|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
โบรกฯนอกยังวิตกตลท.ปรับการชำระค่าหุ้นจาก T+3 เป็น T+2 ห่วงความต่างของช่วงเวลาอาจทำให้เกิดความผิดพลาด ขณะที่ติงการเปิด Exclusive Partner ทำให้โบรกฯต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยอยู่แล้วเสียเปรียบเหตุมีต้นทุนสูงกว่า "บล.ทองมกุฎ" ยอมรับสภาพต้องปรับตัวให้ได้เพื่อความอยู่รอด ด้าน "โสภาวดี" ต้องหารือสมาชิกอีกครั้ง พร้อมศึกษารูปแบบจากต่างประเทศก่อนกำหนดกรอบบังคับใช้อย่างชัดเจน
มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง บริษัทหลักทรัพย์ ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ กล่าวถึง การลดระยะเวลาในการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จาก 3 วันเป็น 2 วันทำการ (T+2) ว่า เรื่องดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่าอาจจะเกิดปัญหากับบริษัทหลักทรัพย์ที่มีลูกค้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากความต่างของเวลาในแต่ละประเทศอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าซื้อขายหลักทรัพย์
"ยังมีความเป็นห่วงว่าจะสามารถเคลียรริ่งได้ทันหรือไม่ เมื่อเปลี่ยนไปใช้ T+2 เนื่องจากในบางประเทศเวลาต่างจากประเทศไทยค่อนข้างมาก แต่ก็เชื่อว่าจะต้องมีการปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา"มล.ทองมกุฎกล่าว
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติที่มีการเปิดสาขาในประเทศไทยยังค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับการหาบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศในลักษณะคู่ค้า หรือ Exclusive Partner เข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการเปิดสาขาในประเทศของบริษัทหลักทรัพย์ข้ามชาติมีต้นทุนในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อตลาดหลักทรัพย์เปิดโอกาสให้บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศสามารถหาคู่ค้าจากต่างประเทศ โดยให้กำหนดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) ในอัตราไม่ต่ำกว่า 60% ของอัตราขั้นต่ำ และมีเงื่อนไขสำคัญให้สมาชิกทำสัญญากับบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศในลักษณะ 1:1 ซึ่งเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศ
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการทักท้วงในเรื่องดังกล่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติหลายแห่งแต่เมื่อเป็นมติของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ประกอบการเองก็จะต้องยอมรับเงื่อนไขของสมาชิกส่วนใหญ่ โดยหลังจากนี้การปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่บีบบังคับมากขึ้นของบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯยังไม่ได้มีการกำหนดวันที่จะบังคับใช้ในเรื่องการชำระราคาส่งมอบหลักทรัพย์ เป็น 2 วันทำการ (T+2)จากปัจจุบันที่ใช้T+3 เพราะ จะต้องมีการหารือกับทางบริษัทหลักทรัพย์ และผู้ดูแลผลประโยชน์(คัตโตเดียนแบงก์) อีกครั้ง ในเรื่องความพร้อมในการใช้ ว่าจะสามารถชำระราคาส่งมอบทันหรือไม่ และส่วนนักลงทุนต่างประเทศนั้นก็มีความกังวลว่าจะชำระและส่งมอบเพราะ มีเรื่องระยะเวลาที่มีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯจะต้องมีการศึกษาจากในต่างประเทศเช่น ตลาดหุ้นฮ่องกง เกาหลี อินเดียว ที่มีการชำระราคาและส่งมอบเป็น T+2 แล้วมีการดำเนินการอย่างไร และโครงสร้างการดำเนินงาน ซึ่งศูนย์รับฝากจะมีการนำเรื่องT+2 เข้าบอร์ดศูนย์รับฝากในเดือนมีนาคมนี้ และหลังจากนั้น ก็จะมีการเสนอบอร์ดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บอร์ดตลท.) ในช่วงที่ผ่านมาศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯได้มีการหารือกับโบรกเกอร์และคัตโตเดียนแบงก์ไปแล้ว 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ และต้นเดือนมีนาคม2551
"เรื่องT+2นั้นคาดว่าจะนำเข้าบอร์ดศูนย์รับฝากฯในเร็วๆนี้ คือภายในเดือนมีนาคม แต่เข้าบอร์ดแล้วอาจจะยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งก็จะต้องมีการหารือกับโบรกเกอร์ และคัตโตเดียนแบงก์อีก"
สำหรับการลดระยะเวลาการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จากT+3 เป็น T+2 นั้นมีการที่จะเริ่มทำตั้งแต่ ปี 2548 แต่ทุกฝ่ายยังไม่พร้อม ซึ่งจะต้องมีให้นักลงทุนทั้งหมดมีการชำระราคาหลักทรัพย์อัตโนมัติผ่านธนาคารพาณิชย์ (ATS) ก่อน และเมื่อมีการบังคับใช้ไปแล้ว ก็มีความกังวลในเรื่องของนักลงทุนต่างประเทศ โดยในเรื่องจะมีการบังคับใช้หรือไม่นั้นจะต้องศึกษาในเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้รับ
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การเปิดให้มี Exclusive Partner เนื่องจากคณะกรรมการตลท.เห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นการสร้างโอกาสให้แก่บริษัทสมาชิกได้ทำธุรกิจกับต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานผู้ลงทุนต่างประเทศ และยังเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เตรียมตัวสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจเพื่อรองรับ และให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 2555
|
|
 |
|
|