Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543
รักร่วมเพศ ผิดปกติ หรือ?             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





นับตั้งแต่เริ่มรับปรึกษาทาง internet ปัญหา ที่ผมได้รับปรึกษาบ่อยที่สุด ก็ คือ เรื่องของการมีความรู้สึกรักในเพศเดียวกัน หรือ ที่เราเรียกกันว่า Homosexual ผมได้รับปัญหาอาทิตย์ละ 1-2 คำถาม มีอาทิตย์ ที่เขียนบท ความนี้ผมได้รับคำถามในลักษณะ ที่คล้ายๆ กันถึง 4 คำถาม นี่จึงเป็นเหตุผล สำคัญ ที่ทำให้ผมคิดว่า ผมควรจะตอบสนองต่อคำถามเหล่านี้ด้วยบทความ ที่ อธิบายถึงปัญหานี้ มากกว่าการมาคอยตอบปัญหาคล้ายๆ กัน ที่มักจะถามว่า "ผม เป็นเกย์ หรือเปล่า" "ทำอย่างไรจึงจะเลิกเป็นเกย์" "สามารถรักษาเกย์ให้หาย ขาดได้ไหม" หรือกระทั่ง "มีวิธีการรักษาหรือไม่ ใช้เวลานานเท่าไหร่ และค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร"

สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ในชีวิตการทำงานของผม ที่ผ่านมา นั้น มีผู้มาปรึกษาปัญหานี้ ไม่ถึง 10 ราย เมื่อเปรียบกับจำนวนของปัญหา ที่ ผมได้รับในช่วงเดือนเศษนั้น เทียบกันไม่ได้เลย สิ่งนี้อาจจะเป็นตัว ที่บอกกับ เราว่าปัจจุบัน คนประสบปัญหานี้มากขึ้น คนกล้าเปิดเผยตัวเองมากขึ้น หรือ คนยอมรับกับตัวเองได้มากขึ้น และพยายาม ที่จะหาทางออก หรือปัญหา และ ปริมาณยังเหมือนเดิม แต่คนไม่กล้า ที่จะไปพบกับจิตแพทย์ แต่สะดวกใจกว่า ในการปรึกษาปัญหาโดยไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ถาม?

สิ่งที่ผมกล่าวไปทั้งหมด ผมอยากให้ท่าน ที่สนใจในปัญหานี้ หรือ กำลังทุกข์กับปัญหานี้ ลองอ่านข้อคำถาม ที่ผมได้รับดู แล้วลองพิจารณาว่า สภาพของผู้ถามปัญหาเหล่านี้มาเหมือนกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับท่าน หรือกำลังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่ และท่านมีวิธีการ และหาทางออกกับปัญหานี้อย่างไร

ผมชอบพี่ในคณะคนหนึ่งน่ะครับ ไปไหนมาไหนด้วยกันตลอดตั้งแต่เริ่มรู้จักกันมาจนใครๆ ก็แซวครับว่าเป็นคู่เกย์กัน แต่ผมกับพี่ก็ไม่ได้สนใจกับ อะไรเลย (แต่ไม่เคยได้คุยกันถึงเรื่องนี้) ตอนนี้ก็ยังไปไหนมาไหนด้วยกัน ปกติ ตอนนี้ผมเป็นอะไรหรือครับ แล้วผมจะทำยังไงต่อไปดีครับคุณหมอ

ตัวเองเกิดมามีความรู้สึกว่าชอบเพศเดียวกัน และมีความคับข้องใจมาก และไม่อยากจะเป็นอย่างนี้เลยอยากทราบว่ามันเกิดมาจากสาเหตุอะไรเป็น มาแต่กำเนิดหรือเปล่า จากสารพันธุกรรมหรือเปล่า หรือจากสาเ หตุจาก ภาวะแวดล้อมการเลี้ยงดู ที่สำคัญมีการแก้ไขได้หรือไม่ ถ้ารู้สึกเครียดมากกับเรื่อง นี้เพราะว่าแก้ไขยากจังเลย จะต้องทำอย่างไรครับ ช่วยแนะด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

เรียนคุณหมอ....

หนูมีเรื่องจะเรียนถาม และปรึกษา คุณหมอค่ะ...หนูคิดว่าหนูผิดปกติ เพราะชอบผู้หญิงด้วยกันเอง คือ พูดง่ายๆ ว่าเป็นทอม ความรู้สึกของหนูก็ คือ เวลามองผู้หญิงด้วยกันแล้วจะรู้สึกดีๆ ด้วย แบบ ที่ผู้ชายเค้ารู้สึกกับผู้ หญิง แต่ไม่มีความรู้สึกแบบนั้น กับผู้ชายเลย เวลาไปไหนก็มองแต่ผู้หญิง สวยๆ ส่วนหนูแต่งตัวแบบผู้ชาย และคิดอยากมีแฟนเป็นผู้หญิง และก็เคยมีด้วย แต่.... เพราะความ ที่หนูเป็นผู้หญิงหนูเลยอกหัก แฟนหนูไป คบผู้ชาย และให้เหตุผลว่าผู้หญิงเกิดมาคู่กับผู้ชาย ใช่หนูยอมรับ แต่เราคบกันมานาน กินอยู่ ด้วยกัน อยู่บ้านเดียวกัน ผูกพันกันมาก แต่ตอนนี้ไม่มีเค้าแล้ว หนูเหมือนต้องอยู่คนเดียว

หนูไม่มีใคร เลยเกิดความรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่ามาก คิดไปถึงอนาคตว่าถ้า เราเป็นแบบนี้เราคงต้องอยู่คนเดียวตลอดชีวิต เพราะผู้หญิงทุกคนคงต้องหวังว่าสักวันจะแต่งงาน ส่วนหนูไม่คิดอะไรแบบนั้น คิดถึงอนาคตแล้วคงจะไม่มี ใครต้องการหนูเลย

และตอนนี้หนูไม่รู้จะผ่านความรู้สึกแบบนี้ไปได้ยังงัย ความรู้สึก ที่ไม่มีใคร เหงาคิดถึงแต่อดีต นึกเสียใจ ที่เกิดเป็นผู้หญิง พูดอีกแง่คือ กลัวว่าจะ หาแฟนไม่ได้อีก ไม่มีแรงบันดาลใจ ไม ่มีใจจะทำอะไรอีก วันๆ ได้แต่นั่งคิดมาก นอนไม่หลับ คิดเรื่องเก่าตลอดเวลา แม้จะพยายามทำอะไรให้ลืม แต่ก็ ฝืนได้ไม่นาน ความจริงหนูไม่ได้อยากเป็นอย่างนี้ หนูอยากเป็นผู้หญิงปกติธรรมดาคนนึง

อยากมี ครอบครัวแบบผู้หญิงทั่วไป แต่ความรู้สึกจริงๆ คือ อยากมีครอบครัวในฐานะ ที่เป็นผู้ชาย เป็นพ่อ ไม่ใช่แม่ ทำไมหนูถึงมีความคิดแบบนี้หนูฝืน ตัวเองไม่ได้หนูไม่มองผู้ชายเลย และหนูก็พอใจ ที่จะเป็นแบบนี้แต่อยากมีคู่มี ความสุขมีคนรัก......

สำหรับทางจิตเวชนั้น หลายสิบปีก่อนปัญหาเรื่องของเกย์ เลสเบียนหรือ รักร่วมเพศนั้น ยังถูกจัดว่าเป็นปัญหา หรือความผิดปกติทางจิตเวชแบบหนึ่ง ซึ่งรักษาได้ยาก และไม่ค่อยประสบ ความสำเร็จแนวคิดในการมองเรื่องนี้ยังคงมองว่าเป็นความผิดปกติเป็นความเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ที่ควรได้รับการรักษา แต่ในอีกแง่หนึ่งมันก็เป็นการบอกของสังคมโดยผ่านจิตแพทย์ว่า นี่เป็นพฤติกรรม ที่สังคมไม่ยอมรับ ในอเมริกา ( ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางจิตเวชมักจะเริ่มจาก ที่นี่ก่อน) รักร่วมเพศไม่ได้ถูกจัดเป็นความผิดปกติทางจิตอีกต่อไป แต่จะยกเว้นก็ในกรณี ที่บุคคลนั้น เกิดความอึดอัดคับข้องใจกับพฤติกรรมของตนเอง จึงจะเข้ามารับการบำบัดโดยการทำจิตบำบัด ในช่วงนั้น จึงมีคำว่า Ego-dystonic homosexual ใช้กับคนกลุ่มนี้ แต่การรักษาก็มักจะจำกัดอยู่ ที่การช่วยให้บุคคล ที่เป็นเกย์หรือเลสเบียน ปรับตัวกับสังคมให้ดีขึ้น มากกว่าการเปลี่ยนให้คนเหล่านี้ หันกลับมารักเพศตรงข้าม สำหรับบ้านเราเองนั้น วงการจิตเวชก็เดินตามทิศ ทางนี้เช่นกัน และหากยังจำกันได้ กระแสสังคมในช่วง 15-20 ปีหลังก็มีลักษณะของการต่อต้านเกย์ และเลสเบียนน้อยลง บุคคลสำคัญในแวดวงสังคมหลายคนก็ประกาศตัว (coming out) (อาจโดย พฤติกรรม หรือวาจา) ว่าตัวเองเป็นเกย์ หรือเลสเบียน นี่อาจเป็นบรรยากาศแบบหนึ่ง ที่บ่งถึงการยอมรับของสังคม ในยุคนั้น ถึงกับ มีการพูดติดตลกว่าคนที่เก่ง และมีความสามารถมักจะเป็นเกย์

ในปัจจุบันนี้ จากการศึกษาค้น คว้าทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ ทำให้แนวคิด เกี่ยวกับเรื่องรักร่วมเพศเปลี่ยนไป จากการมองว่าการรักต่างเพศเป็นเรื่องปกตินั้น นักวิทยาศาสตร์พบว่า พฤติกรรม รักร่วมเพศเป็นสิ่งที่พบได้ในทุกสังคม วัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นใน มนุษย์ หรือสัตว์ เราสามารถศึกษาพบพฤติกรรมรักร่วมเพศได้

นี่อาจจะเป็นคำอธิบาย ที่สมเหตุผลถึงผลของการรักษาพฤติกรรมรัก ร่วมเพศ ที่ผ่านมา ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จก็เพราะผู้รักษาพยายามเปลี่ยน พฤติกรรม ที่ปกติของคนคนนั้น (ในการรักเพศเดียวกัน) ไปสู่พฤติกรรม ที่ผิดปกติ (ในการรักต่างเพศ) ในบุคคลนั้น

ถ้าเช่นนั้น ทำไมปัญหาของความกังวลความไม่สบายใจเกี่ยวกับการเป็นเกย์ และเลสเบียนยังมีอยู่

อาจจะเป็นเพราะว่า ถึงแม้ในช่วงสิบปีหลังนี้การเป็นเกย์ หรือเป็นเลสเบียนดูจะเป็นเรื่อง ที่ธรรมดา ไม่ใช่ประเด็น ที่คนจะมาดูถูก หรือเหยียดหยาม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ดูเหมือนสังคมก็ยังมีลักษณะ ที่แบ่งแยก และกีดกันคนที่ เป็นเกย์ และเลสเบียน แม้กระทั่งในอเมริกาเอง ที่องค์กรของเกย์ และเลสเบียน เข้มแข็งมาก แต่ลักษณะของการต่อต้าน กลัว หรือรังเกียจก็ยังคงมีอยู่ เช่น ในกองทัพ หรือหน่วยงานความมั่นคงสิ่งเหล่านี้เองก็ทำให้คนที่เป็นเกย์ หรือ เลสเบียน ไม่แน่ใจ และไม่กล้า ที่จะเปิดเผยตัวเองออกมา เพราะกังวลถึงความยอมรับขององค์กร ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน รวมกระทั่งการยอม รับ ของคนใกล้ชิด และครอบครัว และ ที่สำคัญ ที่คนที่เป็นเกย์ และเลสเบียนมัก จะไม่ค่อยยอมรับสิ่งที่ตนเป็น เพราะมองว่าการเป็นเกย์ หรือเลสเบียนเป็น เรื่อง ที่ผิดจากคนปกติ และตนเองจะทำให้ครอบครัวอับอาย หรือผิดหวัง

ถ้าหากเราพิจารณาเรื่องของการเป็นเกย์ และเลสเบียนเป็นเพียงพฤติกรรมทางเพศของแต่ละคน (sexual orientation) การรักคนเพศเดียว กัน ก็ไม่ต่างจากคนที่รักเพศตรงข้าม มีปัจจัยของรูปร่าง หน้าตา นิสัยใจคอ ความห่วงใย ความอบอุ่น ที่มีให้ต่อกัน สิ่งที่ต่างกันอาจจะมีเพียงรักร่วมเพศเป็นสิ่งที่เราถูกพร่ำสอนมาโดยตลอด (ไม่ว่าจะโดยตรง หรือโดยอ้อม ด้วยวาจา หรือพฤติกรรม) ว่าเป็นเรื่องผิดปกติ โอกาส ที่จะอกหัก หรือโดนหลอกมีมาก แต่หากพิจารณากันจริงๆ แล้ว เราจะพบว่าพฤติกรรมทางเพศ ที่ถือว่าปกตินั้น คนที่ผิดหวังก็มีมากมาย อย่างที่ผมเคยตอบปัญหากับท่านหนึ่งมาแล้ว การพยายามรักเพศตรงข้าม เพราะคิดว่าการรักเพศเดียวกันเป็นเรื่องผิดนั้น ก็ไม่ต่างจากการที่เราถูกบังคับให้แต่งงานกับคนที่เราไม่รัก การทำเช ่นนั้น คนที่ทุกข์ คือ เรา และคนที่เราแต่งงานด้วย โดยที่สังคมไม่ได้มาทุกข์กับเรา

การพิจารณาว่าพฤติกรรมทางเพศของเรานั้น เป็นแบบรักร่วมเพศ หรือ ต่างเพศนั้น อาจพิจารณาง่ายๆ จากใคร ที่ทำให้ตัวเราเกิดความรู้สึกทางเพศเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามเมื่อมีความต้องการทางเพศคุณคิดฝันถึงใคร หากคุณไม่มีความรู้สึก

ความต้องการกับเพศตรงข้าม แต่มีความรู้สึกกับเพศเดียวกันนี่ก็ค่อนข้างจะเป็นตัวบอกได้อย่างดี

หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยคลายข้อสงสัยลงไปได้บ้าง ว่าเกย์ และเลสเบียนไม่ใช่ความผิดปกติ เป็นเพียงความแตกต่างของ sexual orientation หรืออาจจะใช้คำว่ารสนิยมทางเพศก็คงจะไม่ผิดนัก แต่หากท่านใด ที่มีข้อสงสัย และอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ในบ้านเรามีองค์กร ที่เป็นปากเสียงแทน เกย์ และเลสเบียน รวมถึงช่วยในการให้คำปรึกษากับคนที่มีปัญหาในการปรับตัว ซึ่งผมคิดว่าท่าน ที่สงสัยไม่แน่ใจในตนเองอาจจะลองปรึกษากลุ่มนี้ได้โดยตรง คือ กลุ่มอัญจารี http://bkk.loxinfo.co.th/ anjaree e-mail : anjaree@hotmail.com โทรศัพท์ : 477-1776 Go Back

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us