Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 มีนาคม 2551
แบงก์ชาติตรึงดอกเบี้ย-เน้นเสถียรภาพฟื้นศก.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
บัณฑิต นิจถาวร
Banking and Finance




รองผู้ว่าฯ ธปท.ส่งสัญญาณชัด 9 เม.ย.นี้ กนง.ไม่ปรับลดดอกเบี้ยตามเฟด ลั่นดอกเบี้ยจะต้องตอบสนองภาวะในประเทศมากกว่าปัจจัยภายนอก ขณะนี้ดอกเบี้ยเอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อและการลงทุน ยกประเด็นเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้ ธปท.ต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจหนุนมูลค่าเงินสร้างกำลังซื้อในมือประชาชน

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “โรดแมพฟื้นเศรษฐกิจชาติ” หัวข้อ ”ยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ : ทิศทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยปี 51” ว่า การดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ยังคงเน้นให้เกิดเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเป็นหลัก เพราะหากมีเสถียรภาพ กำลังซื้อของประชาชนจะไม่ลดลง และส่งผลดีต่อการฟื้นของเศรษฐกิจในประเทศ

ส่วนความท้าทายของ ธปท. และธนาคารกลางทั่วโลกในขณะนี้คือ อัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งต้องดูแล ขณะที่มีความเสี่ยงมากที่เศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงการส่งออก และการขยายตัวของประเทศ ตนมองว่า ปัจจัยลบจากต่างประเทศเป็นปัจจัยที่รุนแรงที่สุดในปีนี้

นายบัณฑิตระบุว่า แม้การพิจารณาดอกเบี้ยจะดูจากปัจจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการอ่อนค่าของดอลลาร์และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แต่การปรับลดหรือขึ้นดอกเบี้ยนั้น ธนาคารกลางแต่ละประเทศ จะเน้นปัจจัยเศรษฐกิจของประเทศตนเองเป็นหลัก เห็นได้จากที่ผ่านมาธนาคารกลางจีน และออสเตรเลีย ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อในประเทศตนเองที่สูงขึ้นมาก ขณะที่แคนาดา ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตามสหรัฐ ด้านธนาคารกลางอังกฤษ และสหภาพยุโรป ตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ย แล้วแต่ปัจจัยภายใน

“ธปท.ยังจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายแนวโน้มเงินเฟ้อที่ 0-3.5% ขณะเดียวกัน ธปท.ดูแลค่าเงินบาทอย่างเต็มที่ โดยตลาดเงินจะต้องมีเสถียรภาพ และไม่ผันผวน ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ กนง.จะตัดสินใจนโยบายดอกเบี้ยตามแนวทางนี้” นายบัณฑิตกล่าวและว่า ขณะนี้การปล่อยสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินมีมากขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ที่ผ่านมา โดยเห็นได้จากสภาพคล่องในระบบ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้เหมาะสม และเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชนแล้ว แต่นักลงทุนต่างประเทศอาจจะยังรอดูการฟื้นตัวในประเทศของไทยว่าจะเหมาะสมต่อการเข้ามาลงทุนในระยะยาวหรือไม่ หลังจากที่ประเด็นทางการเมือง และแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภาครัฐมีความชัดเจนแล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้น หากรัฐบาลควรที่จะเพิ่มการใช้จ่ายในประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งอาจจะมีมาตรการลดภาษีเพื่อจูงใจให้การลงทุนใหม่เพิ่มขึ้น

ส่วนข้อเสนอที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการเพื่อที่จะคงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปนั้น ในระยะสั้นจะต้องหาแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ที่ยังฟื้นตัวอย่างเปราะบางให้ดีขึ้น และจะต้องหาแนวทางในการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลก

เกาะติดเงินไปนอกไม่เกิน 50 ล้านเหรียญ

รายงานข่าวจาก ธปท.แจ้งว่า สายตลาดการเงินของ ธปท.ได้ออกประกาศเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจของนักลงทุนประเภทสถาบันของไทยในการขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเปิดไว้กับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตหรือสถาบันการเงินต่างประเทศให้ถูกต้องและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การลงทุนมากขึ้น

ทั้งนี้ ธปท.ได้กำหนดให้นักลงทุนประเภทสถาบันที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในต่างประเทศจาก ธปท.ต้องแจ้งเอกสารแสดงตัวให้กับธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่ให้รับแลกเปลี่ยนและเมื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้วให้ธนาคารพาณิชย์ขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือถอนเงินจากบัญชี เพื่อชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศตามวงเงินที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. แต่ต้องไม่เกิน 50 ล้านเหรียญหรือเทียบเท่า รวมทั้งทุกครั้งในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ผู้ลงทุนสถาบันจะแสดงยอดคงเหลือในการลงทุนที่ได้รับอนุญาต รวมทั้งยอดค้างในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่เปิดไว้

สำหรับกรณีบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน หากจะซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศและหลักทรัพย์ไทยในต่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนของ ธปท.เป็นกรณีๆ ไป ในประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้การชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศหลักทรัพย์ไทยในต่างประเทศของผู้ลงทุนสามารถชำระเป็นเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศก็ได้ แต่หากผู้ลงทุนจะชำระค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวให้กับบุคคลผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศจะต้องนำเงินบาทฝากเข้าบัญชีเงินบาทของมีผู้ถิ่นที่ยู่นอกประเทศ (NRBA) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจาก ธปท.ก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us