Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538
ศิริพงษ์ จำเริญวิทย์ ผู้ไม่สนใจประวัติศาสตร์พีเพิล พลาซ่า             
 


   
search resources

เรียลวัน กร๊ป
ศิริพงษ์ จำเริญวิทย์
Commercial and business




การค้าย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิดูเหมือนจะคึกคักขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ "เซ็นเตอร์ วัน ช็อปปิ้ง พลาซ่า" ได้ฤกษ์เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2538 แทนที่ "พีเพิล พลาซ่า" ซึ่งปิดฉากลงอย่างสิ้นเชิงเมื่อปลายปี 2537 หลังจากล้มลุกคลุกคลานมาตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จะกระทั่งกลายเป็นบทเรียนทางธุรกิจบทหนึ่งที่น่าสนใจของวงการค้าปลีกไทย

ปัญหาของพีเพิล พลาซ่า เริ่มตั้งแต่การไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในฐานะห้างสรรพรสินค้า จนประสบปัญหาขาดทุนสะสมถึง 85 ล้านบาท ในปี 2532 และแม้ว่าจะปรับตัวตลอดเวลาแต่พีเพิล พลาซ่าก็ไม่สามารถฟื้นตัวได้ จนกระทั่งปลายเดือนเมษายน 2535 ศูนย์แห่งนี้ต้องหยุดดำเนินการเพื่อปรับปรุงโครงการ โดยมีความพยายามที่จะดึงบริษัท ชีวาเลียร์ ออฟฟิศ ออโตเมชั่น และห้างคาเธ่ย์มาช่วยแต่ไม่สำเร็จ

เมื่อไม่สามารถหาหุ้นส่วนใหม่มาช่วยได้ ผู้บริหารพีเพิลจึงตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบโครงการจากห้างสรรพสินค้ามาเป็นศูนย์ค้าส่ง พร้อมกับจ้างผู้บริหารมืออาชีพมาบริหาร แต่แทนที่สถานการณ์จะดีขึ้น กลับกลายเป็นว่าปัญหายิ่งทวีคูณขึ้น เมื่อผู้บริหารของศูนย์กับผู้บริหารมืออาชีพมีปัญหากันเอง

นี่ยังไม่นับปัญหากับธนาคารทหารไทย ซึ่งเป็นแหล่งเงินกู้ขีดเส้นตายให้ชำระเงินกู้จำนวน 325 ล้านบาท

ปัญหานานัปการดังกล่าว ทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของพีเพิล พลาซ่า อันประกอบไปด้วยคนในตระกูลสงวนดีกุล แก้วไพฑูรย์ สูตะบุตรและพิสิฐวานิช ตัดสินใจขายโครงการให้บริษัท เซ็นเตอร์วัน จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดยบริษัท เรียล วัน กรุ๊ป 30% บริษัท เจ เอส แอล จำกัด 30% และผู้ถือหุ้นรายย่อย 40% ของทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท ในราคาประมาณ 400 ล้านบาท เมื่อตุลาคม 2537

จากคำบอกเล่าของศิริพงษ์ จำเริญวิทย์ กรรมการผู้จัดการ เซ็นเตอร์วัน จุดพลิกผันที่ทำให้พีเพิล พลาซ่า เปลี่ยนมือจากเจ้าของเก่ามาเป็นของกลุ่มเซ็นเตอร์วัน นับเป็นเรื่องบุพเพสันนิวาสโดยแท้ เขาเล่าว่า ไม่เคยรู้จักกับเจษฎา สงวนดีกุล ซึ่งปลุกปล้ำอยู่กับพีเพิล พลาซ่ามานาน 10 ปีเลย แต่ภรรยาของเขาไปเจอกับเจษฎาในงานสังคมและมีผู้ใหญ่แนะนำให้รู้จักกัน อันนำไปสู่การเจรจาซื้อขายพีเพิล พลาซ่าในระยะเวลารวดเร็ว

นอกจากจะเป็นจุดพลิกผันของพีเพิล พลาซ่าแล้ว การซื้อโครงการนี้ก็ทำให้ชีวิตของศิริพงษ์พลิกผันไปด้วยเช่นกัน เพราะเขาต้องยุติชีวิตนักการธนาคารที่ดำเนินมานาน 17 ปี กลายมาเป็นผู้บริหารพลาซ่าเต็มรูปแบบอย่างไม่ทันตั้งตัว เนื่องจากผู้ถือหุ้นเห็นว่าเขาพอมีประสบการณ์ทางนี้อยู่บ้าง จึงสมควรที่จะต้องเข้ามาบริหารด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ดี ศิริพงษ์ไม่ใช่หน้าใหม่ในวงการอสังหาริมทรัพย์และพลาซ่าเลย เพราะประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เขาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ควบคู่ไปกับการทำงาน โดยทำในนามบริษัท เรียล วัน กรุ๊ป ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว

ธุรกิจของเรียล วัน กรุ๊ป เริ่มจากการเป็นตัวแทนซื้อขายที่ดิน และเริ่มมีการก่อสร้างอาคารขายบ้างแต่เป็นโครงการเล็กๆ ส่วนโครงการใหญ่ที่ทำให้ชื่อ เรียล วัน เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงการอสังหาริมทรัพย์ เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 5 ปีก่อน

"ตอนนั้นมีคนมาเสนอที่ตรงที่เป็นเซียร์สตรีทในปัจจุบันให้ผม ผมก็มองว่าน่าจะทำเป็นพลาซ่าได้ แต่ไม่มีกำลังจะทำคนเดียว เพราะที่มันใหญ่ บังเอิญคุณพ่อคุณแม่ของผมรู้จักสนิทสนมกับคุณสุรพล เตชะหรูวิจิตร เจ้าของโรงแรมเอเชีย ผมจึงไปปรึกษาท่าน ซึ่งในที่สุดก็ตกลงร่วมทุนกันทำโครงการเซียร์สตรีท ซึ่งเป็นศูนย์ครบวงจรที่มีทั้งพลาซ่า ห้างสรรพสินค้าและโรงแรม โดยโรงแรมเอเชียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 51%"

โครงการเซียร์สตรีทนี่เองที่ทำให้ศิริพงษ์ได้ประสบการณ์ในการทำพลาซ่า ไม่ว่าจะเป็นการขายพื้นที่ การทำสัญญา และการบริหารโครงการ เพราะเขานั่งเป็นกรรมการบริหารที่มีหน้าที่เข้าประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้งตลอดระยะเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา

"เซียร์สตรีทประสบความสำเร็จในแง่โครงการ คือมีการก่อสร้างเสร็จสามารถเปิดดำเนินการได้ แต่ยังไม่สบความสำเร็จในแง่ความคึกคักของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งเราหวังว่าจะคึกคักกว่านี้ หลังจากที่ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ และโรงแรมเปิดดำเนินการ" ศิริพงษ์เล่าถึงผลงานในการทำพลาซ่าครั้งแรกให้ฟัง

สำหรับสาเหตุที่ เรียล วัน มาร่วมทุนกับ เจเอสแอล ทำเซ็นเตอร์วันได้นั้น ศิริพงษ์เล่าถึงสายสัมพันธ์ตรงนี้ว่า เขารู้จักสนิทสนมกับจำนรรค์ ศิริตัน หุ้นส่วนคนสำคัญของเจเอสแอล เพราะเป็นเพื่อนนักเรียนสมัยเด็ก และคบค้าสมาคมกันมาตลอด ซึ่งครั้งนี้ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทั้งสองร่วมมือกันทำธุรกิจ เพราะเมื่อเจเอสแอลต้องการจะขยายไปสู่ธุรกิจเพลงช่วง 10 ปีก่อน ศิริพงษ์ก็เป็น 1 ใน 5 หุ้นส่วนของบริษัท คีตา เรคคอร์ด ที่ถือหุ้นฝ่ายละ 20% เท่ากัน แต่หลังจากนั้น 5 ปีก็ขายหุ้นให้กับนายทุนใหม่ที่สนใจเข้ามาซื้อกิจการไป

ดังนั้นเมื่อศิริพงษ์ตกลงใจเทคโอเวอร์โครงการพีเพิล พลาซ่า เพราะชอบตึก ชอบทำเล เขาจึงชักชวนเพื่อนเก่าให้มาร่วมลงทุนด้วยกัน

หลังจากซื้อพีเพิล พลาซ่ามา ศิริพงษ์ได้เปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่ให้กลายเป็นพลาซ่าขนาดเล็ก เพราะเขาไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำห้างสรรพสินค้า ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารสินค้าคงคลัง การหาสินค้ามาขาย และการฝึกพนักงานส่วนต่างๆ ขณะที่เมื่อเปิดเป็นพลาซ่า ในฐานะเจ้าของศูนย์เขามีหน้าที่เพียงหาผู้ประกอบการมาเช่าหรือเซ้งพื้นที่ เขาทำหน้าที่เพียงดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการให้ได้เท่านั้น

ขณะนี้เซ็นเตอร์ วัน ช็อปปิ้ง พลาซ่า ซึ่งสามารถขายพื้นที่ไปได้แล้ว 75% ของพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางเมตร จึงกลายสภาพเป็น "มาบุญครอง" ขนาดย่อมที่มีฟาสต์ฟูดอินเตอร์อย่าง แมคโดนัลด์ พิซซ่า ฮัท สเวนเซ่นส์ และฟาสต์ฟูดไทยอย่างแบล็กแคนย่อน และโอลดี้ โกลดี้เป็นแม่เหล็กสำคัญดึงดูดลูกค้าวัยรุ่นให้เข้ามาใช้บริการ โดยมีร้านจำหน่ายเสื้อผ้า ร้านขายเครื่องประดับเป็นตัวดึงเงินที่ลูกค้าอาจจะเพิ่งเบิกสดๆ จากสาขาย่อยธนาคารกสิกรไทยที่ตั้งอยู่ชั้นล่างอย่างครบวงจร

อีกเหตุผลหนึ่งที่ศิริพงษ์เปลี่ยนรูปแบบเซ็นเตอร์วันให้กลายเป็นพลาซ่า ก็คือ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับโรบินสัน ซึ่งประจันหน้าอยู่ฝั่งตรงกันข้าม

"โรบินสันเป็นห้างสรรพสินค้า เซ็นเตอร์วันเป็นพลาซ่า จะช่วยเสริมให้กันให้ผู้คนที่ผ่านไปมาแถวนี้มีทางเลือกมากขึ้น และทำให้การค้าย่านนี้มีความครบวงจร อย่างผมเวลาไปเดินเซ็นทรัลเดินในห้างเบื่อก็ออกมาเดินพลาซ่า" ศิริพงษ์ยกตัวอย่างให้ฟัง

นอกจากนี้ ศิริพงษ์ยังวางแผนที่จะลงทุนสร้างเซ็นเตอร์ วัน ช็อปปิ้ง พลาซ่าเฟสที่ 2 บนพื้นที่ 2 ไร่ที่ยังเหลืออยู่ด้านหลังอาคารพลาซ่าเดิม เป็นตึก 6 ชั้นด้วยมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 100 ล้านบาท โดยจะเริ่มก่อสร้างในต้นปี 2539 และแล้วเสร็จในปี 2540 เพื่อทำเป็นศูนย์บันเทิง อันประกอบไปด้วยโรงภาพยนตร์ขนาด 150-200 ที่นั่ง จำนวน 3 โรง และโต๊ะสนุกเกอร์สำหรับผู้ชื่นชอบกีฬาประเภทนี้ด้วย

ศิริพงษ์คาดว่า ถ้า 1-3% ของผู้คนนับแสนที่สัญจรผ่านไปมาบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ เข้ามาใช้บริการก็เพียงพอที่จะทำให้เซ็นเตอร์วันอยู่ได้แล้ว

"ผมไม่สนใจประวัติศาสตร์ของที่นี่" นี่เป็นคำตอบของศิริพงษ์ที่ถูกถามถึงความล้มเหลวที่ผ่านมาของพีเพิล พลาซ่า

กระนั้นก็ดี เมื่อผู้บริหารคนอื่นๆ ที่เชื่อเรื่องฮวงจุ้ย มีความคิดจะสร้าง "น้ำพุ" ขึ้นบริเวณด้านหน้าศูนย์ นัยว่าเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เขาก็ไม่คัดค้าน แม้เขาจะย้ำเต็มเสียงว่า "ผมไม่เชื่อฮวงจุ้ย แต่ผมเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์" ก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us