Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 มีนาคม 2551
"ประกันชีวิต"อวดขุมทรัพย์9แสนล้านส้มหล่นภาษีอุ้ม-เสนอเป็นแหล่งทุนเมกะโปรเจกต์             
 


   
search resources

สาระ ล่ำซำ
Insurance




นายกสมาคมประกันชีวิตไทย "สาระ ล่ำซำ" โชว์ลายแทงขุมทรัพย์เม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรมประกันชีวิตปีนี้ จะสูงถึง 9 แสนล้านบาท จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้เพียง 6 แสนล้านบาท ส่วนสำคัญมาจาก มาตรการลดหย่อนภาษีที่กลายมาเป็น "โชคเข้าข้าง" เลื่อนจากหลัก 5 หมื่นบาท ขึ้นมาเป็น 1 แสน ในชั่วข้ามคืน เสนอตัวใส่พานประเคน โครงการเมกะโปรเจ็กต์ เป็นแหล่งทุนระยะยาว 25-30 ปี ขณะที่ธุรกิจประกันชีวิต มองลูกค้า "ระดับบี" จะได้ประโยชน์จากมาตรการภาษี ส่วนผู้มีรายได้ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อปี คงตัดสินใจซื้อยาก...

สาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเลขสินทรัพย์ลงทุน และอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิต อย่างปัจจุบันทันด่วน ภายหลังมาตรการภาษีประกาศให้ผู้ซื้อประกันชีวิตจ่ายเบี้ย 10 ปี จะได้เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจากเดิม 5 หมื่นบาทเป็น 1 แสนบาท

มาตรการภาษีที่ถูกมองว่าเอื้อหนุนเฉพาะ คนมีเงินออมระดับบน ถือเป็นโชคเข้าข้างธุรกิจประกันชีวิตค่อนข้างมาก ถึงกับมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขอัตราการเติบโตในปีนี้ใหม่จากเดิมคาดไว้ไม่ต่ำกว่า 11% และสินทรัพย์ลงทุนร่วม 6 แสนล้านบาท มาเป็นอัตราการเติบโต จะขยับขึ้นมาที่ 15-16% หรือคิดเป็นสินทรัพย์ลงทุนสูงถึง 9 แสนล้านบาท

สาระ อธิบายปรากฏการณ์ ของมาตรการภาษีที่ประกาศออกมาเพียงแค่ชั่วข้ามคืน จะทำให้สินทรัพย์ลงทุน ขยายจากเป้าที่ตั้งไว้ปีนี้ 6 แสนล้าน เป็น 9 แสนล้านบาท และในแง่เศรษฐกิจ จะเป็นแหล่งเงินทุนระยายาวที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศ ที่จะวิ่งได้ยาว 25-30 ปี

ที่สำคัญ สมาคมประกันชีวิตไทย ก็พร้อมจะสนับสนุนเม็ดเงินทั้งหมดเพื่อใช้เป็นแหล่งเงินในโปรเจ็กต์ระดับชาติ แต่ต้องอยู่ภายใต้รูปแบบของธุรกิจประกันชีวิตเท่านั้น

นายกสมาคมประกันชีวิต ยังมองแนวโน้มปี 2551 ว่า ผู้คนส่วนใหญ่ไม่มองว่าการซื้อประกันชีวิตเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเหมือนในอดีต ตัวเลขจึงน่าจะเติบโตขึ้นมากกว่าปี 2550 แม้จะมีปัจจัยลบคือ อัตราดอกเบี้ย และกำลังซื้อเป็นตัวแปรสำคัญก็ตาม ดังนั้นอัตราขยายตัวที่มองไว้ 15-16% จะคิดเป็น 3 เท่าของ ตัวเลขจีดีพี

นอกจากนั้น จำนวนเบี้ยใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามา ก็มีผลมาจากช่องทางขายใหม่ๆ อาทิ ช่องทางขายผ่านธนาคาร หรือ แบงแอสชัวรันส์ และขายผ่านโทรศัพท์ หรือ เทเลมาร์เก็ตติ้ง ที่กำลังโตวันโตคืน จากเดิมที่มีช่องทางขายหลักคือ ตัวแทน

สาระ อธิบายว่า การเติบโตของเบี้ยใหม่ ส่วนหนึ่งยังมาจาก ช่องทางขายอื่นๆที่เติบโตมากขึ้น เช่น ช่องทางขายตรง ช่องทางอินเตอร์เน็ต มีเดีย อาทิ ทีวี ช่องทางไดเร็ค หรือ ส่งจดหมายตรงถึงบ้าน ซึ่งทำให้ประกันชีวิตเข้าถึงทุกครัวเรือนมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา

นอกจากนั้น สินค้าประกันชีวิตในระยะหลัง ยังสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับ กลางหรือ ตลาดบน ไปจนถึงรากหญ้า

" ความรู้ของคนไทยมีมากขึ้น และสมาคมหรือธุรกิจก็ร่วมมือกับหน่วยงาน หรือองค์กรอื่น เพื่อเพิ่มความรู้ให้กับผู้คนทุกระดับ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้เปอร์เซ็นต์คนถือครองประกันชีวิตมีมากขึ้น"

ขณะเดียวกัน ก็ยังมีสินค้าประเภทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทยอยออกมาเรื่อยๆ อาทิ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ หรือ ยูแอล ที่เป็นสินค้าประเภทออมระยะสั้น ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับเงินฝากธนาคาร และหน่วยลงทุนของกองทุนรวม

อย่างไรก็ตาม มาตรการลดหย่อนภาษีที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 1 แสนบาท จะกำหนดเฉพาะผู้ซื้อกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเบี้ย 10 ปี และขึ้นกับรายได้ของบุคคลนั้นๆ โดยนับตามเปอร์เซ็นต์อัตราภาษีสุดท้ายของบุคคลนั้นๆ

สมโภชน์ เกียรติไกรวัล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอเอ็นจีประกันชีวิต อธิบายว่า มาตรการภาษีจะทำให้ตลาดระดับ บีขึ้นไปได้ประโยชน์ ส่วนที่มีรายได้ต่อปีต่ำกว่า 1 แสนบาท อาจจะตัดสินใจซื้อยากขึ้น ซึ่งมองว่า มาตรการนี้จะทำให้ยอดขายประกันชีวิตค่อยๆดีขึ้น แต่ไม่ถึงการขยายตัวพรวดพราด

สุทธิ รจิตรังสรรค์ กรรมการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย บอกว่า มาตรการภาษีสำคัญตรงที่ ถูกกระตุ้นให้น่าสนใจ เพราะถ้าเพิ่มวงเงินลดหย่อนเป็น 1 แสนบาท ก็เท่ากับ ภาครัฐจ่ายเงินภาษีให้กับประชาชนแทน ดังนั้น คนก็จะมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น

"คนที่ไม่เคยซื้อประกันชีวิตเลยก็จะหันมามองว่า ซื้อประกันชีวิตแล้วได้อะไร เมื่อรัฐเสียภาษีแทน ก็จะหันมาซื้อ แถมกับได้ความคุ้มครอง คนที่จ่ายภาษีในอัตราภาษีสูงๆ ก็จะได้ประโยชน์จากภาครัฐจ่ายภาษีแทนให้ จึงน่าจะต้องเรียนรู้ประโยชน์จากมาตรการภาษี"

สุทธิ บอกว่า มาตรการภาษีอาจจะทำให้บางส่วนได้ประโยชน์มากกว่า คนส่วนใหญ่ แต่อย่างน้อย การเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีก็จะช่วยกระตุ้นให้คนซื้อประกันชีวิต และธุรกิจเติบโตได้มาก รวมถึงภาครัฐก็จะมีเงินได้จากภาษีมากขึ้นด้วย เพราะผู้คนมีเงินเหลือไว้ใช้จ่าย

อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย บอกว่า ช่องทางใหม่ๆที่เพิ่มขึ้น เช่น แบงแอสชัวรันส์ ไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง และตัวแทนจะมีเบี้ยรับเข้ามามาก เพราะทุกช่องทาง สามารถนำเอามาตรการภาษีมาเป็นจุดขายได้ ทั้งนี้ประกันชีวิตหวังจะเติบโตถึง 20% หรืออาจจะ 30%

" เมื่อเศรษฐกิจดี ภาพลักษณ์ธุรกิจก็จะดี"

สาธิต รังคสิริ อธิบดี กรมสรรพากร อธิบายว่า การเพิ่มวงเงินภาษีธุรกิจประกันชีวิตจาก 50,000 บาทเป็น 1 แสนบาท จากที่ยื่นขอถึง 3 แสนบาท เป็นเพราะเกรงว่า ระบบการออมในประเทศจะบิดเบือน

ส่วนสำคัญมาจาก สิทธิประโยชน์มีมากกว่า สถาบันการเงินอื่น อย่าง ธนาคารและธุรกิจจัดการกองทุน ตรงที่มีความคุ้มครองชีวิตพ่วงอยู่ด้วย และยังมีเงินคืนเมื่อกรมธรรม์ครบอายุ ขณะที่ผู้เอาประกันยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบสัญญา ก็จะไม่มีการเสียค่าธรรมเนียม

ตรงกันข้ามกับกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุหรือ อาร์เอ็มเอฟ กับกองทุนรวมเพื่อการลงทุนหุ้นระยะยาวหรือ แอลทีเอฟ จะต้องเสียค่าธรรมเนียม เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีการไถ่ถอนก่อนกำหนด รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งสองกองทุนก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาษีด้วย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ไม่น่าลงทุนเมื่อเทียบกับประกันชีวิต

ดังนั้น วงเงินลดหย่อนภาษีของทั้งสองกองทุน จึงสูงกว่า จากเดิม 3 แสนบาท ก็จะเลื่อนมาเป็น 5 แสนบาท

ขณะเดียวกัน ในภาคธนาคารก็จะถูกเมินจากเจ้าของเงินออม เพราะอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ไม่น่าจูงใจ แถมยังไม่มีความคุ้มครองชีวิต เหมือนกับธุรกิจประกันชีวิต ที่มีสินค้าหลากหลาย ซึ่งเป็นคู่แข่งกับบัญชีเงินฝาก เพราะให้ดอกผล และพ่วงกับความคุ้มครองชีวิต

ทั้งหมดคือ เหตุผลที่กรมสรรพากร กำหนดวงเงินลดหย่อนภาษีให้กับธุรกิจประกันชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนบาท จาก 5 หมื่นบาท แทนที่จะสูงถึง 3 แสนบาท ตามที่สมาคมประกันชีวิตไทยยื่นขอไปก่อนหน้านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us