Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 มีนาคม 2551
"อีเอฟจี"มองหุ้นไทยหมดเสนห์             
 


   
search resources

Stock Exchange




แบงก์อีเอฟจี สิงคโปร์ มองหุ้นไทยหมดเสน่ห์ เหตุไม่มีบจ.ขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าตลาดเอเชีย-ไทยน้อย เหตุสภาพคล่องมีปัญหาทั่วโลก บวกกับเฮจด์ฟันด์ ปรับพอร์ตหันไปลงทุนสินทรัพย์อื่นแทนตลาดทุน กดดันหุ้นเอเชียติดลบอีก 10% ด้านโบรกเกอร์จับตา 3 ปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้

นายณสุ จันทร์สม ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารอีเอฟจี (สิงคโปร์) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดหุ้นไทยหมดความน่าสนใจและแรงดึงดูดจากนักลงทุนต่างประเทศ เพราะมีเพียงหุ้นขนาดใหญ่แค่ธุรกิจพลังงานเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น รวมทั้งไม่มีหุ้นขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ เช่น โตโยต้า ยูนิลีเวอร์ หรือฮอนด้า

สำหรับกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund flow) ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันลดลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากสภาพคล่องจากภายนอกประเทศทั่วโลกมีปัญหา ทำให้เงินที่จะไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ลดลงตามไปด้วย

"นักลงทุนที่ลงทุนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากตลาดหุ้นที่ปรับตัวลงไปมาก ทำให้การที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาซื้อหุ้นในประเทศไทย คาดว่าน่าจะน้อยกว่าปีก่อนเป็นจำนวนมาก ประกอบอัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ผ่านมาเองก็ยังไม่ดีพอ จึงมองว่านักลงทุนต่างชาติไม่น่าจะกลับเข้ามาในตลาดไทยมากนัก"

ส่วนการลงทุนของกองทุนเก็งกำไร (เฮจฟันด์) นั้น ขณะนี้ยังไม่อาจจะคาดหวังว่าจะกลับเข้ามมาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียหรือตลาดหุ้นไทยหรือไม่ เพราะเฮดฟันด์ได้หันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ แทน โดยเฉพาะการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการลงทุนในหนี้เสียด้วย เนื่องจากสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งตลาดหุ้นเอเซียน่าจะเป็นอีกปีที่ยากในการลงทุนสำหรับปีนี้ โดยประเมินว่าตลาดเอเซียมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงได้ต่ออีก 10% อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าตลาดเอเซียยังเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตที่ดีอยู่

"ตลาดหุ้นเอเชียปีนี้ดาดเดาการลงทุนได้ยาก โดยประเมินว่าตลาดเอเชียมีแนวโน้มปรับตัวลงได้อีก 10% ขณะที่ตลาดหุ้นในประเทศไทยไม่มีคอมมอดิตี้ และสินค้าใหม่ๆ เข้ามา ทำให้กระแสเงินจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาไม่มาก ดังนั้นตลาดไทยจึงต้องมีการปรับสินค้าใหม่ให้เข้ามาซื้อขายมากขึ้น เช่น น้ำมัน หรือทอง" นายณสุกล่าว

สำหรับตลาดหุ้นในประเทศสหรัฐฯ ขณะนี้ถือว่าที่มีความน่าสนใจลงทุนพอสมควร หลังจากราคาปรับลดลงไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากปัจจุบันการที่คนทั่วโลกส่วนใหญ่ขายหุ้นออกมาแล้วหนีไปที่ตลาดพันธบัตร น่าจะเป็นจังหวะที่เข้าไปซื้อได้ เพราะเมื่อมีแรงขายออกมาจะทำให้หุ้นนั้นมีมูลค่าพอสมควร และหากจะเข้าไปซื้อในช่วงนี้ ควรเป็นการลงทุนที่ต้องถือยาว เนื่องจากถ้าลงทุนระยะสั้นยังมีความเสี่ยงอยู่ โดยเลือกลงทุนหุ้นที่อยู่ในกลุ่มการส่งออกและมีธุรกิจอยู่ในต่างประเทศจำนวนมาก เพราะบริษัทเหล่านี้จะได้รับประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง

"ส่วนตัวมองว่าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2552 ตลาดสหรัฐฯ น่าจะดีขึ้น ซึ่งผมเองมองว่าต้องไปลงทุนในช่วงที่ไม่ใช่ช่วงพีคถึงแม้การเข้าไปดักซื้อในช่วงที่ตลาดลงแรงๆ อาจจะมีความเสี่ยงสูง แต่ถ้ามองในระยะยาวยังคงให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่" นายณสุ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ตลาดปรับตัวลดลงเช่นนี้ การลงทุนในหุ้นกู้เอกชนเอกชนถือว่าน่าสนใจเช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมา ได้แนะนำลูกค้าเข้ามาลงทุนในหุ้นกู้เหล่านี้บ้าง โดยเฉพาะลูกค้าที่ต้องการเข้าไปลงทุนในเอเชีย ก็จะแนะนำให้เข้าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของออสเตรเลีย หรือ นิวซีแลนด์ เพื่อเป็นสินค้าที่ไม่ผันผวนมาก และยังให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่

"การลงทุนในปัจจุบันจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมาก อาจจะต้องมีการกระจายลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ตราสารหนี้ (Fix income) หรือหุ้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ ทอง ที่ดิน และสตรัคเจอร์สโน๊ต" นายณสุกล่าว

3ปัญหาหลักฉุดตลาดหุ้นไทย

สำหรับทิศทางตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้ นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า 3 ปัจจัยที่จะเข้ามากระทบต่อตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ คือ ปัจจัย การซื้อขายหุ้นเพื่อปิดงวดบัญชี (Window Dressing) ซึ่งคาดว่าจะมีผลในช่วงวันที่ 26-28 มีนาคมนี้ หากเป็นการซื้อหุ้นเพื่อรักษาพอร์ตจะเป็นผลดีกับตลาดหุ้น ในทางตรงกันข้ามหากมีการขายหุ้นเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เพื่อนำเงินไปชำระหนี้เจ้าหนี้หรือไถ่ถอนกองทุนก็จะส่งผลลบต่อตลาดหุ้น

ปัจจัยที่สอง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ถ้าหากราคาปรับตัวลงมาต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะส่งผลลบต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน ขณะเดียวกันหากราคาน้ำมันดิบทรงตัวอยู่ที่ระดับ 100 - 105 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะไม่มีผลกับราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเคยขึ้นไปสูงกว่าระดับนี้

ปัจจัยสุดท้าย ปัจจัยการเมืองในประเทศ เนื่องจากคดีความต่างๆ เกี่ยวกับการเมืองยังต้องรอคำตัดสิน ทั้งกรณีศาลฎีการับคำร้อง กกต. ในการให้ใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัช รวมถึงกรณียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งหากมีข่าวอะไรออกมา จะส่งกระทบต่อตลาดหุ้นทันที

"ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ คาดว่าจะทรงตัวในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปปิดทำการ โดยทางเทคนิคมีแนวรับสำคัญที่ 810 จุด หากดัชนีสามารถยืนเหนือจุดดังกล่าวได้ มีโอกาสจะวิ่งขึ้นไปที่ 825 จุดจากการเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นของนักลงทุน แต่หากดัชนีไม่สามารถยืนเหนือ 810 จุดได้ โอกาสปรับลงมาถึง 780 จุด ให้ทยอยขายทำกำไร"

นางสาวศศิกร เจริญสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศ แม้เมื่อคืนวันพฤหัสที่ผ่านมาดัชนีดาวโจนส์จะปรับตัวบวก 262 จุด ก่อนจะปิดทำการ 2 วัน และเปิดทำการอีกครั้งในวันอังคาร ซึ่งมองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีความอ่อนไหว หากในสัปดาห์นี้ผลประกอบการของสถาบันการเงินที่จะทยอยออกมา ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มาก ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็มีโอกาสปรับลดลงอีกครั้ง แม้ความวิตกเรื่องสภาพคล่องในระบบการเงินเริ่มผ่อนคลายลง

"ตลาดหุ้นไทยอาจได้ปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าของกระทรวงการคลัง โดยประเมินแนวรับที่ 789-770 จุด แนวต้านที่ 818-827 จุด หากดัชนียืนเหนือ 815 จุด แนะนำซื้อสะสมเพิ่มได้ ต่ำกว่า 800 จุด ให้ชะลอการลงทุน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us