|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
วงการหุ้นประสานเสียงเร่งแปรรูปตลาดหุ้นไทย ก่อนจะโดนลบออกจากแผนที่ตลาดทุนโลก หลังจากถูกลดความสำคัญลงตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ตกอันดับเกือบรั้งท้ายที่ 11 จากตลาดหุ้นเอเชียทั้งหมด 14 แห่ง บวกกับอัตราการเติบโตช้าแค่ 8.5% ต่ำกว่าตลาดเกิดใหม่ที่โตถึง 35% "บรรยง" หวั่นเอกชนไทยโดนดูดเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นเพื่อบ้านแทน
วานนี้ (25 มี.ค.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ จัดสัมมนาเรื่อง "จุดเปลี่ยนตลาดทุนไทย" เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนในเรื่องยุทธ์ศาสตร์และรูปแบบการแปรรูปของตลาดหลักทรัพย์ไทยรองรับการแข่งขันบนเวทีโลก โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย นายแอนโตนิโอ ริเอรา จากบริษัทบอสตัส คอนซัลติ้งกรุ๊ป ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาตลาดหลักทรัพย์มาแล้วหลายแห่งทั่วโลก, นายแอนดรูว์ เช็ง อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรามการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ฮ่องกง รวมทั้งนายเชีย ฟูหัว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คน มีความเห็นตรงกันที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยจำเป็นจะต้องมีการแปรรูป หากต้องการพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของตลาดทุนโลก โดยตลาดหุ้นไทยควรเร่งเปิดเสรี และแปรรูปให้มีความเป็นบริษัทเอกชน รวมทั้งการนำเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นด้วย เนื่องจากแรงกดดันในกระแสโลกิภิวัฒน์ ได้ทำให้ตลาดหุ้นไทยเล็กลงมารั้งท้ายอยู่ในอันดับที่ 11 จากตลาดหุ้นเอเชียทั้งหมด 14 แห่ง และน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยเดิมเคยอยู่ที่ 35% เหลือเพียง 2 % เท่านั้น
โดยที่ผ่านมา ตลาดหุ้นฮ่องกง ถือว่ามีการประสบความสำเร็จในการแปรรูปทำให้มีมูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) เพิ่มสูงขึ้นคิดเป็น 600% ของจีดีพี ขณะที่ตลาดหุ้นไทยมีเพียง 70-80% ของจีดีพี และทำให้ตลาดหุ้นฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการเงินและตลาดทุนในเอเชีย
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า จากการจัดสัมมนาครั้งนี้ทุกฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องที่ต้องการให้แปรรูปตลาดหลักทรัพย์ หากไม่มีการแปลงสภาพจะทำให้ตลาดหุ้นไทยหายไปจากแผนที่ตลาดทุนโลก
"ผมคิดเรื่องแปรรูปตลาดหุ้นมาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว ซึ่งพร้อมๆ กับตลาดหุ้นมาเลเซีย ที่ได้แปรรูปเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ไทยยังติดขัดกฎหมายและกระบวนการต่างๆ ทำให้ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยล้าหลังกว่ามาเลเซียไปกว่า 10 ปี"
สำหรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมตลาดหลักทรัพย์ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2546-50) มีความเข้มข้นอย่างมาก ส่งผลให้ตลาดทุนไทยกำลังถูกลดความสำคัญลงไปอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากตลาดทุนไทยมีอัตราการเติบโตที่ช้ามาก โดยอยู่ที่ร้อยละ 8.5 ในขณะที่ตลาดทุนเกิดใหม่ (emerging market) ทั่วโลกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 35 โดยเฉพาะตลาดทุนของจีนและอินเดีย
"ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องกลับมานั่งทบทวนอย่างจริงจังถึงยุทธศาสตร์ และโครงสร้างการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทในเครือ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเอื้อต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ มี 3 ทางเลือกที่ควรพิจารณา ได้แก่ 1. การเร่งปรับปรุงโครงสร้างและการดำเนินการโดยไม่แปลงสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯ 2. การแปลงสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นบริษัทจำกัด และ 3. การแปลงสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นบริษัทมหาชน"
โดยทางเลือกต่างๆ นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากต่อการก้าวต่อไปของตลาดทุน ซึ่งการตัดสินใจเลือกแนวทางใดจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างจริงจังในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับ ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้มีการพิจารณาข้อมูลและประสบการณ์ของต่างประเทศ และได้เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยพิจารณาถึงสถานะหรือบริบทของประเทศไทยในขณะนี้ด้วย อย่างไรก็ตามผลสรุปที่ได้จ้างให้บอสตัส คอนซัลติ้งกรุ๊ปศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการแปรรูปและปรับโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์จะเสร็จในอีก2-3เดือน หลังจากนั้นบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ก็จะมาพิจารณาและตัดสินใจว่าจะเลือกดำเนินการในแนวทางใด
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแปลงสภาพ เพราะถ้าไม่ทำอนาคตประเทศไทยจะไม่มีตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะขนาดของตลาดจะเล็กลงเรื่อยๆ และโดยตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่นๆ ที่ใหญ่จะมาชวนบริษัทจดทะเบียนไทยไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ แม้ช่วงที่ผ่านมาตลาดพยายามดึงดูดเอกชนให้เข้ามาจดทะเบียน โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีต่างๆมากมาย ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนของประเทศที่เสียไป
อย่างไรก็ตาม เราจะปล่อยให้ตลาดหุ้นไทยหายไปไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาตลาดทุนไทยเป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจ และปัจจุบันมีบทบาทแซงหน้าตลาดเงินไปถึง 3 เท่าตัว ส่วนตัวเป็นห่วงกระบวนการแปลงสภาพตลาดหลักทรัพย์ว่าควรเริ่มต้นให้ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าภาพดำเนินการ ต้องไม่ใช่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และบทสรุปจะต้องไม่อยู่ในมือนักการเมือง โดยนักการเมือง แม้กระทั่ง รมว.คลังก็จะต้องไม่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงในกระบวนการแปรรูป
"การแปลงสภาพต้องเร่งทำ และเริ่มต้นและจบให้ถูกต้อง ที่สำคัญจะต้องไม่อยู่ในมือนักการเมือง แต่อย่างไรก็ตามการแปลงสภาพเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ยังมีสิ่งที่จะต้องทำหลังจากนั้นอีกมาก ซึ่งตลาดหุ้นไทยตอนนี้อยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง เพราะตลาดทุนทั่วโลกมีการเติบโต 50-60% แต่ตลาดหุ้นไทยไม่มีกิจกรรมที่ผลักดันให้ตลาดหุ้นโตเลย "นายบรรยงกล่าว
ด้านนางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯกล่าวว่า นับจากวันนี้เป็นต้นไป ตลาดทุนในทุกภาคส่วน จะเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ โดยแนวทางที่ รมว.คลังได้เห็นชอบในสาระสำคัญ ที่พร้อมบรรจุตลาดทุนเป็นวาระแห่งชาตินั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะมีแผนพัฒนาตลาดทุนที่เป็นระบบ ครอบคลุมทุกมิติของตลาดทุน
นางทิพยสุดา ถาวรมร ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ญ มีความจำเป็นต้องแปลงสภาพและจะต้องมีการเข้าจดทะเบียนด้วย เพื่อให้มีผู้ถือหุ้นที่ชัดเจน เพื่อที่จะขับเคลื่อนให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินไปตามเป้าหมายได้ รองรับการแข่งขันทั่วโลก แต่ต้องแก้ปัญหาในเรื่องของโบรกเกอร์ที่เคยได้ประโยชน์จากการเป็นสมาชิก คงต้องยอมเสียประโยชน์ เพื่อแลกกับการเป็นเจ้าของ ซึ่งมูลค่าที่จะได้คืนมาอาจจะมากกว่าที่สูญเสียไปก็ได้
นายกัมปนาท โลหะเจริญวณิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า การแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรก่อนที่จะมีการแปลงสภาพ เพราะปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์มีบริษัทลูกหลายบริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งตลาดจะต้องแยกออกให้ชัดเจน และบางบริษัทจะต้องหาพันธมิตรเข้ามาถือหุ้นร่วม เพราะขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้น 100% ในทุบริษัท ซึ่งถือเป็นภาระที่จะต้องสนับสนุนเงินทุนตลอด
ปัจจุบันบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนใหญ่ จะมีกำไรจากการดำเนินงานทั้งบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ทีเอสดี) บริษัทเซ็ทเทรด ดอทคอม จำกัด ขณะที่บริษัทตลาดอนุพันธ์(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน)หรือทีเฟ็กซ์ คาดว่าจะเริ่มทำกำไรได้ในปีหน้า มีเพียงบริษัทแฟมมิลี่ โนฮาว เท่านั้นที่มีการดำเนินงานที่ขาดทุนและตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงต้องสนับสนุนเงินทุนอย่างต่อเนื่อง
"ขนาดองค์กรของตลาดหลักทรัพย์ตอนนี้ถือว่าอ้วนมาก มีการลงทุนในหลายธุรกิจ ก่อนที่จะแปลงสภาพน่าจะมีการปรับองค์กรให้มีความคล่องตัว เพื่อรองรับการแข่งขันเสรีในตลาดโลก" นายกัมปนาท กล่าว
|
|
 |
|
|