็นสเกลใหญ่ ต้องใช้พลังงานที่มีความเข้มข้น สูง เพื่อให้เทียบเคียงกับน้ำมัน แต่ถ้าเราหันมาใช้แนวคิดแบบ "small is beautiful" คือวางแผนใช้ในขนาดเล็กๆ และกระจายตัวไปตามเมืองเล็กเมืองน้อย ตามศักยภาพของแต่ละท้องถิ่น เราก็จะใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก นี่นับรวมไปถึงการใช้เป็นรายบุคคลและอุปกรณ์เล็กๆ น้อยๆ ด้วย เมื่อคิดโดยรวมแล้วก็จะเป็นประโยชน์ได้มาก น่าจะลดการใช้น้ำมันไปได้ไม่น้อย และถ้าเอาไปใช้กับชนบท ยังทำให้คุณภาพชีวิตของคนในที่ห่างไกลดีขึ้นนอกจากนั้นยังมีข้อดีอื่นๆ อีก คือ ติดตั้งง่าย บำรุงรักษาซ่อมแซมง่าย ประสิทธิภาพสูงขึ้นเพราะระบบสูญเสียพลังงานน้อย และใช้แหล่งพลังงานที่มีศักยภาพอยู่ในท้องถิ่นและยังช่วยส่งเสริมให้คนท้องถิ่นพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐส่วนกลาง ในด้านเศรษฐกิจ ก็ทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นอย่างยั่งยืนด้วย

ยกตัวอย่างเช่น การผลิตไฟฟ้าด้วย โซลาร์เซลล์ให้กับชุมชนขนาดเล็ก ถึงแม้จะต้องลงทุนสูงในส่วนที่เป็นโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้า แต่ค่าลงทุนก็ลดลงได้ในส่วนของสายส่ง เสาไฟ และสถานีจ่ายไฟ ส่วนค่าดำเนินการก็ไม่ต้องเสียค่าเชื้อเพลิงผลิตไฟ และลดค่าบำรุงรักษาลงได้มาก เมื่อหักกลบค่าลงทุนและค่าที่ประหยัดได้ทั้งหมดแล้ว ระบบโซลาร์เซลล์ก็คงจะไม่น้อยหน้าไปกว่าระบบแบบเดิมเท่าใดนัก ในระยะยาวอาจจะดีกว่าด้วย แถมยังได้ผลดีในด้านอื่นๆ อีก เช่น คนในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการพัฒนาความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและดูแลรักษา และอาจจะขยายผลไปถึงการประยุกต์ใช้แสงอาทิตย์ในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วย

ช่วงเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ยุคใหม่แห่งพลังงานหมุนเวียน

แม้จะเกิดการขาดแคลนเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล แต่มนุษย์เราก็คงจะเอาชนะอุปสรรคและเอาตัวรอดได้เสมอ ในอนาคตไม่ช้าก็เร็ว เทคโนโลยีพลังงานทดแทนก็คงจะก้าวหน้าขึ้น จนสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนน้ำมันได้อย่างจริงๆ จังๆ

แต่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายนี้ที่เราส่วนใหญ่ยังคลุมเครือกันว่า จะทำอย่างไรดี หลายคนคงสงสัยกันว่า น้ำมันปิโตรเลียมจะหมดโลกไปกระนั้นหรือ และจะเกิดขึ้นเมื่อไร และการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าเสรี การขนส่งลอจิสติกส์ โครงการรถไฟฟ้า และโครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ ต่างๆ จะจบสิ้นไปกระนั้นหรือ การก้าวเข้าสู่ยุคพลังงานใหม่ ในขณะที่ เรากำลังรอเทคโนโลยีพลังงานใหม่ๆ เข้ามา จึงต้องมีช่วงของการเปลี่ยนถ่ายจากการใช้เชื้อเพลิงรูปแบบเดิมมาเป็นพลังงานทดแทน

แนวโน้มก็คือเราคงใช้น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ไปได้เรื่อยๆ ในอัตราการเจริญเติบโตที่ไม่ต้องชะลอตัว ต่อไปอีกอย่างน้อย 50 ปีข้างหน้า เพราะมีปริมาณสำรองการันตีอยู่แล้ว แต่ราคาจะอยู่ที่เท่าไร ไม่สามารถคาดเดาได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การเมือง ในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสถาน การณ์ภาวะโลกร้อนที่ทำให้ภูมิอากาศโลกปรวนแปร

สิ่งที่เราจะทำได้ในช่วงเปลี่ยนถ่ายนี้ ขั้นตอนแรกคือการประหยัด พลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงาน ทั้งโดยการปรับพฤติกรรมการใช้อย่างฟุ่มเฟือย และปรับการ บริหารจัดการในกระบวนการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด (wasteminimization) ครอบคลุมตั้งแต่ในครัวเรือน การจราจรขนส่ง โรงงานอุตสาห-กรรม กิจการการค้าการท่องเที่ยว ฯลฯ ทั่วไป หมดเท่าที่จะทำได้

ขั้นตอนที่ 2 คือการใช้ clean coal technologies หรือเทคโนโลยีปรับคุณภาพของถ่านหินให้มีค่าความร้อนสูงขึ้น สะอาดขึ้น เพราะถ่านหินยังมีอยู่มากมายบนโลก แต่ก็มีวันหมดไปได้ จึงต้องใช้อย่างคุ้มค่า ถ่านหินเกรดต่ำเช่น ลิกไนต์ที่มีราคาถูกก็จะใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ใช้ได้นานขึ้น และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง clean coal technologies นี้แหละที่ประธานาธิบดีบุช พยายามที่จะส่งเสริมขึ้นมา แลกเปลี่ยนกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตาม พันธสัญญา Kyoto Protocol ว่ากันตามสัตย์ จริง ถ้ารับมาปฏิบัติกันจริงๆ ก็อาจจะลดได้ทั้งการใช้ถ่านหิน ลดคาร์บอนไดออกไซด์ และลดมลพิษได้บ้างไม่มากก็น้อย

จริงๆ แล้ว โลกเรายังมีแหล่งน้ำมัน และเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ซ่อนอยู่อีกมาก แต่การนำขึ้นมาใช้นั้นเสี่ยงต่อปัญหาหลายด้าน การเจาะสำรวจและขุดขึ้นมาทำได้ยาก เพราะแหล่งเชื้อเพลิงอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก ค่าลงทุนก็สูงตามไปด้วย ไม่รู้จะคุ้มทุนรึเปล่า และยังมีปัญหาโลกร้อน เกิดภัยธรรมชาติทั่วไปหมด จำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ ยิ่งกว่านั้นยังอาจจะเกิดสงครามโลกแย่งชิงแหล่งน้ำมันขึ้นได้ มีข่าวแพร่มาว่า เมื่อน้ำแข็งละลายในบริเวณขั้วโลกเหนือก็จะเผยแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งมหาอำนาจรัสเซียกำลังหมายปองจ้องจับและพยายามเข้าครอบครองอยู่ แต่สหรัฐฯ จะยอมให้แค่ไหนนั้น เราคงจะต้องจับตาดูการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป ก่อนที่จะได้เข้าสู่พลังงานหมุนเวียนกันอย่างเป็นรูปธรรม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us