Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538
ศรีวิโรจน์ จันทรวงศ์ "มือทุบห้าง" ที่เริ่มต้นด้วยงานสุดหิน             
 


   
search resources

ศรีวิโรจน์ จันทรวงศ์




ทันทีศาลฎีกาได้ตัดสินให้ทุบชั้นที่ 5-11 ห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ให้เหลือเพียง 4 ชั้น เนื่องจากก่อสร้างอาคารผิดแบบ หลังจากที่ทอดระยะในการต่อสู้ชั้นศาลมานับ 10 ปี กระบวนการสลายความสูงของห้างจึงได้เริ่มขึ้น พร้อมไปกับการไขว่คว้าหามือฉมังทางด้านทุบอาคาร ที่ต้องมารับงานสุดหินชิ้นนี้

"ศรีวิโรจน์ จันทรวงศ์" ก็เป็นวิศวกรธรรมดาผู้หนึ่ง เขาคงไม่ได้คิดมาล่วงหน้าก่อนว่า ณ วันนี้เขาต้องมาจับงานยากที่สุดในชีวิต

ที่ว่ายากก็เพราะจะมีใครสักกี่คนทราบว่า ห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ที่สร้างมานับสิบปีนี้ จะสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กที่เพิ่งจะมานิยมใช้กันอย่างมากในปัจจุบัน จากที่อาคารส่วนใหญ่ที่เคยทุบมา จะเป็นอาคารโครงสร้างปูน อันเป็นที่ทราบกันดีในวงการว่า หากจะต้องรื้อโครงสร้างเหล็กแบบนี้แล้ว

เข็นครกขึ้นภูเขาน่าจะง่ายกว่า

"ผมได้รับการติดต่อจากเจ้าของห้างนิวเวิลด์เมื่อต้นปีนี้ ให้เข้ามาช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาการทุบอาคารแห่งนี้ ซึ่งผมก็ไม่ได้ตัดสินใจตอบรับแต่อย่างใด แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่จะอาสาเข้ามารับหน้าที่ในจุดนี้ เพราะนอกจากงานนี้จะยากแล้ว ยังไม่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับใครได้อีกด้วย และข้อสำคัญคือ เมื่อเจ้าของนิวเวิลด์เขากินไม่ได้นอนไม่หลับ เอาแต่ร้องห่มร้องไห้ และขอให้ผมเข้ามารับหน้าที่ทุบด้วยนั้น ผมจึงปฏิเสธไม่ได้"

ศรีวิโรจน์เปิดเผยความในใจในช่วงที่มารับงานโครงการนี้ว่า ต้องใช้เวลาตัดสินใจอยู่กว่า 1 เดือน สอบถามความคิดเห็นคนรอบข้าง แม้จะมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการเข้ามารับงานนี้ แต่ศรีวิโรจน์คิดว่างานนี้เป็นงานท้าทาย ที่จะได้ทดสอบวิทยายุทธ์ครั้งที่ไปทำงานอยู่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีโอกาสไปเรียนรู้เทคนิคการรื้อถอนในต่างประเทศมาระยะเวลาหนึ่ง

โดยแรกเริ่มเดิมทีนั้น ศรีวิโรจน์หลังจบจากวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 2506 ก็ได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) และเริ่มทำงานที่บริษัททีอีซี ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา หลังจากนั้นได้ไปเป็นลูกจ้างประจำของความร่วมมือกองบัญชาการทหารสูงสุด และกองทัพสหรัฐซึ่งช่วงนี้ ทำให้ศรีวิโรจน์ได้มีความรู้ด้านการก่อสร้างสนามบิน จึงได้มาทำงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ แล้วจึงไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่บริษัทซีคอน จำกัด ปัจจุบันได้เปิดบริษัทอิสระเพื่อรับเป็นที่ปรึกษาทั่วไป

สำหรับความยากลำบากของการทุบอาคารห้างนิวเวิลด์นั้น นอกจากความเป็นโครงสร้างเหล็ก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการทุบอาคารประเภทนี้ในไทย การออกแบบอาคารก็ได้มีการเผื่อความมั่นคงไว้อย่างเต็มที่ เพื่อให้อาคารสามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้อีกด้วย ซึ่งส่งผลให้การรื้อในแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษ

เริ่มตั้งแต่คาน ซึ่งมีความยาว 12 เมตร น้ำหนัก 8 ตัน จะต้องรื้อถอนโดยการใช้เครน 2 ตัว ทั้งหัวและท้าย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้คานทะลุลงมาข้างล่าง ในแต่ละจุดของการรื้อถอนต้องมีช่างตัดและเชื่อม 2 คน เมื่อตัดและโรยคานลงบนพื้นแล้ว ช่างก็จะช่วยกันเจียรหัวท้าย ให้คานมีน้ำหนักเพียงพอในการขนย้ายลงมาข้างล่างด้วยลิฟต์โดยสาร

เนื่องด้วยชั้น 11 ของนิวเวิลด์ เป็นชั้นที่ยุ่งยาและซับซ้อนมากที่สุด คานเหล็กที่ใช้ในชั้นนี้จึงมีมากถึง 267 ท่อน ซึ่งมีการคำนวณว่า หากต้องเวลา 2-3 วันในการเจียรคานแต่ละท่อนแล้ว จะต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปีแน่นอนในการรื้อถอนแต่ละชั้น ซึ่งหากจะให้เสร็จภายใน 1 ปีตามที่กำหนดไว้เดิมแล้ว จะต้องเพิ่มทีมรื้อถอนอีกอย่างน้อย 2-3 ทีมแน่นอน

ความปลอดภัยในการรื้อถอนเป็นสิ่งที่ศรีวิโรจน์คำนึงถึงเป็นอย่างมาก การติดตั้งที่ป้องกันการร่วงหล่นของเศษคอนกรีต จึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ การสกัดคอนกรีตเสริมเหล็กออกจากคานแต่ละท่อนด้วยการใช้แก๊สนั้น จะต้องระมัดระวัง ไม่ใช่เศษไฟร่วงหล่นไปข้างล่างหรือกระเด็นไปถึงเชื้อไฟข้างๆ ทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นได้

การขนคานเหล็กที่ตัดออกมาได้ลงสูงข้างล่าง ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เนื่องด้วยลิฟต์ขนส่งมีสมรรถนะในการขนส่งในระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องใช้การโรยตัวทางด้านข้างตึกลงมาที่ชั้น 5 ด้วย ซึ่งหากจะต้องทำเช่นนั้น จะต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นที่สุดด้วย ซึ่งยังไม่ได้พูดถึงการนำรถบรรทุกเข้ามาขนคานเหล็กเหล่านี้ ซึ่งจะต้องใช้รถจำนวนมากพอสมควรต่อวัน ซึ่งถนนจักรพงษ์ ในเขตใจกลางเมือง คงจะสับหลีกเวลาให้รถบรรทุกเข้ามารับคานเหล็กได้ยากพอสมควรเช่นกัน

จุดที่ยากลำบากอีกหนึ่งจุดนั้นก็คือ การรื้อถอนระบบบนชั้น 11 ซึ่งประกอบด้วย เครื่องปรับอากาศแบบ Central Unit ซึ่งมีอยู่ 4 ตัว หนักประมาณตัวละ 12.8 ตัน ซึ่งจะต้องหาหนทางยกแต่ละตัวลงมา โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคงของแต่ละจุดที่ขนย้ายลงมา นอกจากระบบปรับอากาศแล้ว ระบบประปา สุขาภิบาล ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสารทั้งหมด การรื้อถอนในแต่ละจุดนี้ จำเป็นต้องพึ่งดาวิศวกรงานระบบผู้เคยซัพพลายระบบนี้ให้กับนิวเวิลด์เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการรื้อถอน

ความยากลำบากของการรื้อถอนยังไม่หมดเพียงแค่นี้ การคัดเลือกลูกทีมมาทุบอาคารหลังนี้ ก็เป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน เพราะต้องเลือกหาลูกทีมที่กำยำล่ำสัน ทำงานหนักได้อย่างเต็มที่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในปัจจุบัน ซึ่งกรรมกรก่อสร้างส่วนใหญ่มักจะไม่สนใจงานรื้อถอน ซึ่งไม่สร้างเครดิตในการรับงานของตนเหมือนกับงานก่อสร้างทั่วไป ค่าแรงที่จะให้กับบรรดากรรมการเหล่านี้ จะให้ต่ำกว่าการก่อสร้างอื่นๆ ก็คงจะทำไม่ได้ เพราะจะขาดแรงจูงใจคนเข้ามาทำงาน

ดังนั้นจนถึงขณะนี้ ได้มีการตั้งงบประมาณทุบอาคารนิวเวลด์ไว้คร่าวๆ แล้ว ประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งศรีวิโรจน์เชื่อมั่นว่าจะต้องบานปลายออกไปอย่างแน่นอน เพราะความจำเป็นที่ต้องทุบตึก 7 ชั้นให้ได้ภายใน 7 ปีโดยประมาณ แม้ว่าจะสามารถเร่งรัดงานรื้อถอนในชั้น 5-10 ถัดมาได้เร็วขึ้น เพราะความยุ่งยากลดน้อยลงมากว่าเท่าตัวแล้วก็ตาม

ขณะเดียวกันนอกจากเขาจะต้องรับผิดชอบการทุบตึกนิวเวิลด์แล้ว เขาก็จำใจต้องเข้าไปรับงานทุบห้างแก้วฟ้า ซึ่งอยู่ในเครือนิวเวิลด์ตามคำร้องขอของเจ้าของรายเดิมอีกครั้ง ซึ่งในส่วนของห้างแก้วฟ้านี้จะต้องใช้เวลาทุบอีกอย่างน้อย 42 เดือนหรือประมาณ 3 ปีครึ่ง

ไม่ว่าศรีวิโรจน์จะภูมิใจหรือไม่กับงานที่เขาทำครั้งนี้ก็ตาม หากเขาประสบความสำเร็จในงานนี้ รับรองได้ว่าอาจจะมีห้างหรืออาคารสูงอีกหลายแห่งที่อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาลรอให้เขาทุบอีกหลายหลังแน่

วันนี้ศรีวิโรจน์อาจเป็น "มือทุบห้าง" ด้วยความจำเป็น แต่ในอนาคตอาจจะมี "มืออาชีพ" หน้าใหม่มาทุบแข่งกับเขาอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us