บทความ ที่แล้วผมได้กล่าวถึงกล้องบันทึกภาพนิ่งระบบดิจิตอลไปแล้ว มาคราวนี้
ผมขอเลยเถิดขึ้นไปอีกขั้นเป็นเรื่องของการบันทึกภาพเคลื่อนไหวหรือ กล้องวิดีโอ
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ นักท่องเที่ยว นักเก็บเกี่ยวข้อมูล
นักบันทึกประวัติศาสตร์ นักเรียน (รู้) นักสอน นักสร้าง สรรค์ นักคิด นักเผยแพร่
ฯลฯ จนถึงนักเล่นของเล่น คุณอาจจะทำความ ฝันให้เป็นจริงได้ด้วยกล้องวิดีโอ
ซึ่งถ้าเราได ้มีโอกาสนำเทคโนโลยีมาสนอง หรือเสริมกิจกรรม ที่ทำอยู่ให้ก้าวหน้า และได้ผลด้วยหนทางใหม่ๆ
ก็น่าจะเป็น สิ่งที่เป็นประโยชน์
เวลาเราไปงานแต่งงานหรืองานจัดเลี้ยงใหญ่ๆ เรามักจะเห็นช่างถ่ายวิดี โอ
แบกกล้องถ่ายวิดีโอขนาดใหญ่เทอะทะ มีสายไฟรุงรังวุ่นวาย และจะต้องมีผู้ช่วย
ถือไฟส่องสว่างเดินตามต้อยๆ ผมคิดในใจ ถ้าไม่มีความจำเป็นต้อง ทำมาหารับประทานด้วยการเป็นช่างถ่ายวิดีโอ
ผมคงไม่มีวันที่จะทำตัวเอง ให้ลำบากขนาดนั้น ถ้าต้องการบันทึกภาพวิดีโอด้วยตัวเอง
สาเหตุที่ช่างถ่ายวิดีโอนิยมใช้กล้องชนิดนี้เพราะเทป ที่ใช้เป็นชนิดเดียวกับ ที่ใช้กันตามบ้านคือ
เทป VHS ม้วนเทปมีราคาถูก ถ่ายภาพได้นานสอง ถึงสามชั่วโมง ถ่ายเสร็จก็ส่งให้ลูกค้าแล้วรับสตางค์ได้เลย
การที่กล้องวิดีโอใช้เทป VHS ซึ่งตลับมี ขนาดใหญ่ทำให้กลไกของกล้องต้องมีขนาดใหญ่
ตัวกล้องไม่สามารถถือถ่ายด้วยมือเดียวได้ เวลาถ่ายต้องพาดบ่า การพก พา เพื่อไปใช้งาน
ในที่ต่างๆ ก็ไม่สะดวก แต่นี่คือ เทคโนโลยียุคเริ่มต้นของกล้องถ่ายวิดีโอ ที่เรียกว่า
แคมคอร์ดเดอร์ (Camcorder) ซึ่งมาจาก Camera + Video Tape Recorder หรือกล้องถ่ายวิดีโอ ที่มีเครื่อ
งบันทึกเทปอยู่ในตัว
กล้องถ่ายวิดีโอระบบ VHS ไม่ได้รับความนิยมเท่า ที่ควรเพราะความไม่สะดวกใช้ดัง ที่กล่าวมา
ทำให้มีความพยายามสร้างกล้องถ่ายวิดีโอ ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งผลที่ได้คือ กล้องวิดีโอระบบ
8 mm และระบบ VHS-C กล้องวิดีโอ ระบบ 8 mm (ขนาดความกว้างของเส้นเทปเท่ากับ
8 มิลลิเมตร) ซึ่งคิดค้น โดยบริษัทโซนี่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเพราะตลับเทป
8 mm มีขนาดเล็ก ทำให้ตัวกล้องมีขนาดเล็กจนสามารถถือถ่ายได้ด้วยมือเดียว
และสะดวกในการพกพา นอกจากนั้น ยังสามารถบันทึกภาพได้นานถึงสองชั่วโมง ที่ความเร็วเทปปกติ
ข้อด้อยของเทป 8 mm คือ ไม่สามารถนำไปเล่นด้วยเครื่องเล่นวิดีโอเทปตามบ้านได้โดยตรง
แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะเราสามารถเล่นเทป ที่ถ่ายไว้ผ่านกล้องถ่ายวิดีโอออกเครื่องรับโทรทัศน์
ได้ หรือถ้าต้องการเผยแพร่ผลงานสู่ เพื่อนฝูงก็สามารถก๊อบปี้เทป ที่ถ่ายไว้ลงเทป
VHS ได้ ระบบ ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือ VHS-C หรือ Compact VHS เป็นระบบ ที่ใช้เส้นเทปชนิดเดียวกับเทป
VHS (เส้นเทปกว้างครึ่งนิ้ว) แต่บรรจุในตลับ ที่เล็กกว่าปกติ ข้อดีของระบบนี้คือ
ตัวกล้องมีขนาดเล็ก และเทป VHS -C สามารถนำมาเล่นได้ด้วยเครื่องเล่นวิดีโอ
VHS ทั่วไปโดยอาศัยตลับแปลงขนาด แต่มีข้อ เสียคือ ไม่สามารถบันทึกภาพได้นาน
ตลับเทปสามารถบันทึกภาพได้สูงสุด 45 นาที ที่ความเร็วเทปปกติ
หลังจากกล้องถ่ายวิ ดีโอ 8 mm และ VHS-C ได้รับการยอมรับเป็น อย่างดี ก็มีความพยายาม ที่จะพัฒนาคุณภาพ
ของภาพ เพื่อให้ใกล้เคียง เครื่องมือระดับอาชีพ เป็นการเอาใจนักสร้างงานวิดีโอสมัครเล่นหรือกึ่งอาชีพ ที่เน้นคุภาพ
ระบบดังกล่าวได้แก่ ระบบ Hi-8 สำหรับค่ายวิดีโอ 8 mm และระบบ Super VHS-C
สำหรับค่าย VHS-C ซึ่งทั้งสองระบบนี้จะให้ คุณภาพของภาพ ที่คมชัดกว่าธรรมดา
เหมาะสำหรับใช้ผลิตต้นฉบับเทปวิดีโอ หรือใช้ในกระบวนการตัด ต่อภาพ แต่เป็นธรรมดา ที่ของดีต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน
คือ สตางค์ ที่ต้องจ่ายเพิ่มสำหรับกล้อง และม้วนเทป
แต่ทั้งหมด ที่กล่าวมาอาจกลายเป็นอดีตในไม่ช้าเพราะเดี๋ยวนี้มีมาตรฐานใหม่สำหรับการบันทึกวิดีโอเทปนั่นคือ
ดีวี หรือ ดิจิตอลวิดีโอ (DV = Digital Video) ดีวีอาจถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมของการบันทึกภาพเคลื่อน
ไหวแห่งยุค เพราะยุคนี้คือ ยุคที่ไม่มีเทคโนโลยีใด ที่จะหลุดลอดการถูกแปลงให้เข้าสู่ดินแดนแห่งตัวเลขหรือ
ดิจิตอลไสเซชั่นได้ ดีวี คือ รูปแบบการบันทึก ภาพวิดีโอลงเทปขนาด 1/4 นิ้ว
ในระบบดิจิตอล ซึ่งให้ภาพคมชัดมาก มีคุณภาพใกล้เคียงระบบ ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งอุปกรณ์มีราคานับล้านบาท
ตลับเทปดีวี มีสองขนาด คือ ขนาดมาตรฐาน 12.5 x 7.8 ซ.ม. และขนาดจิ๋วหรือ Mini
DV ซึ่งมีขนาด 5.6 x 4.9 ซ.ม. หรือประมาณครึ่งหนึ่งของเทปเพลง ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
เทป Mini DV เป็นเทปบันทึกภาพวิดีโอ ที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่า ที่มีการผลิตออกมาจำหน่าย
และนี่แหละคือ ระบบ ที่ กำลังเป็นที่นิยมกันในหมู่นักเล่นอุปกรณ์ไฮเทควันนี้
ถ้าจะเปรียบเทียบคุณภาพของระบบดีวีกับวิดีโอเทปทั่วไปเช่น VHS ก็เปรียบเสมือนแผ่นซีดีเพลงกับเทปเพลง
ระบบดิจิตอลวิดีโอจะให้ภาพคมชัด และสีสัน ที่สดใส มีสัญญาณรบกวนต่ำ และเนื่องจากสัญญาณภาพเป็นดิจิตอล
การก๊อบปี้สามารถทำได้หลายๆ ครั้งโดยคงคุณภาพของต้นฉบับได้ ไม่ผิดเพี้ยน
(กรณี ที่ไม่มีการแปลงสัญญาณไปมา) สามารถถ่ายทอด สัญญาณเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการตัดต่อหรือปรุงแต่งภาพ
โดยคุณภาพของภาพแทบจะไม่ลดทอน สัญญาณภาพดิจิตอลสามารถรับส่งระหว่างกล้องสองตัวหรือระหว่างกล้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ด้วยสายสัญญาณ ที่ เรียกว่า i.Link (ชื่อนี้โซนี่เป็นผู้ตั้ง) หรือ Firewire
(ชื่อนี้ Apple Computer เป็นผู้ตั้ง) หรือ IEEE 1394 (ชื่อมาตรฐานกลาง)
( ซึ่งทั้งสามคือ สิ่งเดียวกัน)
นอกจากนั้น ระบบดีวียังสามารถจัดเก็บข้อมูลของภาพวิดีโอไว้ได้นานเท่านาน
โดยคุณภาพของภาพไม่เสื่อมถอย ตราบใด ที่ข้อมูลไม่สูญหาย (เช่น โดยการจัดเก็บลงบนแผ่นซีดี
หรือแผ่น ดีวีดี) ซึ่งถ้าเป็น วิดีโอเทประบบอ นาล็อก เช่นเทป VHS เมื่อทิ้งไว้นานๆ
สัญญาณบนเนื้อเทปจะเสื่อมสภาพ ทำให้คุณภาพของภาพลดทอนลงจนถึงขั้นใช้การไม่ได้
ข้อดี ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของกล้อง Mini DV คือ ตัวกล้องสามารถทำให้มีขนาดเล็กมากๆ
ได้ กล้อง Mini DV บางรุ่นมีขนาดใหญ่กว่ากล่องนม UHT เล็กน้อย สามารถนำติดตัวไปได้ทุกหนทุกแห่งโดยสะดวก
ที่กล่าวมามีแต่ข้อดีแล้วข้อเสียล่ะข้อ เสีย ที่ชัดเจนก็เห็นจะเป็นเรื่องราคา
ถ้ าเปรียบเทียบเรื่องราคาระหว่างระบบต่างๆ จะได้ความว่า กล้องวิดี โอ 8
mm รุ่นประหยัด ราคาประมาณ 17,000 บาท ราคาเทป 8 mm 60 นาทีประมาณม้วนละ
200 บาท กล้องวิดีโอ Hi-8 ราคาประมาณ 30,000 บาท ราคาเท ป Hi-8 60 นาทีม้วนละ
400-600 บาท (กล้อง Hi-8 สามารถใช้เทป 8 mm ได้) กล้องวิดีโอดีวี รุ่นประหยัด
ราคาประมาณ 50,000 บาท ม้วนเทป Mini DV 60 นาทีราคา 700-900 บาท จะเห็นว่า
กล้องดีวี เป็นของเล่น ที่ราคาไม่ใช่เล่นๆ (ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อมา เพื่อเล่น)
หรือถ้ายังไม่หนำใจยัง มีกล้องดีวีชนิดกึ่งอาชีพราคา 150,000 ถึง 250,000
บาทให้เลือกซื้ออีกด้วย
สิ่งที่เป็นข้อพิเศษอีกข้อหนึ่งของวิดีโอระบบดีวี คือ เทปดีวีเป็นมาตรฐานของทุกค่ายผู้ผลิต
ไม่ว่าจะเป็นค่าย มัสซึชิตะ (พานาโซนิค) โซนี่ เจวีซี ชาร์ป แคนนอน ฯลฯ ต่างยอม
รับมาตรฐานดีวี และผลิตกล้องดีวีออกมา แข่งขายกันให้ผู้ซื้อมีทางเลือก แต่ ที่พิเศษเหนือขึ้นไปอีกคือ
บริษัทโซนี่ผู้คิด ค้นเทป 8 mm ต้องการหาลำไพ่พิเศษจากความสำเร็จของเทป 8
mm ด้วย การผลิตกล้องวิดีโอระบบ Digital 8 ซึ่งก็คือ กล้องวิดีโอระบบดิจิตอล ที่ใช้เทป
Hi-8 ในการบันทึก โดยใช ้มาตรฐานสัญญาณวิดีโอเหมือนกับระบบดีวี กล้อง Digital
8 ยังมีความสามารถเล่นเทป Hi-8 หรือ 8 mm และ สามารถแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลได้
หรือตัวกล้องสามารถรับสัญญาณวิดีโออนาล็อกแล้วบันทึกเทปในระบบ Digi tal 8
ได้ ซึ่งจุดนี้เป็นการจับลูกค้า ที่ใช้ กล้อง 8 mm หรือ Hi-8 ให้หันมาใช้ระบบ
Digital 8 โดยสามารถนำเทป ที่ เคยถ่าย ไว้ลงให้เป็นระบบดิจิตอล นอกจากนั้น ยังสามารถรับส่งสัญญาณภาพดิจิตอลกับกล้องระบบดีวีอื่นๆ
ได้ด้วย (ผ่านช่อง i.Link) บริษัทโซนี่ยังรุกตลาด ด้วยการตั้งราคากล้องระบบ
Digital 8 ให้ถูกกว่ากล้องดีวีของทุกค่าย (รวมทั้ง กล้องดีวีของโซนี่เอง)
กล้องวิดีโอ Digital 8 รุ่นประหยัดราคาประมาณ 35,000 บาท และใช้เทป Hi-8 ในการบันทึก ซึ่งราคาเทปก็ถูกกว่าเทปดีวีประมาณครึ่งหนึ่ง
ปฏิบัติการของโซนี่เป็นที่ฮือฮาในวงการ และส่งผลกระทบ ให้ผู้ผลิตกล้องดีวีเจ้าอื่นต่างพากันลดราคาผลิตภัณฑ์ของตนลง
ก็เป็นผลดีต่อผู้บริโภคทางหนึ่ง
วงการดีวียังไม่หยุดยั้งเพียงเท่านี้ ล่าสุดบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์สีสดทรงเท่
ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ iMac รุ่นที่ เรียกว่า iMac DV ซ ึ่งมีช่องสัญญาณ
Firewire ติดมาเป็นมาตรฐาน 2 ช่อง ( ซึ่งเดิมจะติดตั้งไว้ในเฉพาะรุ่นใหญ่)
พร้อมกันนั้น ยังแถมโปรแกรมตัดต่อวิดีโอมาให้เสร็จ เครื่อง iMac DV จึงเป็นคอมพิวเตอร์ ที่สามารถตัดต่อวิดีโอ ที่ถ่ายด้วยกล้องดีวี
(รวมทั้ง Digital 8) ได้ทันที และกำลังขายดีเป็นเทน้ำอยู่ในขณะนี้
แม้ว่ากล้องวิดีโอ และอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องดูเหมือนเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นในชีวิต
สำหรับผม ผมคิด ว่าเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้าได้เปิดโอกาส ให้ผู้คนได้พบสิ่งที่ในอดีตเป็นเพียงความฝัน
และเปิดโอกาสให้ผู้คนได้สรร สร้างสิ่งดีๆ ให้กับชีวิต และความคิด ที่จะนำสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ
ไปใช้ในเรื่องของการงาน และชีวิตนอกเวลางานให้เกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คราวหน้าผมจะลงรายละเอียดสำหรับการเลือกซื้อเลือกหากล้องวิดีโอมาใช้งาน เพื่อสร้างฝัน
( ที่จะเป็น สตีเฟ่น สฟิลเบิร์กของเมืองไทย) ให้เป็นจริง แล้วพบกันครับ