Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538
ประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ชีวิตเริ่มต้นเมื่อเกษียณ             
โดย กุสุมา โยธาสมุทร
 


   
search resources

ประสิทธิ์ อุไรรัตน์




คุณประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ในวันนี้อายุ 85 ปี จากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการหลายจังหวัดจนเกษียณในปี 2514 ในตำแหน่งผู้ตรวจราชการ หลังจากนั้นไปดำรงตำแหน่งการเมือง เป็นผู้ว่าการทางพิเศษและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

แต่ภารกิจสำคัญยิ่งของคุณประสิทธิ์หลังเกษียณกลับเป็นการสร้างโรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงยอมรับแห่งหนึ่งของประเทศไทย

"โรงพยาบาลพญาไท" เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เล็กๆ ก่อเกี่ยวกันมาตั้งแต่ปี 2514 เสมือนกองเพลิงมหึมาที่ลามเลียไปอย่างไม่หยุดยั้ง ….เหตุการณ์ที่เกิดกับลูกของเพื่อนรักคุณประสิทธิ์คนหนึ่ง ดื่มกรดน้ำส้มเข้าไปแล้วไม่มีโรงพยาบาลใดรับรักษา ….ไม่เป็นไร เรามาสร้างกันเอง !

พ.ศ. 2519 เขาใช้ชีวิตบำนาญหลังเกษียณ 5 ปีก่อร่างสร้างโรงพยาบาลพญาไท 1 ร่วมกับพรรคพวก ด้วยทุนทรัพย์ประมาณ 10 ล้านบาท

"เหนื่อยมาก เพราะไม่ค่อยมีเงินต้องใช้แรงงานของตัวเอง ต้องเขียนโปรเจกต์เอง ลงทุนเอง คุมงานเองทุกอย่างเพื่อเซฟเงินแทบจะทุกบาท ทุกสตางค์ เพราะสมัยนั้นกู้เงินธนาคารนั้นแสนยาก" คุณประสิทธิ์ย้อนความหลัง

ปีแรกของการลงทุนทุ่มแรงกาย-ใจให้กับกิจการงานด้านการบริการทางการแพทย์ที่ไม่เคยจับต้องมาก่อนในชีวิตนั้น ทำให้โรงพยาบาลพญาไท 1 ประสบภาวะ "ขาดทุน" ไม่เป็นไปตามที่คาดคิด

แต่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่ปี โรงพยาบาลแห่งนี้ก็มีกำไรและปัจจุบันเติบโตมั่นคงแข็งแกร่งด้วยทรัพย์สินส่วนรวมกว่า 3,000 ล้านบาท

กราฟชีวิตของคุณประสิทธิ์ อุไรรัตน์เบนเส้นออกไปสู่แนวคิดที่จะสรรค์สร้างบุคลากรทางการแพทย์พยาบาลเพื่อการสาธารณสุขและอื่นๆ ทุกสาขาอาชีพ และนั่นคือที่มาของ "มหาวิทยาบัยรังสิต"

มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี 2529 ถัดจากการสร้างโรงพยาบาลแห่งแรก 10 ปี และที่นี่เองได้อธิการบดีหนุ่มลูกชายโทน "อาทิตย์ อุไรรัตน์" ซึ่งหันเหไปชื่นชอบกิจการด้านการเมืองการศึกษา แทนการแพทย์

"ในชีวิตผมไม่มีอะไรที่เรียกว่าลำบากยากเย็น คุณแม่เลี้ยงผมเยี่ยงเลี้ยงลูกผู้หญิง สอนเย็บผ้าต้องซ่อนตะเข็บให้ดีให้สวย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมจัดว่าเป็นคนอาภัพกว่าคนอื่นๆ เพราะคุณแม่เป็นลูกสาวคนเดียว ผมก็เป็นลูกชายคนเดียวและก็มีลูกคนเดียวในโลกนี้เหมือนกันอีก"

สายตาแก่กล้าคู่นั้น ดูเศร้าหมองเมื่อพูดถึงบุพการีที่มีกันอยู่แค่ 3 ชีวิต คุณประสิทธิ์เล่าว่า เคยนอนกอดกันร้องไห้เมื่อกลับจากบ้านที่สงขลาหลังเข้ากรุงเทพฯมาเรียนหนังสือ

16 ปีต่อมากับชีวิตบำนาญ คุณประสิทธิ์ อุไรรัตน์ก้าวไปสู่ความรุ่งโรจน์ของโรงพยาบาลพญาไทแห่งที่ 2 ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2530 ด้วยงบลงทุนประมาณ 150 ล้านบาท

การบริหารโรงพยาบาลพญาไทนั้น เป็นภารกิจของคุณประสิทธิ์โดยแท้ เพราะอาทิตย์ผู้ลูกนั้น พิศมัยการเมืองและสนใจการศึกษามากกว่า

ด้วยความเป็นคนที่เข้าลึกถึงจิตใจคน คุณประสิทธิ์ อุไรรัตน์จ้างมือดีทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายการแพทย์พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 50 คนแบ่งเป็น 3 รอบทำงาน ขานรับกันอย่างสอดคล้องกับพนักงานอีก 1,500 คนเศษ ไม่นับรวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เรียกว่า CONSULTANT

"ผมใช้ BASIC ของมนุษย์คือความเมตตากรุณาเป็นฐานในการเรียกเก็บค่าบริการอะไรไม่ให้แรงจนเกินไป ผมบอกพนักงาน-พยาบาลว่าท่านเหล่านั้นที่เข้ามา เพื่อหวังพึ่งเราและท่านเหล่านั้นก็คือคนจ่ายเงินเดือนให้พวกหนู"

คุณประสิทธิ์ อุไรรัตน์ เดือนตุลาคมนี้จะครบ 85 ปี ชอบปลาช่อนตากแห้งกับน้ำพริกคลุกข้าวเป็นชีวิตจิตใจ สิ่งหนึ่งที่ไม่ชอบก็คือปลาตัวใหญ่ๆ และที่สำคัญไม่ทานอาหารมาก แต่ต้อง 3 มื้อตางเวลา อาหารสำหรับประธานประสิทธิ์นั้นแม้ดู PRIMITIVE อยู่ แต่กีฬากอล์ฟที่ชื่นชอบเล่นเป็นประจำถึง 2 ครั้งต่อสัปดาห์คือวันจันทร์และวันพฤหัส

"ก็ทุนสำรองในกายไขมันยังอยู่เยอะ เป็นการเดินออกกำลังทางหนึ่ง ส่วนอยู่บ้านก็ชอบฟังเพลงที่มันเศร้าๆ ยิ่งเสียงแคนแล้ว ชอบมาก ผมได้กำไรชีวิตกว่าคนในวัยเดียวกันอยู่ 3 อย่างคือ ผมบนศรีษะที่ไม่อยากขาวเสียเท่าไร ฟันรึ ก็ยังใช้ฟันจริงแต่กำเนิด ส่วนตา มันก็ไม่ต้องการแว่น"

อะไรๆ ก็ดูจะยังคงทนทานถาวรดีไปหมดสำหรับคุณประสิทธิ์ ผู้ซึ่งทำให้เข็มนาฬิกาชีวิตเดินต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง และเมื่อปีที่ 22 แห่งชีวิตบำนาญของคุณประสิทธิ์ อุไรรัตน์มาถึง ก็พอดีได้ฉลองโรงพยาบาลหลังที่ 3 ที่กำลังก่อสร้างมาได้ 2 ปีแล้วอย่างมโหฬาร ตระการตาบนถนนเพชรเกษม เนื้อที่ 37 ไร่ ด้วยทุนทรัพย์กว่า 1,000 ล้านบาท ไม่นับรวมกิจการโรงเรียนนานาชาติ โรงแรมที่ภูเก็ตและอื่นๆ

คุณประสิทธิ์ อุไรรัตน์ที่ทุกคนในเครือโรงพยาบาลพญาไทเรียกกันติดปากว่า "คุณพ่อ" นั้น ยังมีโครงการ "เพื่อเพื่อนผู้แก่เฒ่า" ที่อยากจะทำอยู่ตะหงิดๆ

สืบเนื่องจากแรงบันดาลใจที่รุนแรงแก่กล้ามากกว่าครั้งใดในชีวิต สร้างกระแสโน้มน้าวความคิดอ่านที่จะถอนตัวเองไปจากการบริหารงานโรงพยาบาลทั้งหลายทั้งปวงภายในอีก 1 ปีข้างหน้านี้ แล้วไปคลุกฝุ่นคลุกดินกับแผ่นดินผืนหนึ่งที่คะเนไว้ว่าประมาณ 800 ไร่แถวๆ รังสิต เพื่อสร้างสถานพักผ่อนบำรุงสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ (HEALTHCARE FOR OLD AGE) ที่มีความสามารถเฉพาะทางในเชิงธุรกิจการงานตามถนัดมาอยู่รวมกัน มีพยาบาลให้ความสะดวก ส่วนความรู้ความสามารถของผู้เฒ่าเหล่านั้นก็จะถูกถ่ายทอดให้แก่นักเรียนนักศึกษา คล้ายๆ โรงเรียนสารพัดช่าง ส่งเสริมให้ได้รับความรู้ที่ไปจากผู้มีประสบการณ์ในสาขาอาชีพต่างๆ

ถ้าพอมีอันจะกินก็ช่วยค่าใช้จ่ายค่าอยู่ค่ากิน และอีกส่วนหนึ่ง สำหรับผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งไม่มีใครดูแลก็สามารถเข้าร่วมมูลนิธินี้ ปลูกผัก ปลูกหญ้า คุณประสิทธิ์บอกว่าทุกคนย่อมมีดีอยู่ในตัว และแม้ไม่ใช่มูลนิธิเพื่อการกุศลแต่ก็พอจะมองเห็นความสำคัญของความชราภาพที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ

แรงดลใจที่พูดถึงนี้ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่คุณหญิงพัฒนา อุไรรัตน์ หนึ่งเดียวในดวงใจ ที่เคยขอร้องคุณประสิทธิ์ด้วยถ้อยคำกินใจก่อนจากกันเมื่อวาระสุดท้ายแห่งชีวิตมาถึง

"คุณหญิงพัฒนากับผม เราอยู่กันมานาน ไม่คิดเลยว่าจะจากกัน ป่วยเพียงเดือนเดียว ก่อนเสียเขาจับมือผม บอกให้ผมสัญญาว่าจะพักผ่อน อาจเพราะห่วง มองว่าเหนื่อย มันก็เหนื่อยล่ะนะตั้งหลายแห่ง สัญญาไปอย่างนั้นจะทำอย่างไรได้ แต่ไม่แน่ผมหาที่ดินได้ ผมจะลาออกแล้วไปอยู่ที่นั่นที่เดียว ไปฟังเสียงน้ำไหลเซาะลงจากห้วย อาจช่วยละลายกัดกร่อนความทุกข์ของหัวใจ เหลือแต่ความบริสุทธิ์ ให้กับมูลนิธิคุณหญิงพัฒนาของผม"

ประโยคสุดท้ายบาดใจจริง สังเกตเห็นความรู้สึกของคุณพ่อประสิทธิ์ผู้แกร่งกล้ามีน้ำตาคลอดเบ้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us