|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2551
|
|
ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ อาจไม่ได้ตั้งใจให้วันที่ 19 มีนาคม เป็นวันที่สลักสำคัญอะไร นอกจากเป็นวันที่เขานัดสื่อมวลชนมาฟังการแถลงแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2551 ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ซึ่งเขาเป็นกรรมการผู้อำนวยการอยู่
แต่ในวันที่ 13 มีนาคม ที่เขาออกจดหมายเชิญสื่อมวลชน เขารู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าก่อนกำหนดเวลาแถลงแผนการดำเนินงานไม่ถึง 1 วัน ในคืนวันอังคารที่ 18 มีนาคม (ตามเวลาในประเทศไทย) ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (เฟด) กำลังมีการตัดสินใจครั้งใหญ่ในการออกมาตรการฟื้นฟูตลาดการเงินของสหรัฐฯที่กำลังประสบกับวิกฤติครั้งรุนแรงจากการตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์ (ซัพไพรม์) จนสถาบันการเงินหลายแห่งมีสถานะง่อนแง่น
ดังนั้นระหว่างการแถลงแผนการดำเนินงาน ความสนใจของนักข่าวส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับผลกระทบที่จะเกิดกับตลาดหุ้น ไทย หลังเฟดตัดสินใจในกลางดึกคืนนั้นให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลงมาอีก 0.75% ซึ่งถือว่าเป็นยาแรงที่สุดในการกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกา ที่ทุกคนมองว่ากำลังเผชิญกับการตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ทั้งญาณศักดิ์และผู้บริหารคนอื่นๆ ของ บล.บัวหลวง มองแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในเชิงบวก
"ฝ่ายวิเคราะห์ของบริษัทคาดการณ์ดัชนีหุ้นสิ้นปี 2551 ไว้ที่ 989 จุด" ญาณศักดิ์บอกบนเวทีแถลงข่าว
เหตุผลที่เขามองเช่นนี้เพราะการเมืองของประเทศเริ่มนิ่งหลังมีการเลือกตั้ง ที่สำคัญจากการพูดคุยกับลูกค้ารวมถึง Morgan Stanley พันธมิตรที่เป็นสถาบันการลงทุนจากสหรัฐอเมริกา พบว่านักลงทุนต่างชาติเริ่มนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งการลงทุนโดยตรงและลงทุนผ่านตลาดการเงิน
"ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทำให้หลายประเทศมีดุลการค้าติดลบ แต่ของประเทศไทยกลับเป็นบวก ซึ่งจุดนี้นักลงทุนให้ความสำคัญมาก เพราะดุลการค้าที่เป็นบวก หมายถึงดุลการชำระเงินก็ต้องเป็นบวก แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของเศรษฐกิจ" ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย ให้เหตุผลเสริม
จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ บล.บัวหลวงมองว่าการซื้อขายหุ้นตลอดทั้งปี 2551 จะมีความคึกคักเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย ต่อวันจะอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของปี 2550 ที่อยู่วันละ 17,097 ล้านบาท
ส่วนหุ้นกลุ่มที่ บล.บัวหลวงให้น้ำหนักการลงทุนเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค ได้แก่ หุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ สื่อ และสื่อสาร รวมทั้งหุ้นในกลุ่มพาณิชย์ ส่วนหุ้น กลุ่มรับเหมาก่อสร้างจะโดดเด่นขึ้นในไตรมาส 3 ซึ่งรัฐบาลจะเริ่มเปิดประมูลโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ
มุมมองในเชิงบวกของผู้บริหาร บล.บัวหลวง เป็นมุมมองระยะยาวตลอดทั้งปี ซึ่งอาจสวนทางกับสถานการณ์ระยะสั้น เพราะในวันที่ บล.บัวหลวงบอกถึงการคาดการณ์ดัชนีราคาหุ้นว่าจะขึ้นไปถึง 989 จุดในช่วงสิ้นปี 2551 ดัชนีราคาหุ้นวันนั้น กลับลดลงมา 4.65 จุด มาอยู่ที่ 807.67 จุด และหลุดแนวรับที่ระดับ 800 จุด มาปิดที่ 798.11 จุด ในวันถัดมา
|
|
|
|
|