|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2551
|
|
จากธุรกิจค้าขายเครื่องมือเกษตรและเป็นดีลเลอร์มอเตอร์ไซค์ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดชายแดนเล็กๆ อย่างหนองคายตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีก่อน โดยพงษ์ศักดิ์ สกุลคู อาณาจักร "เจียงกรุ๊ป" เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างจากจิ๊กซอว์ธุรกิจทีละชิ้น วันนี้เจียงกรุ๊ปนับเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ที่สุดแห่งเมืองพญานาคก็ว่าได้
จากมอเตอร์ไซค์ต่อยอดมาเป็นดีลเลอร์รถยนต์มิตซูบิชิแต่เพียงผู้เดียวในหนองคาย ดีลเลอร์รถคูโบต้า และปั๊มน้ำมันเชลล์ จากอำเภอท่าบ่อก็ขยายเขตแดนเข้าสู่อำเภอเมือง จนครอบคลุมทั้งจังหวัด และข้ามพรมแดนไปถึงอุดรธานี
เจียงกรุ๊ปกระโดดข้ามธุรกิจมาลงทุนเปิดห้าง "บิ๊กเจียง" ก่อนสะพานมิตรภาพเปิดไม่นาน
ในช่วงอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ บูม เจียงกรุ๊ปกระโดดข้ามมาจับธุรกิจบ้านจัดสรรในกรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อโครงการ "บ้านจิรทิพย์" ยังมีโครงการอื่นที่ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทนุสาศิริ รวมทั้งยังมีธุรกิจให้เช่าอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ที่มีรายได้นับล้านบาทต่อเดือน
เมื่อกิจการขยายจนใหญ่โต พงษ์ศักดิ์เริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร และมองลึกลงถึงการศึกษา กลายเป็นไอเดียในการเปิดโรงเรียนเจมส์บริหารธุรกิจ (JBAC) เป็นสถาบันอาชีวะเมื่อปี 2544 วัตถุประสงค์ที่ระบุในหน้าเว็บว่า "เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในหนองคายและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงประเทศลาว" โดยมีการเตรียมทุนการศึกษาให้กับคนลาวได้มาเรียนด้วย
ขณะเดียวกันโรงเรียนก็เป็นเสมือน recruitment center ของเจียงกรุ๊ป ในการสรรหาพนักงานที่มีคุณภาพและยังได้พนักงานที่มีความภักดีอีกด้วย ที่ผ่านมามีนักเรียนจบไปแล้วร่วม 2 พันคน
ในปี 2547 เจียงกรุ๊ปกลับสานต่ออาณาจักรย่อยในกรุงเทพฯ อีกครั้ง ด้วยการเปิด Hi Mall ย่านสามเสน
ด้วยผลงานดีบวกกับการเป็น distributor รถคูโบต้าในลาวอยู่ก่อนแล้ว มิตซูบิชิแต่งตั้งให้เจียงกรุ๊ปเป็นตัวแทนในลาว โดยทางเจียงฯ ก็ได้เข้าไปในตลาดเขมรด้วยเลย
"เรามีสิทธิ์แต่งตั้งดีลเลอร์ในลาว นอกจากที่เวียงจันทน์ที่เปิดแล้ว ตอนนี้เราก็มีแผนที่จะตั้งดีลเลอร์ตามเส้นทางต่างๆ ในแผน GMS ที่ผ่านในลาว อย่างสะหวันนะเขต ปากเซ จริงๆ ตลาดลาวก็มีศักยภาพ แต่ไม่ใหญ่มาก ขณะที่เขมรเป็นตลาดใหญ่กว่า มันก็เป็นการเพิ่มวอลุ่มในการเจรจาได้ด้วย" กิตติพงษ์กล่าว
คลุกคลีอยู่ในลาวอยู่สักพัก เจียงกรุ๊ปก็ตัดสินใจจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเบียร์ลาวแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ด้วยรู้ว่ามีตลาดแน่นอน เพราะรสชาติเบียร์ลาวถูกใจคนไทยและนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เคยได้ชิม
การขยายธุรกิจข้ามพรมแดนจากไทยไปยังลาวและเขมรถือเป็นก้าวแรกในการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เจียงกรุ๊ปยังมีโอกาสอีกมาก กิตติพงษ์เตรียมแต่งตัว "กลุ่มบริษัท" เอาไว้บ้างแล้วเพื่อจะกระโดดขึ้น "รถไฟขบวน GMS" ที่พาดผ่าน "หน้าบ้าน"
|
|
|
|
|