|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังขยับเป้าจีดีพีเพิ่มเป็น 5.6% หลังแนวโมเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวในทิศทางที่สดใสการใช้จ่ายภาครัฐดึงความเชื่อมั่นภาคเอกชนให้เกิดการลงทุนตาม ด้านเงินเฟ้อไม่น้อยหน้าพุ่งกระฉูดถึง 4.5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.0% เหตุต้นทุนสินค้าในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาน้ำมัน เชื่อธปท.ถูกกดดันจากปัจจัยภายนอกให้ลดดอกเบี้ยลง 3.0% ตามเฟดหนีส่วนต่างดอกเบี้ยสหรัฐ
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ปี 2551 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 4.5-5.0% มาเป็น 5.6% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 5.0-6.0% โดยการปรับประมาณการณ์จีดีพีในครั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความสมดุลมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีก่อนและการใช้จ่ายภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น ตามนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงที่อุปสงค์ภายนอกประเทศมีแนวโน้มลดลงจากความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเศรษฐกิจปีนี้ เพิ่มขึ้นจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 ที่เติบโต 4.8% ต่อปี
ส่วนคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2551คาดว่าจะขยายตัว อยู่ที่ 4.3-4.8% หรือ เฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 4% และสูงกว่าปี 2550 ที่อยู่ที่ 2.2% ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าในตลาดโลกมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะขยายตัวอยู่ที่ 1.7-2.2% หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 1.9%
ด้านการส่งออกในปี 2551 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 12.5-14.5% หรือเฉลี่ย13.5% ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ที่ 18.1% ในขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 24-26% หรือเฉลี่ย 25% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 9.6% ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยจะส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลประมาณ 1.4-3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเฉลี่ย 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการขาดดุลหลังจากที่ในปี 2550 เกินดุลอยู่ที่ 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผลมาจากมีการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การส่งออกมีการชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตาม ในด้านดุลบัญชีเดินสะพัดก็ยังเชื่อว่าจะเกินดุลได้ประมาณ 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเฉลี่ยประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 0.5% ของจีดีพี ซึ่งลดลงจากปีก่อนที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ 14.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 6.1% ของจีดีพี
นางพรรณี กล่าวว่า สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2551 จะแข็งค่าขึ้นอยู่ที่31.25-31.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแข็งค่าขึ้นกว่าปี 2550 ที่อยู่ที่ 34.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแต่ถือเป็นการแข็งค่าเหมือนกันหมดตามเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง
ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2551 คาดว่าจะอยู่ที่ 90-95 เหรียญต่อบาร์เรล หรือเฉลี่ย ประมาณ 93 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าประมาณการเดิมที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 80-85 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งการประมาณการดังกล่าวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคาน้ำมันในปัจจุบันแล้วซึ่งถือว่าเพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 67.8 เหรียญต่อบาร์เรล
ทั้งนี้กระทรวงการคลังมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศยังมีทิศทางที่จะปรับตัวลดลงได้อีก โดยคาดการณ์ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.25%เนื่องจากสหรัฐอเมริกายังจะใช้นโยบายลดอัตราดอกเบี้ยในการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ จึงส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของไทยต้องปรับลดลงตาม
สำหรับภาวะเศรษฐกิจในเดือนก.พ. 2551 ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนภายในประเทศผ่านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวได้ดี ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 5.4% สูงขึ้นจากเดือนม.ค. ที่อยู่ที่ 4.3% ก็ตาม ส่วนการส่งออกมีมูลค่า 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว 16.4% ลดลงจากเดือนม.ค. ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว 33.1% ซึ่งลดลงจากเดือนม.ค. ที่อยู่ที่ 14.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนก.พ. ขาดดุล 0.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การยกเลิกมาตรการ 30% ไม่ได้มีผลต่อค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้แทรกแซงค่าเงินบาทให้อยู่ที่ระดับ 31 บาท ได้ ซึ่งถือว่าแข็งค่าขึ้นอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศเดียวกันในภูมิภาคแล้ว
|
|
|
|
|