Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 มีนาคม 2551
CP รุกธุรกิจไบโอดีเซลทำคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งปลูกปาล์มในอินโดจีน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Agriculture




ไบโอดีเซลอิงกระแสน้ำมันพุ่ง เอกชนราย “เล็ก-ใหญ่” แห่ลงทุนทั่วประเทศคึกคัก “นายกสมาคมปาล์มฯ” การันตีกระแสแรงจริง “มาเลย์-จีน” แห่ซื้อ-เช่า ที่ดินปลูกเพิ่ม ด้านยักษ์ใหญ่ “ซีพี” ลงทุนเฟสแรก 850 ล้านนำร่อง 3 โรงงานผลิตไบโอดีเซลครบวงจร จ่อคลอดเฟส 2 ดึงคอนแทร็กฟาร์มมิ่งเพื่อนบ้าน ลาว เวียดนาม พม่า รับรองกำลังผลิตไบโอดีเซล พร้อมยืนยันธุรกิจไบโอดีเซลอนาคตสดใส

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลที่ขายในบ้านเราก็ทะลุ 30 บาท/ลิตรอีกรอบแล้ว ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกก็มีแนวโน้มว่าราคาจะไม่ต่ำไปกว่านี้อีกแล้ว ทำให้รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกนโยบายส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลอย่างจริงจังเพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะให้มีการผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซลประเภท B5 ซึ่งเป็นการผสมไบโอดีเซล 5% กับน้ำมันดีเซล 95% ให้ได้ทั่วประเทศภายในปี 2554 และเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลเป็น 10% หรือ B10 ให้ได้ทั่วประเทศในปี 2555 ทำให้เอกชนไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ทั่วประเทศตื่นตัวกับนโยบายดังกล่าวหนึ่งในนั้นคือยักษ์ใหญ่อย่าง “ซีพีกรุ๊ป” ที่สนใจจะลงทุนผลิตไบโอดีเซลอย่างจริงจังเพื่อตอบสนองต้องการใช้ไบโอดีเซลที่นับวันจะสูงมากขึ้น

ขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม 2 แสนไร่

ดังนั้นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) โดยกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรมองเห็นถึงโอกาสดังกล่าวจึงพร้อมเดินหน้าเดินหน้าปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตไบโอเซลเต็มตัวเพราะทางกลุ่มซีพีเองมีเงินทุน และบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทางอีกทั้งมีที่ดินในมือกว่า 4,200 ไร่ ขณะที่พื้นที่เพราะปลูกในต่างประเทศอย่าง เวียดนาม พม่า และลาวก็พร้อมจะสนับสนุนในลักษณะคอนแทร็กฟาร์มมิ่งอีกทาง ส่วนเมล็ดแม่พันธ์ CP - Golden Tenera ก็ให้ผลผลิตที่สูงกว่ารายอื่นๆ องค์ประกอบเหล่านี้จึงทำให้กลุ่มซีพีมั่นใจว่าธุรกิจดังกล่าวจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน อีกทั้งไบโอดีเซล-ไฟฟ้าจากโรงฟ้าขนาด 1 เมกกะวัตต์ที่ได้จะมาเข้าช่วยลดต้นทุนในกลุ่มธุรกิจต่างๆในเครืออีกด้วย

“มนตรี คงตระกูลเทียน” ประธานคณะกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวถึงนโยบายการผลิตไบโอดีเซลแบบครบวงจรของกลุ่มซีพีว่า ทางกลุ่มพืชครบวงจรได้ศึกษาโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2549 เพราะเล็งเห็นว่าราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกจะไม่ต่ำไปกว่านี้ อีกทั้งการวิจัยของกลุ่มซีพีก็พบว่าแม่พันธุ์เมล็ดปาล์มอย่าง CP - Golden Tenera ก็ให้ผลผลิตเป็นอย่างดีเฉลี่ย 4 ตัน/ไร่/ปี ขณะที่สายพันธ์อื่นๆในประเทศไทยผลิตได้เพียง 2.2 -2.7 ตัน/ไร่/ลิตรเท่านั้น ทำให้กลุ่มพืชครบวงจรจะเข้าสู่ธุรกิจผลิตไบโอดีเซลอย่างครบวงจรโดยเบื้องต้นซีพีซึ่งมีที่ดินกว่า 4,200 ไร่จะนำร่องปลูกปาล์มใน 7 จังหวัดคือ นครศรีธรรมราช กระบี่ ชุมพร สงขลา ระนอง สระบุรี และ กำแพงเพชร

อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2551 -2553 ทางซีพีตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขยายพื้นที่ปลูกปาล์มครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศโดยเบื้องต้น 3 ปีแรกจะขยายการเพราะปลูก 3 จุดจุดละ 1 หมื่นไร่ในลักษณะคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับเกษตรในประเทศเพื่อรองรับโรงงานผลิตไบโอดีเซลครบวงจรและภายใน 10 ปีจะขยายพื้นที่ปลูกปาล์มให้ได้ถึง 2 แสนไร่

ลงทุน 850 ล้านนำร่องโรงงาน 3 แห่ง

สำหรับโรงงานผลิตไบโอดีเซลครบวงจรทั้ง 3 แห่งของซีพีจะตั้งอยู่ที่ 1 .จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันรองรับ 1 หมื่นไร่ 2. จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันรองรับแล้ว 1 หมื่นไร่ และ 3. จังหวัดสระบุรีมีพื้นที่รองรับปลูกปาล์มน้ำมัน 1 หมื่นไร่โดยทั้งโรงงาน 3 จุดจะเริ่มผลิตไบโอดีเซลอย่างจริงในปลายปี 2553 เป็นต้นไป

นอกจากนี้แล้วโรงงานผลิตไบโอดีเซลแต่ละจุดจะประกอบด้วย 1.โรงหีบน้ำมันปาล์มที่กำลังการผลิตที่ 5 ตัน/ชั่วโมงใช้เงินลงทุน 40 ล้าน 2.โรง GASIFIER ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเบื้องต้นยังไม่ตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องจากต่างประเทศ หรือ คิดค้นเองเบื้องต้นวางงบประมาณไว้ที่โรงละ 150 ล้านบาทขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า1 เมกกะวัตต์ 3. โรงผลิตไบโอดีเซลคาดว่าจะใช้เงินลงทุนจุดละ 80 ล้านบาท

“เงินลงทุนแต่ละแห่งประมาณ 270 ล้านบาทสร้าง 3 โรงงานก็อยู่ประมาณ 750 -850 ล้านบาทซึ่งกลุ่มซีพีจะเดินหน้าลงทุนได้เลยในปีนี้” ประธานกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ระบุ

จ่อลุยเฟส 2 ปลูกปาล์มอีก 5 แสนไร่

อย่างไรก็ดีเมื่อเฟสแรกประสบความสำเร็จทางซีพีได้กำหนดขยายพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่มเติมโดยเล็งพื้นที่เพื่อนบ้านอย่างประเทศลาว เวียดนาม พม่า ปลูกปาล์มเพิ่มเติมในลักษณะคอนแทร็กฟาร์มมิ่งเพราะหากเอาความต้องการใช้น้ำมันดีเซลวันละ 55 ล้านลิตรในปี 2554 จะต้องปลูกปาล์มสูงถึง 25 ล้านไร่แต่ตอนนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพียง 3 ล้านไร่เท่านั้น

ดังนั้นเมื่อเริ่มเข้าสู่เฟสสอง (2554-2560 )ทางกลุ่มซีพีคาดว่าจะต้องปลูกปาล์มให้ได้ถึง 500,000ไร่ทั้งภายในและนอกประเทศเพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการใช้ภายในประเทศที่นับวันจะสูงมากขึ้น

“เราคงไม่ไปแข่งขายน้ำมันไบโอดีเซลกับปตท.ที่มีบริษัทไทยโอลีโอเคมีจำกัด (TOL) บริษัทในกลุ่มของปตท.ที่มีกำลังการผลิตมากที่สุดในประเทศแต่จะผลิตไบโฮดีเซลเพื่อขายให้น้ำมันที่ได้ให้ปตท.มากกว่า” มนตรี กล่าวยืนยัน

ก. เกษตรฯหนุนปลูกปาล์มสุดตัว

นโยบายของกลุ่มซีพีดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันโดยจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 5 ปี (ปี2551-2555) ซึ่งครม.ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแล้ว โดยแผนดังกล่าวจะส่งเสริมเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันปีละ 500,000 ไร่ รวม 2.5ล้านไร่ การปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนสวนปาล์มเก่าอีกปีละ 100,000ไร่ รวม 5 แสนไร่ จากปัจจุบันทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว 2 ล้านไร่ ให้ผลผลิตปาล์มดิบ 5.2 ล้านตัน น้ำมันปาล์มดิบ 860,000 ตัน พร้อมทั้งยังมีการชดเชยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรในวงเงินกว่า 9,520 ล้านบาทอีกด้วย

อย่างไรก็ดีเพื่อให้นโยบายสำเร็จเป็นรูปธรรมกระทรวงเกษตรฯได้กำหนดยุทธศาสตร์ 5 ด้านได้แก่ 1.การใช้พลังงานทดแทน ผ่านการสนับสนุนการผลิตและใช้ไบโอดีเซลให้สอดคล้องกับปริมาณวัตถุดิบในประเทศ 2..ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาบุคลากร โดยการวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน พัฒนาบุคคลากร รวมทั้งต้องมีการถ่ายทอดความรู้ระหว่างเกษตรกรด้วย 3.ยุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการและกองทุนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 4.เพิ่มผลิตภาพและคุณค่าผลปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ โดยการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีในเขตที่เหมาะสม ปรับปรุงพันธุ์ในสวนปาล์มเก่า ปรับปรุงโครงสร้างการผลิต การตลาด และ 5.การเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดโดยใช้นโยบายพลังงานเป็นกลไกลหลักในการรักษาเสถียรภาพทั้งด้านตลาด ราคาและการผลิต

กระแสโลกฮิต ‘ปลูกปาล์มน้ำมัน’

ด้านภาคเอกชนกลับเป็นห่วงว่านโยบายดังกล่าวจะล้มเหลวไม่เป็นท่า “ทวี ศรีสุคนธ์” นายกสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทยมองว่า นโยบายดังกล่าวยังไม่เป็นรูปธรรมไม่ใช่แค่รัฐบาลชุดนี้ที่มีโครงการส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมัน แต่เป็นอย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย แต่พอจะเดินหน้าโครงการจริงๆกลับไม่มีหน่วยงานใดรับเป็นเจ้าภาพเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง รัฐบาลชุดนี้ก็เหมือนเดิมยังไม่มีทีท่าว่าจะดำเนินการอย่างไรนโยบายปลูกปาล์ม 5 ล้านไร่คงจะเป็นไปได้ค่อนข้างอยาก

ส่วนความเคลื่อนไหวประเทศเพื่อนบ้านกลับส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างเต็มที่ตอนนี้ประเทศมาเลเชียมีพื้นที่ปลูกปาล์มทั่วประเทศ 13 ล้านไร่และไปเช่าที่ดินของประเทศอินโดนีเซียปลูกอีก 8 ล้านไร่ ขณะที่ประเทศจีนก็มีโครงการว่าจะไปเช่าเกาะบอร์เนียวปลูกปาล์ม 8 ล้านไร่ด้วยเช่นกัน

“กระแสการปลูกปาล์มน้ำมันตอนนี้แรงมากๆ เพราะราคาน้ำมันที่พุ่งไม่หยุดทำให้ทุกคนต่างสนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้”นายกสมาคมปาล์มน้ำมัน ระบุ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us