|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เคเอฟซี ทุ่ม 350 ล้านบาท ขยายธุรกิจใหม่สู่แพลทฟอร์มที่สอง สยายปีกสู่ เมนูอบ-ย่าง-นึ่ง จากตลาดเดิมแค่ไก่ทอด หวังเพิ่มยอดขาย 15% ชูงบตลาด 25 ล้านบาทลุย
นายศรัณย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เคเอฟซีประเทศไทยใช้เวลา 3 ปี ในการศึกษาวิจัยและเตรียมความพร้อมระบบต่างๆเพื่อก้าวเข้าสู่แพลทฟอร์มที่สองของการปรุงอาหาร (Second Cooking Platform) จากวิธีดั้งเดิมที่มีเฉพาะสูตรไก่ทอด มาเป็นความหลากหลายทั้งการ อบ นึ่ง ย่าง โดยใช้งบลงทุนร่วมกันกับทางบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือซีอาร์จี ที่เป็นแฟรนไชส์ในไทย รวมประมาณ 50 กว่าล้านบาท และอีก 300 ล้านบาทด้านการลงทุนเตาอบและการปรับพื้นที่แต่ละสาขารวมกว่า 340 สาขา
การเปิดตัวแพลทฟอร์มนี้ ในเอเชียเริ่มต้นบางประเทศแล้วเช่นที่ จีน ไต้หวัน ไทย ซึ่งเป็นตลาดที่บริษัทแม่ลงทุนเอง และที่ฮ่องกงซึ่งเป็นแฟรนไชส์ ก่อนที่จะขยายไปประเทศอื่น ซึ่งขณะนี้มีแฟรนไชส์หลายประเทศได้เดินทางมาศึกษางานแล้ว
อย่างไรก็ตาม การขยายตลาดนอกจากการทอดนี้ไม่ใช่เป็นการหนีภาพลักษณ์การเป็นจังค์ฟู้ดของไก่ทอดเคเอฟซี เพราะที่ผ่านมาเคเอฟซีปรับภาพลักษณ์มาโดยตลอดแล้ว และยืนยันว่าเราไม่ได้เป็นจังค์ฟู้ด เพราะมีหลายเมนูที่มากกว่าไก่ทอด แต่ทำเพราะว่าต้องการเพิ่มความหลากหลายเมนูและทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เข้ามาทานอาหารเพิ่มขึ้นทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยเข้าร้านเคเอฟซี แต่เรายังคงยืนยันว่าเป็นคิวเอสอาร์และเปลี่ยนสโลแกนจาก "สุขล้นเมนู" เป็น "เคเอฟซี ชีวิตครบรส"
ปัจจุบันเคเอฟซีมีฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มครอบครัวและมีลูก 40% กลุ่มผู้ใหญ่เริ่มทำงานอายุ 20-29 ปี สัดส่วน 20% อายุ 30 ปีขึ้นไม่มีครอบครัว 10% และกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี สัดส่วน 20% ส่วนความถี่การเข้าร้านเคเอฟซีของผู้บริโภคนั้นอยู่ที่ กลุ่มที่ทานมาก 2 อาทิตย์ต่อครั้ง กลุ่มมีเดียอยู่ที่ 1 ครั้งต่อเดือนครึ่ง และกลุ่มที่ทานน้อย 3 เดือนต่อครั้ง หรือเฉลี่ยแล้ว 1 ครั้งต่อ 1 เดือน โดยคาดว่าแพลทฟอร์มใหม่ซึ่งเริ่มต้นที่การอบ คือ วิงอบฮิตส์ จะเพิ่มยอดขายอีก 15% เฉพาะทานในร้าน ไม่รวมการโตจากการขยายสาขาและดีลิเวอรี่ และเพิ่มการเข้าร้านเป็นเฉลี่ย 2 ครั้งต่อเดือน
"แพลทฟอร์มนี้ไม่ใช่เป็นแคมเปญ แต่เป็นการลงทุนและถาวร เป็นการขยายครั้งใหญ่ในรอบ 24
ปีของเคเอฟซีในไทย เราต้องการสร้างการเติบโตแบบยั่งยืน ไม่ใช่เติบโตแบบแฟชั่นชั่วคราว ยูนิฟอร์มก็เปลี่ยนใหม่ เรามาเน้นโทนสีเขียวกับส้ม แต่โทนสีร้านหลักยังเป็นสีแดง และเรายังคงสัดส่วนรายได้หลักที่มาจากการทอด 80% และคาดว่าแพลทฟอร์มที่สองนี้จะมีสัดส่วนรายได้ 20%" นายศรัณย์กล่าว
ทั้งนี้ ช่วงไตรมาสแรกนี้เคเอฟซีมียอดขายเติบโต 20% สูงกว่าเป้าหมายซึ่งตั้งไว้ที่ 15% ส่วนประเด็นต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น ขณะนี้บริษัทฯยังสามารถรองรับได้ จึงยังไม่ปรับราคา เพราะเพิ่งปรับไปต้นปีประมาณ 5%
นายโชคดี วิศาลสิงห์ ผู้จัดการทั่วไปเคเอฟซี บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือซีอาร์จี กล่าวว่า ในฐานะแฟรนไชส์ซีมีวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกันกับยัมฯ ในเรื่องการเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภค เราเชื่อว่าการลงทุนครั้งนี้จะสามารถต่อยอดไปสู่การขยายกลุ่มลูกค้าและสร้างยอดขายที่สูงขึ้น 15% ในปีนี้
นางแววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดเคเอฟซี กล่าวว่า แพลทฟอร์มที่สองเริ่มที่เมนูอบคือ วิงอบฮิตส์ก่อนจะขยายสู่การ นึ่งและย่างในอนาคต โดยครั้งนี้จะใช้งบการตลาดรวม 25 ล้านบาทในช่วงเดือนแรกนี้ ทำตลาดแบบ 360 องศา เช่น การโฆษณาทีวี การโฆษณาด้วยการแรพบนรถไฟฟ้าบีทีเอส กิจกรรมตลาด เป็นต้น โดยราคาขายของ คือ วิงอบฮิตส์ อยู่ที่ 3 ชิ้น 49 บาท ซึ่งสูงกว่าแบบทอด
|
|
|
|
|