Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 มีนาคม 2551
คีย์แมนท่องเที่ยวไทยยุคผลัดใบไปสู่การเปลี่ยนแปลง             
 


   
search resources

Tourism




ภารกิจขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ปั๊มรายได้ของท่องเที่ยวไทย ในยุคขององค์กรด้านท่องเที่ยว ที่กำลังถูกเปลี่ยนแปลงใหม่จะสามารถผลักดันสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมาก ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้สูงถึง 8 แสนล้านบาทหรือไม่นั้น หากพิจารณาแล้ว พบว่าหน่วยงานเฉพาะองค์กรของรัฐซึ่งมีขุนพลคนรุ่นใหม่หลายคน ตั้งแต่วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ที่เข้ามาสวมบทบาทเจ้าภาพจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวใหม่ทั้งระบบ เขย่าวงการท่องเที่ยวโดยใช้หลักการ SWOT Analysis เป็นรายจังหวัด รายภาค ระดับประเทศ หวังค้นหาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวไปพร้อมๆกับผลักดันขึ้นสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกหรือ World Class

ว่ากันว่าเป็นแนวทางสำคัญและเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนเรียกร้องมาหลายครั้ง ให้จัดหมวดหมู่แหล่งท่องเที่ยวใหม่ตามลักษณะต่างๆ สร้างความสะดวกทั้งผู้ประกอบการนำเที่ยว และนักท่องเที่ยว ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของการจัดทำบัญชีท่องเที่ยวขึ้น โดยแบ่งเป็น 5 หมวดคือ 1. อุทยานและป่าเขา จำนวน 1,394 แห่ง 2. หาดทรายชายทะเล จำนวน 432 แห่ง 3. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จำนวน 1,623 แห่ง 4. กิจกรรมการท่องเที่ยว 241 กิจกรรม และ 5 แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น 486 แห่ง รวมทั้งสิ้น 4,176 แห่ง เพื่อศึกษาจำนวนปัจจุบัน และศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น

นอกจากนั้นระหว่างปี 2551-2552 จะเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวและการลงทุนด้านการท่องเที่ยว โดยจะเน้นการสร้างเมกะโปรเจคควบคู่กับการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิม ถือได้ว่า เป็นการดำเนินการแบบ Dual Track หรือ การทำ สินค้าใหม่ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงพัฒนาสินค้าเก่าให้ดีขึ้น หวังผลักดันให้อีก 4 ปีข้างหน้ารายได้จากการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านบาท

รายได้ทั้งหมดจึงกลายเป็นตัวชี้วัดแทนจำนวนตัวเลขของนักท่องเที่ยวซึ่งไม่มีความหมายเท่าไรนัก ส่งผลให้มีการส่งเสริมนักท่องเที่ยวรายได้สูง หรือนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้ามาในประเทศมากขึ้นและกลายเป็นนโยบายหลักซึ่งไปสอดรับกับนโยบายของ รพี ม่วงนนท์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือทีพีซี ผู้ดำเนินการโครงการไทยแลนด์ อีลิทการ์ด ที่ปรับแผนยุทธศาสตร์ใหม่ให้รับกับนโยบายการท่องเที่ยวที่เน้นการลงทุนเป็นหลัก และพร้อมเดินหน้าแนวคิดหลัก 5 ประการ ซึ่งประกอบด้วย 1.องค์กรต้องมีการบริหารแบบยั่งยืนเลี้ยงตัวเองได้ 2.บริการลูกค้าแบบเบ็ดเสร็จ 3.มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน 4.สร้างเครือข่ายกลุ่มลูกค้า และ 5.การสนับสนุนให้มีการลงทุน

ขณะเดียวกันจอมทัพอีกคน ที่แม้ต้นสังกัดจะไม่ใช่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แต่บทบาทภารกิจก็มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเหมือนกัน นั่นคือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.ซึ่งมี ณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการ โดยล่าสุดใช้จุดขาย TCEB E-service ให้สอดรับกับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและต้องเท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการทำการตลาดผ่านบริการออนไลน์ หรือ E-marketing

อุตสาหกรรมไมซ์ หรือ การจัดประชุมสัมมนา การจัดแสดงสินค้าระดับนานาชาติ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล เป็นธุรกิจสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ สามารถนำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 50,000 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า 20% ทุกปี ซึ่งที่ผ่านมา องค์กรส่งเสริมตลาดไมซ์ชั้นนำทั่วโลก (CVB) ต่างให้ความสำคัญกับการใช้บริการออนไลน์เพื่อเป็นเครื่องมือดำเนินงานด้านการตลาดแทบทั้งสิ้น

การพัฒนาระบบ TCEB E-service โดยเปิดให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีส่วนร่วมเข้ามาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กอปรกับบริการหลัก 3 ส่วน คือ 1.บริการวิจัยการตลาด หรือ E-survey จะช่วยผู้ประกอบการที่มาใช้บริการในการออกแบบสอบถาม วิเคราะห์พฤติกรรม ความคิดเห็นและความต้องการของลูกค้าแต่ละงาน รวมทั้งมีการประเมินผลการวิจัย 2.บริการสื่อสารผ่านอีเมล หรือ E-message เป็นระบบการเชิญลูกค้าออนไลน์ ซึ่งลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานอัตโนมัติ และระบบจะสามารถแสดงผลการตอบรับของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และ 3.บริการ Website ที่เปรียบเสมือนศูนย์รวมข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกด้านธุรกิจไมซ์ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ศูนย์ประชุม โรงแรมที่พัก ระบบคมนาคมขนส่ง แหล่งท่องเที่ยว รายชื่อบริษัทรับจัดงานประชุม งานแสดงสินค้า การท่องเที่ยว

การบูรณาการด้านท่องเที่ยว ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุคที่องค์กรด้านท่องเที่ยวได้ถูกปรับโฉมโมเดลการตลาดใหม่ชนิดแกะกล่องด้วยฝีมือของขุนพลใหม่ที่เข้ามาบริหารจัดการจึงต้องสอดรับประสานงานกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายถึงเป้าหมายรายได้ที่วางไว้กว่า 8 แสนล้านบาทว่าจะสามารถทำได้หรือไม่นั้นต้องคอยจับตาดู...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us