Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538
เคพีเอ็นจับมือมูรายามา ความบังเอิญที่ 'เกษม ณรงค์เดช' ตั้งใจ             
 


   
search resources

เคพีเอ็น กรุ๊ป, บจก.
อินเตอร์เนชั่นแนล ฟอร์จจิ้ง จำกัด(ไอเอฟซี)
เกษม ณรงค์เดช
Investment




พิธีลงนามในสัญญาร่วมทุน ระหว่างกลุ่มเคพีเอ็น, บริษัท มูรายามา แห่งประเทศญี่ปุ่น, บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่นแห่งประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ซูมิ-ไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อร่วมลงทุนในบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ฟอร์จจิ้ง จำกัด(ไอเอฟซี) มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง

นับเป็นปฏิบัติการแรกของเกษม ณรงค์เดชแห่งกลุ่มเคพีเอ็น หลังจากชัดเจนว่า ยามาฮ่า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมหัวจมท้ายในอีกไม่นาน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเตรียมตัวด้านหนึ่ง ที่จะรองรับภารกิจอันยิ่งใหญ่ในวันข้างหน้า

กลุ่มเคพีเอ็น จะต้องปรับโครงสร้างในบริษัทย่อยอีกหลายแห่ง เพื่อรองรับการเข้ามาของยามาฮ่า มอเตอร์ ซึ่งจะเน้นหนักไปในด้านของบริษัทผลิตชิ้นส่วน แนวทางที่ชัดเจนและเริ่มต้นขึ้นแล้วก็คือ การหาผู้ร่วมทุน ที่หนักไปทางฟากญี่ปุ่น ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ เดินไปในทิศทางเดียวกันอยู่แล้ว

อินเตอร์เนชั่นแนลฟอร์จจิ้ง หรือ ไอเอฟซี เป็นบริษัทแรกที่ประเดิมแนวนโยบายนั้น

เกษม ณรงค์เดช ประธานกลุ่มเคพีเอ็น และประธานของไอเอฟซี ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า ในส่วนของธุรกิจรถจักรยานยนต์ยามาฮ่านั้น จะต้องมีการปรับโครงสร้างอีกมาก ทั้งด้านของการร่วมทุนกับต่างชาติ เพื่อรับเทคโนโลยีและโนว์ฮาวที่ทันสมัย รวมทั้งอาจจะต้องมีการรวมบริษัทเพื่อความเหมาะสมในเชิงธุรกิจ

"ไม่ใช่การปรับโครงสร้างเครือข่ายหรือองค์กร เพียงเพื่อรูปร่างหน้าตาก่อนที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อย่างที่เข้าใจกัน แต่เราจะต้องเน้นการปรับ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจคล่องตัวและไปได้ดี เรื่องเข้าตลาดนั้นเป็นเรื่องรองลงไป"

รูปธรรมชัดเจนที่พอจะอธิบายได้ก็คือ คงต้องมีการรวมบริษัทที่เกี่ยวข้องกับยามาฮ่าเข้าไว้ด้วยกันมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบริหารงานและตัดสินใจ แต่ว่าจะรวมอย่างไรและจะไว้ในบริษัท สยามยามาฮ่าเลยหรือไม่นั้น ยังคงต้องรอการตัดสินใจอีกระยะหนึ่ง

สำหรับการเข้ามาของยามาฮ่า มอเตอร์ แห่งประเทศญี่ปุ่นนั้น คาดว่าจะเข้ามาร่วมทุนในส่วนของภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคการตลาด นั่นหมายถึงว่าบริษัทในเครือของกลุ่มเคพีเอ็น ที่ดำเนินธุรกิจด้านภาคการผลิตชิ้นส่วนหรืออุตสาหกรรมการผลิตด้านอื่นๆ มีความเป็นไปได้ที่จะจับมือกับทางยามาฮ่า มอเตอร์หรือเครือข่ายของยามาฮ่า มอเตอร์ หรือบริษัทที่มีเทคโนโลยีหรือโนว์ฮาวที่ทันสมัยมากขึ้น

"จึงมีความเชื่อมั่นว่า เมื่อทุกฝ่ายต่างได้มาร่วมประสานและเสริมซึ่งกันและกัน นั่นคือการพื้นฐานการผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร บุคลากร ที่มีอยู่ในไอเอฟซี ผนวกกับเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าและทันสมัยของบริษัท มูรายามา ประกอบกับความเป็นบริษัทการค้าที่มีเครือข่ายไปทั่วโลกของซูมิโตโม คงจะทำให้ไอเอฟซี สามารถก้าวไปสู่ความเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมทุบขึ้นโลหะได้ในอนาคตอันใกล้" แถลงการณ์ตอนหนึ่งในพิธีลงนามครั้งนั้น ซึ่งบ่งบอกอะไรได้มากมาย และจะมีแถลงการณ์ที่อยู่ในแนวนี้ออกมาอีกในอนาคตอันใกล้จากเครือข่ายของกลุ่มเคพีเอ็น

เกษม ณรงค์เดช มีความฝันที่ยิ่งใหญ่มาเนิ่นนาน เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาโอกาสดูเหมือนจะยังไม่เอื้ออำนวยมากนัก

มาครั้งนี้โอกาสมาถึงการก้าวเป็นผู้ผลิตระดับโลกอยู่ไม่ไกล และมีแนวโน้มที่เกษม ณรงค์เดช จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ไม่ยากลำบากนัก เมื่อมียามาฮ่า มอเตอร์มาเป็นผู้หนุนเนื่องที่สำคัญ

ผู้บริหารของกลุ่มเคพีเอ็น กล่าวถึง สภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยว่า นับจากที่อุตสาหกรรมด้านต่างๆ ได้พัฒนาและขยายฐานมาสู่ประเทศในแถบอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยมากขึ้นนั้น ทำให้อุตสาหกรรมสนับสนุน (SUPPORTING INDUSTRY) ขยายตัวตามอย่างต่อเนื่องด้วย แต่ด้วยเหตุที่อุตสาหกรรมสนับสนุนนี้เป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงพอสมควร และจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวในการผลิต จึงยากต่อการตัดสินใจที่จะลงทุนเพื่อให้ตามให้ทันอุตสาหกรรมปลายทาง เนื่องจากความไม่แน่นอนมีมาก และที่สำคัญการแข่งขันจากต่างประเทศจะมีมากขึ้นทุกขณะ

แต่ถ้าปล่อยให้กิจการหยุดอยู่กับที่ ก็มีแต่จะเล็กลง จึงเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจว่า จะเลือกลงทุนเพื่อก้าวไปข้างหน้าหรือไม่ และอย่างไร

สำหรับไอเอฟซีนั้น นับว่าโชคดีอยู่บ้างที่ยังสามารถหาผู้ร่วมทุนเพื่อขยายงานในแบบที่ความเสี่ยงมีน้อยได้ เพราะมูรายามาจากญี่ปุ่นนั้นนับเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนทุบขึ้นรูปโลหะ (FORGING PARTS) ที่มีความเชี่ยวชาญและพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับไอเอฟซี ที่สำคัญ การร่วมทุนครั้งนี้ นอกจากแผนงานฝ่ายไทยแล้ว ยังเกิดขึ้นเพราะมูรายามาแห่งญี่ปุ่นมีอุปสรรคในการขยายงานหรือฐานการผลิต ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จึงต้องหาฐานการผลิตแห่งใหม่ เพื่อการขยายงานในอนาคต และที่สุดก็เลือกไอเอฟซี เพื่อการนั้น

ยิ่งมองถึงศักยภาพของ ซูมิโตโม คอร์เปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทการค้าชั้นนำที่มีเครือข่ายทั่วโลกประกอบด้วย น่าจะส่งผลให้ไอเอฟซีสามารถขยายขอบข่ายการตลาดออกไปนอกประเทศได้ดีขึ้น

ทั้งนี้หลังการร่วมทุนแล้ว กลุ่มเคพีเอ็นจะถือหุ้นในไอเอฟซี 70%, มูรายามาถือ 20% และกลุ่มซูมิโตโม ซึ่งรวมทั้งซูมิโตโม แห่งญี่ปุ่นและไทยร่วมกันถือ 10%

ภายใต้การร่วมมือครั้งสำคัญนี้ นอกจากจะถือเป็นปฏิบัติการแรกเพื่อเตรียมตัวรับการเข้ามาของยามาฮ่า มอเตอร์แล้ว กลุ่มเคพีเอ็นยังมีเป้าหมายที่จะก้าวสู่การผลิตชิ้นส่วนทุบขึ้นรูปโลหะที่มุ่งเน้นการส่งออกไปยังตลาดโลกด้วย

กิจกรรมทางธุรกิจครั้งนี้จะดูเป็นความบังเอิญ ที่ให้โชคกับกลุ่มเคพีเอ็นก็ว่าได้

แต่อย่างลืมว่า เพราะเคพีเอ็นมี "เกษม ณรงค์เดช" เป็นหัวเรือใหญ่ด้วย ความบังเอิญนี้จึงเกิดขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us