|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ชี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ทรงตัว หลังแบงก์ชาติมีสัญญาณคงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมกนง.วันที่ 9 เมษายนนี้ รวมถึงปัจจัยหนุนด้านการแข่งขันระดมเงินฝากยังสูงทำให้ทิศทางดอกเบี้ยลงยาก ขณะที่ค่าบาทสัปดาห์นี้คาดว่าแกว่งตัวในกรอบ 31.20-31.40
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ดูแลสายงานสำนักวิจัย ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) หรือ BT เปิดเผยว่า จากการประเมินสถานการณ์ในขณะนี้ คาดว่าทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ทั้งในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้จะยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับเดิมไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจัยหลักก็คือเพื่อรอทิศทางที่ชัดเจนของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในการประชุมวันที่ 9 เมษายนนี้ ว่าจะมีการปรับลดหรือคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม แต่เท่าที่เห็นธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ก็ได้ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะพิจารณาจากปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหากเป็นในลักษณะนี้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็คงจะอยู่ในระดับเดิมเช่นกัน
"ทิศทางดอกเบี้ยของแบงก์พาณิชย์ก็จะรอสัญญาณที่ชัดเจนจากแบงก์ชาติ ซึ่งเท่าที่ติดตามก็ค่อนข้างมั่นใจว่าจะไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 9 เมษายน นี้แน่นอน เนื่องจากประกาศชัดเจนแล้วว่าจะพิจารณาเรื่องดอกเบี้ยจากปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อในประเทศเป็นหลัก ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยของเฟดเป็นเพียงการใช้ประกอบการพิจารณาเท่านั้น"นายบันลือศักดิ์กล่าว
นอกจากนั้น ในปีนี้ธนาคารส่วนใหญ่มีแผนการที่จะระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น หลังจากเห็นสัญญาณการปล่อยสินเชื่อที่มีแนวโน้มขยายตัว ทำให้เกิดการแข่งขันในเรื่องของดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ อย่างไรก็ตาม หาก กนง.มีการพิจารณาลดดอกเบี้ยจริง ก็คงจะลดลงเพียง 0.25% เท่านั้น เนื่องจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าว คงไม่ส่งผลอะไรต่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเชื่อว่าระดับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะยังคงยืนอยู่ในระดับปัจจุบันต่อไปอีกอย่างน้อย 2-3 เดือน
“เชื่อว่าแบงก์พาณิชย์จะยังคงดอกเบี้ยไว้แน่นอน ถึงแม้กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยลง เพราะตอนนี้มีการแข่งขันเรื่องของดอกเบี้ยสูงมาก เพราะแบงก์แต่ละแห่งต้องการระดมเงินฝาก หลังเห็นแนวโน้มว่าปีนี้สินเชื่อมีสัญญาณขยายตัว”
สำหรับการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้น นอกจากจะปรับตัวไปตามระดับดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.แล้ว ยังจะต้องดูไปถึงเรื่องของสภาพคล่องในตัวของธนาคารเองด้วย เนื่องจากธนาคารแต่ละแห่งมีสภาพคล่อง รวมถึงเรื่องนโยบายในการดูแลดอกเบี้ยที่ต่างกัน แต่เชื่อว่าถึง กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยแต่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์คงจะไม่ปรับลดตามทันที
คาดบาทแกว่งในกรอบ 31.20-31.40**
ด้านเงินบาทในประเทศสัปดาห์นี้อาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 31.20-31.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ การเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างชาติ (ก่อนการปิดงวดบัญชีของญี่ปุ่น) สัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของธปท. และแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะขึ้นกับการปรับฐานของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ยอดขายบ้านใหม่และบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) เดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนมีนาคม และจีดีพี (ขั้นสุดท้าย) ประจำไตรมาส 4/2550
สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทในประเทศ (Onshore) ขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทปรับตัวขึ้นแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 10 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากแรงเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐ ของผู้ส่งออกและนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงอย่างหนักก่อนการประชุมนโยบายการเงินของเฟด อย่างไรก็ตาม เงินบาทได้ลดช่วงบวกลงเล็กน้อยและกลับไปอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยถูกกดดันจากแรงซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ ของผู้นำเข้า บริษัทน้ำมัน และรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ เงินดอลลาร์สหรัฐ ดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งหลังจากเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงน้อยกว่าการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับมีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่องซึ่งสอดคล้องกับแรงเทขายเพื่อทำกำไรในน้ำมัน ทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ
|
|
|
|
|