Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538
ล้มแผนโรงเยื่อกระดาษ อ.อ.ป. ดูไม่ยาก ใครได้ใครเสีย             
โดย สันทิฏฐ์ สมานฉันท์
 

   
related stories

อุตสาหกรรมกระดาษไทย ยุคเฟื่องอยู่แค่เอื้อม

   
www resources

โฮมเพจ แอ๊ดวานซ์ อะโกร

   
search resources

แอ๊ดวานซ์ อะโกร, บมจ.
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
วินัย ทรัพย์รุ่งเรือง
Pulp and Paper




แผนงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้หรือ อ.อ.ป. ที่ฝันมากว่า 5 ปี เพื่อที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ โดยการร่วมมือกับเอกชนไทย มีอันต้องล้มครืนลงอย่างไม่เป็นท่าก่อนที่ทุกอย่างจะเริ่มต้นด้วยซ้ำไป

นับเป็นบทเรียนที่น่าจดจำอย่างยิ่งแก่หน่วยงานของรัฐ ที่ไม่สามารถสร้างอำนาจต่อรอง และการผูกมัด โดยปล่อยให้ฝ่ายตนเป็นเพียงผู้รับการกระทำและเฝ้ารอเท่านั้น ทั้งๆ ที่น่าจะสร้างอำนาจต่อรองและความแน่นอนในการร่วมมือได้ดีกว่านี้อีกมากมายนัก

เป็นที่เข้าใจกันว่าโครงการร่วมมือระหว่าง อ.อ.ป. กับภาคเอกชนในโครงการผลิตเยื่อและกระดาษนั้น เริ่มแรกเมื่อราวปี 2532 มาจากการที่บริษัท สวนกิตติ มีปัญหาเรื่องการหาพื้นที่เพื่อทำสวนป่ายูคาลิปตัส จึงมีแนวคิดที่จะอาศัยที่ดินซึ่ง อ.อ.ป. ได้รับการอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้เข้าทำการปลูกป่าจำนวนนับแสนไร่ แม้ขณะนั้นบริษัท สวนกิตติ จะมีที่ดินปลูกป่ายูคาลิปตัสอยู่แล้วหลายหมื่นไร่ก็ตาม แต่เมื่อไม่เพียงพอประกอบกับการหาที่ดินในปริมาณที่มากมายเช่นนั้นเป็นเรื่องยากลำบาก จึงมีการเจรจากันเพื่ออาศัยพื้นที่ แต่ที่สุดการเจรจาคืบหน้าถึงขนาด อ.อ.ป. มีโครงการหาเอกชนเพื่อทำโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ

ที่สุด โครงการโรงงานเยื่อกระดาษที่ อ.อ.ป. จะร่วมกับเอกชนครั้งนี้ตั้งวงเงินลงทุนไว้ที่ประมาณ 4,200 ล้านบาท โดยอ.อ.ป.ถือหุ้น 32% บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัดถือหุ้น 29% บริษัท เยื่อกระดาษสยาม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทยถือหุ้น 29% และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถือหุ้น 10% แต่โครงร่างข้างต้นนั้นไม่อาจจะเป็นจริงได้ เมื่อบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร แจ้งการถอนตัวที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยอ้างว่าฝ่ายตนเองไม่มีความพร้อม เพราะลงทุนในโครงการส่วนของตนเองมากมายอยู่แล้ว หรืออาจเป็นว่าปัญหาที่ประสบได้คลี่คลายไปแล้ว จึงมิต้องห่วง และไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมโครงการกับ อ.อ.ป.

ขณะที่บริษัท เยื่อกระดาษสยาม หายเงียบไปเฉยๆ จนเลยกำหนดการตอบรับการร่วมทุน เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

จึงเท่ากับว่าเอกชนทั้งสองรายที่ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษอยู่แล้ว ตัดสินใจฝังโครงการนี้

"รู้สึกปวดร้าวมาก กับความไม่แน่นอนของเอกชนไทย เพราะเป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่ อ.อ.ป. ร่วมผลักดันกับแอ๊ดวานซ์ อะโกร และเยื่อกระดาษสยาม แต่ก็ถอนตัวทั้งที่ทุกอย่างลงตัวหมดแล้ว มันเป็นบทเรียนสำหรับ อ.อ.ป. ในการให้โอกาสเอกชนไทยร่วมทุนในโครงการ และเป็นเหตุทำให้โครงการต้องล่าช้าออกไป"

วินัย ทรัพย์รุ่งเรือง รองผู้อำนวยการ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กล่าวถึงความรู้สึกต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

ทางด้านแอ๊ดวานซ์ อะโกร ดร.วีรพงษ์ รงมางกูร ประธานกรรมการบริหารได้กล่าวว่า เหตุที่บริษัทตัดสินใจถอนตัวออกจากโครงการเยื่อกระดาษของ อ.อ.ป. เนื่องจากโครงการดังกล่าวล่าช้ามาก ประกอบกับบริษัทเองมีโครงการลงทุนในธุรกิจเยื่อและกระดาษหลายโครงการ จึงมีปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่จะมาดูแลโครงการเยื่อกระดาษของ อ.อ.ป. จึงตัดสินใจถอนตัวดังกล่าว แต่ก็คาดว่าโครงการของ อ.อ.ป. จะยังมีนักลงทุนรายอื่นสนใจเข้าร่วมอยู่

สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของโครงการเจ้าปัญหานี้ มีแนวโน้มว่าความฝันที่ตั้งใจไว้แต่ต้นจะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางออกไป และก็ไม่แน่ใจว่าจะสัมฤทธิ์ผลขึ้นมาได้หรือไม่

วินัย ทรัพย์รุ่งเรือง ได้กล่าวว่า หลังจากที่เอกชนไทยปฏิเสธการร่วมทุนแล้วนั้น ทาง อ.อ.ป. ได้ติดต่อไปยังเอกชน 3 ราย ซึ่งครั้งแรกได้เสนอตัวเข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อร่วมโครงการดังกล่าวด้วย แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก คือบริษัท KAMYR AB จากประเทศสวีเดน, บริษัท AHLSTROM จากประเทศฟินแลนด์ และบริษัท ดูโก้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทค้าเยื่อและกระดาษในประเทศไทยให้กลับเข้ามาเจรจาร่วมทุนกับ อ.อ.ป. อีกครั้ง

แต่การติดต่อกับทั้ง 3 รายอย่างไม่เป็นทางการ ชัดเจนว่าทั้งหมดนั้นได้ปฏิเสธการร่วมทุน

"อ.อ.ป. เข้าใจดีว่าบริษัทเหล่านั้น เคยเสียโอกาสมาแล้วครั้งหนึ่ง จึงไม่อยากที่จะเสียเวลาอีก การประกาศหาผู้ร่วมทุนใหม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณากันอีกครั้ง ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้เสียแล้ว เพราะต้องใช้เวลาพิจารณาหลายขั้นตอน เนื่องจากต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การร่วมทุนภาครัฐและเอกชน นั่นหมายความว่าจะต้องเริ่มต้นพิจารณาโครงการใหม่ทั้งหมด"

ทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุดในขณะนี้ก็คือ ถ้าไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนในโครงการเยื่อกระดาษได้ อ.อ.ป. ก็จำเป็นที่จะต้องหันไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปไม้เพื่อเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแทน โดย อ.อ.ป.จะเป็นผู้ป้อนวัตถุดิบคือไม้ให้กับผู้ร่วมทุน

จากจุดเริ่มต้นจนถึงบทสรุปของโครงการเยื่อและกระดาษที่อ.อ.ป.เฝ้าแต่ฝันมาเนิ่นนานนั้น ดูเหมือนว่า ได้กลายเป็นการเตะถ่วงแบบสบายหัวเกือกของภาคเอกชน ที่รู้ซึ้งถึงกลไกของภาครัฐดีว่าจะทำอะไรก็ติดขัดไปหมดกับโครงการใหญ่ๆ เหล่านี้

ฝังโครงการคราวนี้ไว้ ไม่รู้อีกกี่ปีจึงจะเริ่มต้นใหม่ได้

เกมครั้งนี้ ดูง่ายนิดเดียวว่าใครได้ประโยชน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us